กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่น ประจำปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองยางแดง
วันที่อนุมัติ 25 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 34,270.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสนต์นา รัตนพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.132,100.106place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 210 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีแนวโน้มของการคลอดบุตรจากแม่วัยรุ่นอายุ 10-19 ปีเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และ มีการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปีเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง นอกจากนี้จำนวนในการคลอดซ้ำของวัยรุ่นก็พบว่ายังมีอัตราที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่งผลกระทบตามมาหลายด้าน เช่น เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ การยุติการตั้งครรภ์ การขาดโอกาสทางการศึกษา ฯลฯ จากรายงานการเฝ้าระวังทางพฤติกรรมของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่า วัยรุ่นเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ระหว่าง 13-15 ปี และยังพบว่าการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกส่วนใหญ่ไม่มีการใช้ถุงยางอนามัย มากถึงร้อยละ 50 ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัย ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น พบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้วิธีการคุมกำเนิดไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ได้ใช้วิธีการป้องกันใดๆ ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมพบว่า มารดาวัยรุ่นมีโอกาสสูงที่จะหยุดการศึกษากลางคันหรือเรียนไม่จบ เนื่องจากในหลายๆ ประเทศ การตั้งครรภ์ในขณะที่เป็นนักเรียนยังไม่เป็นที่ยอมรับ เป็นเรื่องน่าอับอายทำให้หญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ถูกบังคับทั้งทางตรงหรือทางอ้อมให้ออกจากโรงเรียน
การป้องกันปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ จึงเป็นเรื่องสำคัญ นอกเหนือจากโรงเรียนต้องให้ความรู้แก่ตัววัยรุ่นเองเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันและมีทักษะในการใช้ชีวิตทางเพศ แล้วครอบครัวก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งหน้าที่สำคัญของพ่อแม่ /ผู้ปกครองในการช่วยให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในเรื่องเพศ คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดผ่านการสนทนาแบบ“เปิดใจคุย” หัวใจสำคัญคือการมีส่วนร่วมของกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครองลุกขึ้นมาเป็นภาคีสำคัญในการร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศของเยาวชน เพื่อป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบอันเกิดจากการใช้ชีวิตทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี และ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองยางแดง จึงได้เสนอโครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่น ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักและมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

 

0.00
2 เพื่อปรับทัศนคติหรือมุมมองให้แก่พ่อแม่ ให้เปิดกว้างในเรื่องเพศวิถี

 

0.00
3 เพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร/การรับฟังที่มีประสิทธิภาพ ระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง กับลูกวัยรุ่น

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อบูรณาการงานโครงการตามกิจกรรมการดำเนินงาน 2. ประชุมคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 3. เสนอโครงการ ประสานงานตามโครงการ ขั้นดำเนินการ 1. จัดรณรงค์ ประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชนผ่านทาง อสม. และหอกระจายข่าว 2. ประสานวิทยากรและทีมงานเพื่อจัดเตรียม หลักสูตร วัสดุ เอกสาร สื่อสำหรับใช้ในการจัดอบรมให้ความรู้ 3. ผู้เข้าร่วมอบรมทำแบบทดสอบความรู้ก่อนการอบรม 4. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่น 5. ผู้เข้าร่วมอบรมทำแบบทดสอบความรู้หลังการอบรม ขั้นหลังการดำเนินการ 1. รวบรวมข้อมูล หลังเสร็จสิ้นการอบรม เพื่อนำมาวิเคราะห์ สรุปและการประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองมีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
  2. พ่อแม่มีการปรับทัศนคติหรือมุมมองต่อบุตรวัยรุ่น ที่เปิดกว้างในเรื่องเพศวิถี
  3. พ่อแม่ผู้ปกครองได้รับการเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร/การรับฟังที่มีประสิทธิภาพกับลูก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2564 14:17 น.