กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โดยโรงพยาบาลรัษฎา
รหัสโครงการ 64-L1513-01-006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลรัษฎา
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 30 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 มกราคม 2565
งบประมาณ 19,998.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัยณรงค์ มากเพ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นายสราวุธ พรหมมินทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนเมา อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2564 30 ธ.ค. 2564 19,998.00
รวมงบประมาณ 19,998.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4778 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของสถานบริการสาธารณสุขมีสถานที่บริการวัคซีนโควิด-19 ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อ (Covid-19)
100.00
2 ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนโควิด-19 ตามเป้าหมาย
70.00
3 ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และความสำคัญในการป้องกันตนเอง
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลก (WHO)ได้ยกระดับการเตือนภัยความเสี่ยงการระบาดไปทั่วโลกของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ให้อยู่ในระดับ “สูงมาก” ซึ่งเป็นระดับสูงสุด โดยให้เหตุผลว่ายอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นและการลุกลามไปในประเทศต่างๆอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้ยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน เป็นระดับ 3 เพื่อติดตามสถานการณ์โรคทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการทรัพยากรสนับสนุนการเตรียมความพร้อมสำหรับรับมือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ผู้ป่วยผู้ติดเชื้อบางรายจำเป็นต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยที่อาการหนักจะมีอาการปอดบวมอักเสบร่วมด้วย หากอาการรุนแรงมากอาจทำให้อวัยวะภายในล้มเหลว เสียชีวิดได้ สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่ามีการระบาดไปทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อรวม 169,623,481 ราย มีผู้เสียชีวิต 3,525,023 ราย (ข้อมูล ณ 28 พฤษภาคม 2564) อีกทั้งในหลายๆประเทศ ยังมีการระบาด และยังมียอดผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 มียอดติดเชื้อสะสม 144,976 ราย เสียชีวิต 954 ราย หาย กำลังรักษาอยู่ 46,150 ราย อาการหนัก 1,226 ราย (ใส่เครื่องช่วยหายใจ 405 ราย) ในขณะที่จังหวัดตรัง พบผู้ป่วยสะสม 344รายเสียชีวิต 1 ราย กำลังรักษา 64 ราย รักษาหายแล้ว 279 ราย แนวทางลดการระบาดของโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประการหนึ่งคือ เร่งการฉีดวัคซีนแก่ กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ให้ครอบคลุมประชากรทั่วประเทศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 เพื่อสร้าง "ภูมิคุ้มกันหมู่" โดยรัฐบาล ได้ประกาศให้เป็น "วาระแห่งชาติ" พร้อมกำหนดให้วันที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นจุดเริ่มต้น ในการฉีดวัคซีน ซึ่งในจังหวัดตรัง กำหนดให้กลุ่มเป้าหมายต่างๆที่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 จำนวน ทั้งสิ้น 158,350. คน อำเภอรัษฎา จำนวน 17,923 คน โดยมีกลุ่มเป้าหมายฉีดวัคซีน ในตำบลควนเมาจำนวน4,778 คน
เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐ และการประสานความร่วมมือในการลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยอาศัยประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๓ ตาม ข้อ ๑๐/๑ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และคณะกรรมการกองทุนไม่อาจอนุมัติค่าใช้จ่ายตามข้อ ๑๐ ได้ทันต่อสถานการณ์ ให้ประธานกรรมการตามข้อ ๑๒ มีอำนาจอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขกรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อให้ตามความจำเป็น ได้ไม่เกินหนึ่งแสนบามต่อโครงการ โดยให้ถือว่าเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมกองทุนอนุมัติตามประกาศนี้ด้วย แล้วรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบโดยทางโรงพยาบาลรัษฎา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรังมีความจำเป็นในการรณรงค์และเร่งรัดให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอรัษฎา ได้รับการฉีดวิคซีนโควิด-19 ให้ครอบคลุมประชากรตามกลุ่มเป้าหมาย อันจะส่งผลในการลดการแพร่ระบาดของโรคต่อไป ทางโรงพยาบาลรัษฎา จึงของบสนับสนุนกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นองค์การบริหารส่วน ตำบลควนเมา เพื่อให้สถานบริการสาธารณสุขมีสถานที่ให้บริการวัคซีนโควิด – 19 ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อโควิด – 19 และประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนตามเป้าหมาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,998.00 2 19,998.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ธ.ค. 64 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนโควิด - 19 ครบตามเกณฑ์ 0 18,198.00 18,198.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ธ.ค. 64 2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเอง 0 1,800.00 1,800.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สถานบริการสาธารณสุขมีสถานที่ให้บริการวัคซีนโควิด – 19 ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อโควิด – 19
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการวัคซีนโควิต – 19 ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อ
  3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2564 16:13 น.