กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนพฤติกรรม สู้โรคไข้เลือดออก ปี 2564
รหัสโครงการ 2564-L8412-7(1)-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ท่าสาป
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 30,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยูนัยดะห์ กะดะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.538,101.235place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 พ.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 30,200.00
รวมงบประมาณ 30,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี       ปัจจุบันไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญมีสถิติจำนวนผู้ป่วยจากโรคไข้เลือดออกมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งในบางรายอาจมีอาการไข้เล็กน้อยถึงปานกลาง แต่อาการที่ร้ายแรงก็สามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้มี    การระบาดและขยายพื้นที่การระบาดออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น มีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะน้ำขัง การคมนาคมที่สะดวกปัจจัยเหล่านี้ทำให้      การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่เป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ชุกชุม และมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน ซึ่งมีผลต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกด้วย       สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 3 ย้อนหลัง (ปี พ.ศ. 2560-2562) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 5 6 และ 8 คน ตามลำดับ รวมจำนวนทั้งสิ้น 19 คน คิดเป็นอัตราป่วย 69.20 81.38 และ 104.86 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ แต่ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต หมู่บ้านที่พบการระบาดทั้ง 3 ปี คือ หมู่ที่ 4 บ้านสาคอ คิดเป็นอัตราป่วย 122.03 60.72 และ 173.91 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ส่วนหมู่บ้านที่ไม่พบการระบาดทั้ง 3 ปี คือ หมู่ที่ 1 บ้านท่าสาป ในปี 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 6 คน คิดเป็นอัตราป่วย 75.87 ต่อประชากรแสนคน เทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปี คือ 75.27 ต่อประชากรแสนคน อัตราลดลงร้อยละ 0
      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป ได้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก ด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย ก่อนถึงช่วงการระบาด เพราะการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรเริ่มด้วยการควบคุมกำจัดยุงลายก่อนถึงช่วงฤดูการระบาดของโรค เพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่ และเล็งเห็นว่าควรมีการปลูกฝัง  เจตคติ ความตระหนัก และพฤติกรรม ในเด็กวัยเรียน เนื่องจากพบผู้ป่วยในกลุ่มวัยเรียนมากที่สุด และอาจทำให้เกิดการระบาด    มากที่สุด เนื่องจากโรงเรียนเป็นศูนย์รวมของประชากรหลายคน รวมทั้ง การรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน สถานที่ราชการ และศาสนสถาน ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงจัดทำโครงการปรับสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนพฤติกรรม สู้โรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2564 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และให้ความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง และเพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนทุกกลุ่มวัยในตำบลท่าสาป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และให้ความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง
  1. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังดำเนินการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนทุกกลุ่มวัยในตำบลท่าสาป
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร
  2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน  ไม่เกินร้อยละ 10
  3. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  ไม่เกินร้อยละ 0
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 340 30,200.00 0 0.00
1 ก.ค. 64 1. ประชุมสร้างแกนนำนักเรียนและเยาวชน ป้องกัน ควบคุมลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและครัวเรือน กลุ่มเป้าหมาย เด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านท่าสาป โรงเรียนบ้านลิมุด และโรงเรียนบ้านสาคอ รวมจำนวน 150 คน 150 7,500.00 -
2 ก.ค. 64 2. อบรมให้ความรู้การป้องกันตนเองและครอบครัวให้ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออกและรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย เด็กนักเรียนตาดีกาจำนวน 4 แห่งๆละ 25 คน รวม 100 คน โดยแบ่งจัดกิจกรรมวันละ 50 คน (ตาดีกา 2 แห่ง) 100 11,000.00 -
8 ก.ค. 64 อบรมฟื้นฟูความรู้เรื่องการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย คณะกรรมการโรคติดต่อตำบลท่าสาป 25 4,550.00 -
9 ก.ค. 64 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน สถานที่ราชการ และศาสนสถาน กลุ่มเป้าหมาย อสม.ตำบลท่าสาป จำนวน 61 คน ผู้ดำเนินการ 4 คน ร่วม 65 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆละ 15-16 คน 65 7,150.00 -
  1. ก่อนดำเนินโครงการ 1.1 เขียนโครงการเสนอเพื่อของบประมาณจากกองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลท่าสาป 1.2 สำรวจความชุกลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนก่อนดำเนินโครงการ 1.3 ประเมินความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรม กลุ่มเป้าหมายก่อนดำเนินโครงการ
  2. ระหว่างดำเนินโครงการ 2.1 ประชุมชี้แจงการดำเนินการโครงการให้แก่เครือข่ายผู้เกี่ยวข้องในตำบลท่าสาป 2.2 ประชุมสร้างแกนนำนักเรียนและเยาวชน ป้องกัน ควบคุมลูกน้ำยุงลาย กลุ่มเป้าหมาย เด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านท่าสาป โรงเรียนบ้านลิมุด และโรงเรียนบ้านสาคอ 2.3 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน สถานที่ราชการ และศาสนสถาน กลุ่มเป้าหมาย อสม.ตำบลท่าสาป
  3. หลังดำเนินโครงการ 3.1 สรุปผลการดำเนินโครงการ 3.2 สำรวจความชุกลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนหลังดำเนินโครงการ 3.3 ประเมินความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรม กลุ่มเป้าหมายหลังดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกของประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่ตำบลท่าสาป     2. ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออก     3. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
        4. มีกิจกรรมการรณรงค์การควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2564 10:10 น.