กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของแกนนำสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง
วันที่อนุมัติ 25 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 11,330.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายทวี ไชยสาลี
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.132,100.106place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 134 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในปัจจุบัน เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้น ยังสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นทางการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งเกษตรกรผู้ฉีดพ่นนั้นจะได้รับพิษโดยตรง แต่สำหรับผู้บริโภคจะได้รับพิษทางอ้อม จากผลผลิตทางการเกษตรที่มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างปนเปื้อนอยู่ แม้ได้รับในปริมาณต่ำ แต่การที่ได้รับเป็นประจำ สารเคมีเหล่านั้นจะสะสมในระบบต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติและโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน    เป็นต้น จากรายงานผลการตรวจวิเคราะห์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้ประจำปี 2562 ของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ร่วมกับองค์กรผู้บริโภคและภาคีต่างๆ ได้ทำการสุ่มตรวจผัก และผลไม้ 24 ชนิด ประกอบด้วย ผัก 15 ชนิด และผลไม้ 9 ชนิด จำนวนทั้งสิ้น 288 ตัวอย่าง จากสองแหล่งใหญ่คือห้างค้าปลีกสมัยใหม่ ได้แก่ Big C, Makro, Tops Supermarket, The Mall Group, Tesco Lotus และตลาดสดทั่วไปทั้งในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น ยโสธร สระแก้ว จันทบุรี ราชบุรี และสงขลา พบว่า ผัก ผลไม้มีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานสูงถึง 41 เปอร์เซ็นต์ โดยผักที่พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานมากที่สุดคือ ผักกวางตุ้ง คะน้า กะเพรา พริก กะหล่ำดอก ผักชี โดยพบจำนวน 10, 9, 8, 7, 7, 7 จากทั้งหมด 12 ตัวอย่าง ตามลำดับ ส่วนผลไม้ที่พบการตกค้างมากที่สุด ได้แก่ ส้ม ชมพู่ ฝรั่ง องุ่น โดยพบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานเป็นจำนวน 12, 11, 7, 7 จากทั้งหมด 12 ตัวอย่าง ตามลำดับ และจากรายงานการสำรวจการใช้สารเคมีในครัวเรือนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง  (จากฐานข้อมูล อสม.ออนไลน์ ณ วันที่ 25 กันยายน 2563) ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีสมาชิกภายในบ้านที่ไม่เคยเกี่ยวข้อง หรือเคยเกี่ยวข้อง หรือยังคงเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีทางการเกษตร ป่วยเป็น    โรคมือสั่นร่วมกับเดินเซ (โรคพาร์กินสัน) จำนวน 4 คน ชาปลายมือปลายเท้า จำนวน 59 คน โรคผิวหนังอักเสบ จำนวน 12 คน และไตเสื่อม จำนวน 1 คน ซึ่งจากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสารเคมี หรือผู้บริโภคก็สามารถได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้ โดยสารเคมีที่ตกค้างในผักและผลไม้ที่ผู้บริโภคทานเข้าไปจะเข้าสู่ร่างกายและไปทําลายการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของผู้บริโภค ดังนั้นหากเราทราบพฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อการได้รับพิษจากยาฆ่าแมลงที่ส่งผลต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส    ในเลือด และใช้ระดับการเปลี่ยนแปลงของเอนไซม์ โคลีนเอสเตอเรส เป็นตัวบ่งชี้ผลกระทบต่อสุขภาพผู้บริโภคผักผลไม้ที่อาจเกิดขึ้นได้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการเฝ้าระวังและดูแลผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคต่อไป ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของแกนนำสุขภาพ ประจำปี 2564 ขึ้น เพื่อให้แกนนำสุขภาพ มีความรู้      ความเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรู ได้รับการประเมินระดับสารเคมีกำจัดศัตรูตกค้างในเลือดว่าอยู่ในระดับใด และมีวิธีการอย่างไรบ้างที่สามารถลดระดับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินระดับสารเคมีกำจัดศัตรูตกค้างในเลือดของแกนนำสุขภาพ (อสม.)

 

0.00
2 เพื่อให้แกนนำสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรู

 

0.00
3 เพื่อลดระดับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของแกนนำสุขภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ขั้นเตรียมการ   ๑.๑ สำรวจกลุ่มเป้าหมาย (อสม.) ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.ท่ามะปราง   ๑.๒ จัดทำแผนโครงการ และรูปแบบการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ๒.ขั้นดำเนินงาน   ๒.๑ ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ และปรระชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย
  ๒.2 กิจกรรมตรวจหาระดับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดในกลุ่มเป้าหมาย และทำแบบทดสอบก่อนการอบรมให้ความรู้   ๒.3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดแก่กลุ่มเป้าหมาย และทำแบบทดสอบหลังการอบรมให้ความรู้ ๒.4 แจ้งผลการตรวจเลือด พร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ 2.5 กิจกรรมตรวจหาระดับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดในกลุ่มเป้าหมายซ้ำ (หลังจาก 3 เดือน จากการที่มีการตรวจในครั้งแรก)
  ๒.6 แจ้งผลการตรวจเลือดซ้ำ 3.ขั้นการประเมิน   3.1 ติดตามผลการดำเนินโครงการ 3.2 ประเมินระดับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือด ก่อนและหลังให้ความรู้ 3.3 ประเมินแบบทดสอบความรู้ ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 4.ขั้นนำผลประโยชน์ไปใช้พัฒนา (Act)   4.1 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ และทำคืนข้อมูลให้แก่กลุ่มเป้าหมาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสุขภาพทราบถึงระดับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือด
  2. แกนนำสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรู
  3. หลังเข้าร่วมโครงแกนนำสุขภาพมีระดับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดลดลง หรืออยู่ในระดับที่ปกติ หรือปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2564 16:37 น.