กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ L1473-64-01-003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะบ้า
วันที่อนุมัติ 20 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 53,020.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุพัตรา ชุมแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ น.ส.จารีพันธ์ ฝันนิมิตร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.49,99.714place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 1145 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) หรือสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 7% ของจำนวนประชากรทั้งหมด องค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่าโลกจะเข้าสู่ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ในปี ค.ศ. 2050 กว่า 14% ของประชากรทั้งหมดจะมีอายุ 60 ปีขึ้นไป เท่ากับว่าในปี ค.ศ. 2050 สัดส่วนประชากร 1 ใน 4 บนโลกจะมีอายุมากว่า 60 ปี (เพิ่มขึ้นจาก 1 ใน 11 คนในปี ค.ศ. 2011) โดยภูมิภาคที่คาดว่าจะมีประชากรวัย 60 ปีหรือมากกว่า เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าระหว่างปี ค.ศ. 2019 - 2050 ได้แก่ แอฟริกาเหนือและเอเชียตะวันตก, เอเชียกลางและเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ และละตินอเมริกา ในขณะที่จำนวนประชากรผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป มีโอกาสเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าจาก 143 ล้านคนในปี ค.ศ. 2019 ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนทั้งสิ้น 426 ล้านคนในปี ค.ศ. 2050 สังคมไทยในปัจจุบันกำลังเผชิญอยู่ในภาวะสังคมผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนโครงสร้างประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราว 10 - 20 ปี ข้างหน้านี้สังคมไทยก็จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ถึงเวลานั้นประชากรวัยสูงอายุจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้ ประชากรที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุและประชากรที่อยู่ในวัยผู้สูงอายุต้องเร่งตระหนักโดยให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งด้านร่างกายและจิตใจที่เกิดขึ้น การรับมือกับสังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้ (Complete Aged Society) เป็นประเด็นท้าทาย ที่ทุกภาคส่วนของสังคมจะต้องให้ความสำคัญและร่วมมือกันขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กันทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมในระดับบุคคลและการเตรียมความพร้อมเชิงระบบเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัย ด้วยการจัดทำระบบฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่ครอบคลุมและมีความละเอียด เป็นการเฉพาะโดยมีการแยกแยะกลุ่มผู้สูงอายุ (Segmentation) ตามระดับอายุหรือระดับการพึ่งพิง (ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง) เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนรองรับผู้สูงอายุแต่ละกลุ่ม อาทิ การแบ่งผู้สูงอายุตามระดับกลุ่มอายุ เพศ สถานะ การศึกษา สุขภาพ สภาพครอบครัว บุคลากรผู้ดูแล ศักยภาพและความรู้ความสนใจ ฯลฯ เพื่อใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและการวางแผน สำหรับเสนอโครงการที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ตามข้อมูลผู้สูงอายุโดยให้มีการนำฐานข้อมูลผู้สูงอายุไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ พิจารณากำหนดแนวทาง มาตรการให้สอดคล้องเหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มมากยิ่งขึ้น


โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะบ้า จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุขึ้น เพื่อความครอบคลุมในการจัดบริการด้านการดูแลระยะกลาง ระยะยาว และระยะสุดท้ายภายใต้ระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ที่เป็นบริการทั้งในสถานพยาบาล เชื่อมต่อถึงการให้บริการที่บ้านของผู้สูงอายุและการให้บริการในชุมชน โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ชุมชน ท้องถิ่นเป็นฐานในการดูแล สนับสนุนให้มีการเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลโดยครอบครัวทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉินต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรงานสุขภาพภาคประชาชนในการรองรับสังคมผู้สูงอายุ

ร้อยละ 60

1.00
2 เพื่อความครอบคลุมในการจัดบริการด้านการดูแลระยะกลาง ระยะยาว และระยะสุดท้าย

ร้อยละ 60 สามารถความครอบคลุมในการจัดบริการด้านการดูแลระยะกลาง  ระยะยาว  และระยะสุดท้าย

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 53,020.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 โครงการคัดกรองภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุ 0 0.00 53,020.00
  • ศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นปัญหาในการดูแลผู้สูงอายุ
    • จัดทำโครงการเสนอต่อประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ขอสนับสนุนงบประมาณการดำเนินการ
    • จัดอบรมให้ความรู้เรื่องแนวทางการคัดกรองภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุ แก่ แกนนำชุมชนและกลุ่มคนที่สนใจ จำนวน 2 รุ่น ๆละ 1 วัน จำนวน 63 คน / รุ่น รวม จำนวน 126 คน
    • สำรวจข้อมูลภาวะสุขภาพผู้สูงอายุโดยวิธีการคัดกรอง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์พร้อมจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลภาวะการพึ่งพิง
    • ติดตามเยี่ยมบ้านสร้างขวัญกำลังใจผู้ป่วยติดเตียง
  • ประเมิน/ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
  • สรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • เพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนแต่ละกลุ่ม
    • มีฐานข้อมูลผู้สูงอายุจำแนกตามภาวะการพึ่งพิงที่เป็นปัจจุบัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบูรณาการร่วมกับระบบการดูแลระยะยาว (LTC)
    • สามารถจัดบริการด้านการดูแลผู้สูงอายุตามภาวะการพึ่งพิงได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2564 10:00 น.