กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COViD-19) ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 64-L1536-5-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เงินบำรุงจากกองทุนฯ สอ.ต.ปากแจ่ม
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 48,305.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เงินบำรุงจากกองทุนฯ สอ.ต.ปากแจ่ม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแจ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการกองทุน สปสช.อบต.ปากแจ่ม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.737,99.724place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ชื่อกองทุน กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่ม ปี ๒๕๖๔  สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]  สนับสนุนการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น [ข้อ 10(2)]  สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ [ข้อ 10(3)]  สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]  สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ [ข้อ 10(5)] หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ  หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.  หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล  หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.  หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน กองการศึกษาฯ  กลุ่มหรือองค์กรประชาชนตั้งแต่ 5 คน ชื่อองค์กร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแจ่ม วันอนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ ตั้งแต่  วันที่ ๒๔ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๔
ถึง    วันที่ ๓๐ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ งบประมาณ จำนวน ๔๗,๙๐๕ บาท
หลักการและเหตุผล
      สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ในประเทศไทย มีรายงานจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกวัน ในพื้นที่หลายจังหวัด ผู้ป่วยรายใหม่มักจะไม่มีอาการของโรคชัดเจน ผลการตรวจยืนยันการติดเชื้อในร่างกายผู้ติดเชื้อมีระยะเวลาเพิ่มขึ้น ทำให้มีโอกาสติดเชื้อ และแพร่กระจายไปสู่ผู้สัมผัสมากขึ้น เกิดการระบาดของโรคได้เร็ว และรุนแรงขึ้น ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ เศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น รัฐบาลโดย ข้อเสนอของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้ปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ในจังหวัดที่ได้ตรวจพบการระบาดของโรค เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จำนวน ๔ จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุด จำนวน ๑๗ จังหวัด และพื้นที่ควบคุม จำนวน ๕๖ จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔) เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการสกัดกั้น และระงับยับยั้งสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างทันท่วงที
      จังหวัดตรัง อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด ข้อมูลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม 2564 ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยสะสม จำนวน ๑๐๐,๖๓๗ ราย เสียชีวิต ๖๘๒ ราย ยังรักษาอยู่ ๔๔,๑๘๙ ราย และมีการระบาดของโรคกระจายทุกภาค จากข้อมูลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดตรัง พบผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมระลอกใหม่ (เดือนเมษายน 2564) จำนวน ๒๗๑ ราย และรอผลการตรวจ จำนวน ๓๒๗ ราย มีแนวโน้มว่าจะพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มขึ้นในทุกพื้นที่ของจังหวัดตรัง และพื้นที่ตำบลปากแจ่มมีผู้ป่วยยืนยันโรค จำนวน ๒ ราย จากการสอบสวนโรค มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จำนวน ๓๖ ราย มีการติดตามให้คำแนะนำการตรวจหาเชื้อ อยู่ในขั้นตอนการกักตัวที่ในที่พักอาศัย (Home Quarantine) และมีการติดตามจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จนครบ 14 วัน อีกทั้งมีการเดินทางของประชาชนจากต่างจังหวัดเข้ามาในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแจ่ม ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – ๒๓ พฤษภาคม 2564 มีประชาชนเดินทางจากต่างจังหวัด เข้ามาในพื้นที่ จำนวน ๗๑ ราย จำแนกเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จำนวน ๕๐ ราย และพื้นที่ควบคุมสูงสุด จำนวน ๒๑ ราย ซึ่งจะต้องมีมาตรการเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มข้น และทันท่วงที
      ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดมาตรการสำคัญในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 6 มาตรการ ได้แก่ 1.การคัดกรองและเฝ้าระวังผู้ป่วยที่ด่าน สถานพยาบาล และชุมชน 2.การดูแลรักษาผู้ป่วยและป้องกันการติดเชื้อ 3. การติดตามผู้สัมผัสโรคและควบคุมการระบาดในชุมชน 4.การสื่อสารความเสี่ยง 5. การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย    6.การประสานงานและจัดการข้อมูล เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแจ่ม เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จึงมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  ตามมาตรการข้างต้น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่       โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแจ่ม จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลปากแจ่ม เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด 1. เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2. เพื่อเตรียมความพร้อม ของวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) แก่บุคลากรสาธารณสุข ๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกราย ได้รับการเฝ้าระวังคัดกรอง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ร้อยละ ๑๐๐ 2.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีวัสดุ และอุปกรณ์ในการป้องกันตนเอง จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ร้อยละ ๑๐๐ กลุ่มเป้าหมาย ๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงผู้สัมผัสผู้ป่วยโควิด-๑๙/ผู้เดินทางมาจากจังหวัดกลุ่มเสี่ยง จำนวน ๕๐ คน ๒. บุคลากรสาธารณสุข จำนวน ๗ คน ๓. อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน ๘๓ คน วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนดำเนินงาน

กิจกรรม เดือน พค.64 มิย.64 กค.64 สค.64 กย.64 1. จัดทำโครงการ
2. เสนอโครงการเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ
3. ชี้แจงโครงการและระยะเวลาดำเนินงาน

