กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ 30 - 60 ปี ประจำปี 2560(รพ.สต.บ้านกลูบี)
รหัสโครงการ 60-L2542-01-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกลูบี
วันที่อนุมัติ 17 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 สิงหาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 20,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางโนรีฮา เจ๊ะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.008,101.849place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ส.ค. 2560 30 ก.ย. 2560 20,700.00
รวมงบประมาณ 20,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมกลูกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของโลก โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาสถิติจากการคาดประมาณในปี 2543 มีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่เป็นจำนวน 446,000 รายในโลกโดยอยู่ในประเทศที่พัฒนา 96,000 รายและในประเทศที่กำลังพัฒนา 370,000 รายประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกทั้งหมดในโลก จะมีสตรีที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก 231,000 รายต่อปีและมากกว่าร้อยละ 80 จะอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากยังไม่มีโปรแกรมการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพดีพอ โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทนและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น จากสถิติการคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งในปี พ.ศ.2542 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยใหม่ 87,060 ราย โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทยคือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือโรคมะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูกมะเร็งเต้านม ตามลำดับ ในประเทศไทยโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทยมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลามอัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมากคาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่และรายเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. 2548 : 12)
ทะเบียนรายงานการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูก รพ.สต.บ้านกลูบี 2559 และในปีงบประมาณ 2560 ได้รับการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ร้อยละ 7.8 จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 778 คน และในปีงบประมาณ 2560 ได้รับการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ร้อยละ 5.9 ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดร้อยละ 20 ต่อปี ฉะนั้นหากสตรีกลุ่มนี้ได้รับการตรวจหาความผิดปกติของปากมดลูกได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสมอัตราการเกิดของมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามก็จะลดลงทำให้คุณภาพชีวิตในช่วงวัยเจริญพันธุ์ของสตรีดีขึ้นและสามารถป้องกันการเสียชีวิตของสตรีจากการตายด้วยโรคมะเร็ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี ได้สำรวจข้อมูลเบื้องต้นโดยการสัมภาษณ์สตรีอายุ 30-60 ปี ที่แต่งงานจำนวน 30 คน ที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านกลูบี พบว่า สตรีร้อยละ60 ไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูก เหตุผลที่ไม่ตรวจคือ อาย คิดว่าตนเองไม่เป็น สตรีร้อยละ 40 ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก สาเหตุที่ตรวจ กลัวเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 70 ของสตรียังไม่ทราบว่า อาการระยะแรกของมะเร็งปากมดลูกเป็นอย่างไร และไม่ทราบระยะที่เหมาะสมในการตรวจการรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 60 ตอบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก ต้องเสียชีวิตทุกราย ร้อยละ 70 ตอบว่า ตนเองไม่เสี่ยง ต่อการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก จะเห็นได้ว่า สตรีส่วนใหญ่ยังขาดการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคการรับรู้ความรุนแรงของโรคและยังมีความอาย ไม่ให้ความสนใจที่จะรับการตรวจและการจัดการเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมารับบริการการตรวจมะเร็งปากมดลูก ยังไม่มีแนวทางหรือรูปแบบใหม่ๆมาดำเนินการในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ให้สตรีอายุ 30-60 ปีขึ้น เพื่อค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการในระยะแรก สามารถรักษาได้ทันเวลาและลดอัตราการป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมีการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกเพิ่มมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องมะเร็งปากมดลูก

 

138.00
2 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

 

880.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
17 ส.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 ให้ความรู้แก่สตรีอายุ 30-60ปี ในเรื่องมะเร็งปากมดลูก พร้อมทั้งมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 100 20,700.00 20,700.00
รวม 100 20,700.00 1 20,700.00
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อวางแผนการดำเนินงาน 2.สำรวจข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธุ์ในพื้นที่เขตรับผิดชอบ 3.จัดทำแผนการดำเนินงาน 4.จัดทำเอกสารและประชาสัมพันธ์ 5.ดำเนินงานตามแผน 6.ประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีอายุ 30-60 ปีได้รับการคัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างถูกต้อง ร้อยละ 20
  2. สตรีอายุ 30-60 ปีขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องมะเร็งเต้านม 3.อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2560 13:37 น.