กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 64-L9256-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม)
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 15 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ 8
พี่เลี้ยงโครงการ สถานีอนามัยนาพู่
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
ละติจูด-ลองจิจูด 17.598802,102.773727place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24 มี.ค. 2564 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยในปัจจุบัน การเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในหลายๆโรคจะปรับเปลี่ยนไปตามภาวะเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมของประชาชนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิต และโรคที่มีการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอาทิเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจหลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิตและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจนเกิดความพิการได้ถ้าไม่ได้รับการรักษา หรือขาดการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องนอกจากนี้ ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ ๒๐ ของประชากรทั้งหมด ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความเปราะบางด้านสุขภาพกาย การจัดระบบการดูแลเพื่อให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ (Active Aging) มีความรู้ความสามารถและความมั่นคงในชีวิต ที่ผ่านมาทำได้ในระยะสั้น อีกทั้งผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ซึ่งปัญหาดังกล่าวทั้งในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุและผู้พิการ มักส่งผลกระทบต่อทั้งญาติผู้ดูแลและผู้ป่วย ในบางรายญาติไม่มีเวลาพอที่จะมาดูแล หรือบางรายก็ขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ หวังพึ่งพิงจากบุคลากรสาธารณสุขเพียงอย่างเดียว แต่บุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ และยังขาดการติดตามดูแลที่บ้านอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพโดยไม่มีขีดจำกัดด้านเศรษฐกิจก่อให้เกิดผลดีต่อประชาชนการมีสุขภาพดีเป็นต้นทุนของทุกคนดังนั้นจึงควรทำให้มีสุขภาพดีตลอดการสร้างนำซ่อมหรือที่เรียกว่าการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญแต่ปัจจุบันอัตราการรักษาพยาบาลสูงขึ้นค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มมากขึ้นแต่ผลตอบแทนด้านสุขภาพน้อยเห็นได้จากอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้หรือโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการปฏิบัติตนยังมีอัตราที่สูงเช่นเบาหวานความดันโลหิตสูง ฯลฯ ตำบลนาพู่ พบว่าปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ไตวาย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง ยังเป็นปัญหาของชุมชนจากการวิจัยชุมชนด้วยการวิจัยเชิงชาติพันธ์วรรณาตำบลนาพู่ปี ๒๕61 อนึ่งผู้ป่วยและประชาชนในชุมชน ตลอดจนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย และเข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด อีกทั้ง อสม.เป็นเครือข่ายสุขภาพในระดับชุนชน ที่มีความรู้และมีศักยภาพในการปฏิบัติงาน มีบทบาทหน้าที่กระจายความรู้ทางด้านสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความสามารถในการป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย หรือเมื่อมีการเจ็บป่วยก็สามารถรักษาเบื้องต้น ป้องกันและฟื้นฟูสภาพไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการได้ เพื่อเป็นการตอบสนองแผนปฏิบัติการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาพู่และธรรมนูญสุขภาพตำบลนาพู่พ.ศ.2557(ฉบับที่1) การแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ และตามนโยบายการบริหารงานกระทรวงสาธารณสุข ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค เพื่อเร่งรัดมาตรการสร้างสุขภาพ และการจัดให้มีการดูแลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ การสร้างองค์ความรู้และมีเครือข่ายสุขภาพระดับชุมชนมีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างมากในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้ประสบผลสำเร็จ จึงต้องมีการดูแลสุขภาพที่บ้านแบบบูรณาการให้คำแนะนำ และความรู้แก่ญาติและผู้ป่วยที่บ้านจะก่อให้เกิดผลแบบองค์รวมทั้งกาย จิต สังคม และยังมีผลต่อกลุ่มเป้าหมาย ให้เข้าใจและสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลงได้ด้วย และเพื่อให้ อสม. มีองค์ความรู้และทักษะการเยี่ยมบ้านที่ได้มาตรฐาน ครอบคลุมและต่อเนื่อง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ได้รับการดูแลสุขภาพ การเฝ้าระวังป้องกันภาวะแทรกซ้อน ลดความพิการซ้ำซ้อน อยู่อย่างมีคุณภาพ และส่งผลให้ประชาชนในชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และครอบครัว ให้มีความรู้ความเข้าใจในการฟื้นฟูสุขภาพ

 

0.00
2 เพื่อพัฒนาทักษะของผู้ดูแลผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและครอบครัวในการฟื้นฟูสุขภาพ

 

0.00
3 เพื่อสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 0 0.00
24 มี.ค. 64 อบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้พิการผู้ด้อยโอกาสและครอบครัวในการฟื้นฟูสุขภาพ 0 10,000.00 -
  1. ประชุมชี้แจงจำนวนผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสที่มีภาวะทุพพลภาพให้คณะกรรมการรับทราบ
  2. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้พิการผู้ด้อยโอกาสและครอบครัวในการฟื้นฟูสุขภาพ
  3. สนับสนุนอุปกรณ์และวัสดุในการดูแลสุขภาพ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส
  4. ประเมินภาวะแทรกซ้อนในผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ที่มีโอกาสเกิดภาวะเสี่ยงทุก1 เดือน
  5. สรุปผลการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อวางแผนการดูแลต่อเนื่อง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้พิการผู้ด้อยโอกาสได้รับวัสดุอุปกรณ์ช่วยเหลือในการฟื้นฟูสุขภาพ ร้อยละ 100
  2. ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการดูแลจาผู้ดูแล และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2563 00:00 น.