4. ขออนุมัติโครงการ/จัดซื้อตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
5. ดำเนินโครงการ   ๕.๑ คัดกรองกลุ่มเสี่ยง ดูแล ติดตาม เฝ้าระวังโรค สอบสวนโรคและควบคุมโรค ตามมาตรการ แนวทาง สอบสวนโรคและควบคุมโรค ของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข  กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานในสังกัด คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตรัง และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง   ๕.๒ ติดตาม/เฝ้าระวัง/แจ้งสถานการณ์การเกิดโรคให้ประชาชน และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อเกิดเหตุการณ์ระบาดของโรคฯ

6. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ


สถานที่ดำเนินการ ๑. รพ.สต.ปากแจ่ม ๒. ม.๑-๗ ต.ปากแจ่ม งบประมาณ       ได้รับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปากแจ่ม เป็นเงิน ๔๗,๙๐๕ บาท (สี่หมื่นเจ็ดพันเก้าร้อยห้าบาทถ้วน)รายละเอียด ดังนี้

ชนิดกิจกรรม งบประมาณ ระบุวัน/ช่วงเวลา 1. กิจกรรมคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ดูแล ติดตาม เฝ้าระวังโรคเบื้องต้น ลดการเกิดและการระบาดของโรคติดต่อในชุมชน

  • เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายแบบขาตั้ง จำนวน ๑ อันๆละ ๓,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท
    • เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายระบบอินฟราเรด จำนวน ๒ อันๆละ ๒,๕๐๐ บาท ๕,๐๐๐ บาท
    • ถุงมือยาง จำนวน ๒๐ กล่องๆละ ๒๐๐ บาท เป็นเงิน ๔,๐๐๐ บาท
    • หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ จำนวน ๔๘ กล่องๆละ ๑๒๕ บาท เป็นเงิน ๖,๐๐๐ บาท
    • เจลล้างมือแอลกอฮอล์ ขนาด ๖0 ml. จำนวน ๘๓ หลอดๆละ ๓๕ บาท เป็นเงิน ๒,๙๐๕ บาท
    • เจลล้างมือแอลกอฮอล์ ขนาด ๕๐0 ml. จำนวน ๑๕ ขวดๆละ ๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๕๐๐ บาท
    • เจลล้างมือแอลกอฮอล์ ขนาด ๕ ลิตร จำนวน ๔ ขวดๆละ ๑,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๔,๐๐๐ บาท
    • น้ำยาทำความสะอาดฆ่าเชื้อ ขนาด ๑,๒๐๐ ml.จำนวน ๔ ขวดๆละ ๘๕๐ บาท เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท
    • หมวกคลุมผม จำนวน ๗ ถุงๆละ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน ๑,๐๕๐ บาท
    • ขาตั้งเจลแอลกอฮอล์ จำนวน ๒ อันๆละ ๑,๙๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,๘๐๐ บาท
    • หน้ากากอนามัย N95 จำนวน ๔๐ ชิ้นๆละ ๓๕ บาท เป็นเงิน ๑,๔๐๐ บาท
    • ชุดป้องกันสารเคมี (PPE) จำนวน ๑๕ ชุดๆละ ๒๕๐ บาท เป็นเงิน ๓,๗๕๐ บาท ๑ มิถุนายน – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
    1. ติดตาม/เฝ้าระวัง/แจ้งสถานการณ์การเกิดโรคให้ประชาชน และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อเกิดเหตุการณ์ระบาดของโรคฯ
  • อุปกรณ์ป้องกันตนเองสำหรับกลุ่มเสี่ยง จำนวน ๕๐ ชุด เป็นเงิน ๓,๕๐๐ บาท     - หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ จำนวน ๑๔ กล่องๆละ ๑๒๕ บาท     - เจลล้างมือแอลกอฮอล์ ขนาด ๖0 ml. จำนวน ๕๐ หลอดๆละ ๓๕ บาท
    • ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล จำนวน ๒๐ อันๆละ ๒๕๐ บาท เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท ๑ มิถุนายน – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๔๗,๙๐๕ บาท (สี่หมื่นเจ็ดพันเก้าร้อยห้าบาทถ้วน)

การประเมินผล วัตถุประสงค์ ตัวบ่งชี้ เครื่องมือวิธีการ เกณฑ์ 1. เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกราย ได้รับการเฝ้าระวังคัดกรอง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  แบบรายงานการติดตามเฝ้าระวังอาการกลุ่มเสี่ยงผู้สัมผัสผู้ป่วยโควิด-๑๙/ผู้เดินทางมาจากต่างจังหวัดผู้เดินทางมาจากจังหวัดกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ ๑๐๐ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกราย ได้รับการเฝ้าระวังคัดกรอง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2. เพื่อเตรียมความพร้อม ของวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19)  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีวัสดุ และอุปกรณ์ในการป้องกันตนเอง จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  วัสดุ อุปกรณ์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเพียงพอ ร้อยละ ๑๐๐ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีวัสดุ และอุปกรณ์ในการป้องกันตนเอง จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ   ๑. กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้รับการติดตามเฝ้าระวังตามมาตรการของกรมควบคุมโรค   ๒. เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้ใช้บริการในพื้นที่มีความปลอดภัยสามารถป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19)
  ๓. การเฝ้าระวังโรค สามารถลดการเกิดและการระบาดของโรคติดต่อในชุมชนได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ   ๑. กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้รับการติดตามเฝ้าระวังตามมาตรการของกรมควบคุมโรค   ๒. เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้ใช้บริการในพื้นที่มีความปลอดภัยสามารถป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19)
  ๓. การเฝ้าระวังโรค สามารถลดการเกิดและการระบาดของโรคติดต่อในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2564 10:17 น.