กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน ความดันโลหิตสูงด้วยวิถีชุมชน ปี 2564
รหัสโครงการ 2564-L8412-7(1)-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ท่าสาป
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 22,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยูนัยดะห์ กะดะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.538,101.235place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 พ.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 22,600.00
รวมงบประมาณ 22,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง นับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความทุกข์ ความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย และผู้ดูแล ทั้งด้านค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว และการเจ็บป่วยซึ่งอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น แผลเรื้อรัง ปัญหาการมองเห็น ปัญหาทางไต อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น       โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง สามารถเกิดได้ทุกระบบได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตา โรคไต โรคแทรกซ้อน ที่ขา โรคแทรกซ้อนทางระบบประสาท โรคทางช่องปาก โรคผิวหนัง เนื่องจากโรคเบาหวานมักจะพบร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือด โรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด การป้องกันก่อนการเกิดโรคจะลดอัตราการป่วยและการเสียชีวิตได้ โรคเบาหวานมักจะมีโรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือหลอดเลือดแข็ง เมื่อหลอดเลือดแข็งที่อวัยวะหรือระบบใดก็จะเกิดโรคที่ระบบนั้น เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อัมพาต เท้าขาดเลือด หรือไตวาย โรคหลอดเลือดตีบที่ขา เป็นต้น
    ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป จึงได้จัดโครงการลดภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน ความดันโลหิตสูงด้วยวิถีชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานความดันมีความรู้และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ ในบริบทชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง มีความรู้ สามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

1.ผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตมีความรู้ความเข้าใจโรคเบื้องต้น ประเมินผลจากการสังเกตเวลาตอบคำถามขณะอบรม (ร้อยละ 80)

0.00
2 2. ผู้ป่วยมีความเข้าใจในการเลือกดูแลสุขภาพเหมาะกับตนเอง มีทางเลือกในการดูแลสุขภาพ
  1. ผู้ป่วยมีกำลังใจ สามารถเลือกแนวทางในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม โดยการแบ่งกลุ่มผู้ป่วย 3 กลุ่ม 1. กลุ่มสีเขียว (ควบคุมอาการได้)  2. กลุ่มสีเหลือง  (กลุ่มผู้สูงอายุ/กลุ่มพึ่งพา)  3.กลุ่มสีแดง (กลุ่มควบคุมอาการไม่ได้/มีภาวะแทรกซ้อน )
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 22,600.00 0 0.00
2 ส.ค. 64 อบรมให้ความรู้โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อาหาร การออกกำลังกาย การกินยา การจัดการความเครียด ห่างไกลสุรา บุหรี่ จำนวน 70 คน โดยแบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 35 คน x 2 วัน แบ่งกลุ่มตามเกณฑ์ 3 กลุ่ม เพื่อการจัดการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม 70 22,600.00 -
  1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่ายสุขภาพ     2. คัดเลือกผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง เพื่อเข้าร่วมโครงการ จำนวน 70 ราย โดยแบ่งเป็น 2 รุ่นๆ ละ 35 คน x 2 วัน     3. จัดอบรม โดยเนื้อหาเกี่ยวกับ ความรู้โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เน้นการพึ่งพาตนเอง การมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน     4. สรุปผลการจัดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง     2. ผู้ป่วยมีทางเลือกในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2564 10:13 น.