โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุข กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลท่าประดู่
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุข กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลท่าประดู่ |
รหัสโครงการ | L5199/64 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลท่าประดู่ |
วันที่อนุมัติ | 25 พฤษภาคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 44,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายวรวุฒิ วิบูลย์พันธ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าประดู่ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.681,100.73place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 1000 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยสถานการณ์การปัจจุบันโรคติดเชื้อไวรัสโรนา 2019 (COVID-19) ได้แพร่ระบาดระลอกใหม่ในพื้นที่หลายจังหวัด ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มของจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวันทุกจังหวัดในประเทศ หากไม่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด อาจเกิดการระบาดที่ยากต่อการควบคุมได้
เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ที่ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิบัติตนไม่ให้เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ และไม่เป็นผู้กระจายเชื้อต่อผู้อื่น ในการรณรงค์ป้องกันให้ความรู้ การจัดหาวัสดุทางการแพทย์อุปกรณ์ป้องกันตนเอง อาทิ หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ แอลกอฮอล์ น้ำยาฆ่าเชื้อ แก่บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่
ดังนั้น อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 67 (1) องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (19) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัย ครอบครัว และการรักษาพยาบาล ดังนั้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโรนา 2019 (COVID-19) แก่บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนตำบลท่าประดู่ มิให้เสี่ยงต่อการสัมผัสโรคติดเชื้อไวรัสโรนา 2019 (COVID-19) องค์การบริหารส่วนตำบลท่าประดู่ จึงจัดทำ“การป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ กิจกรรม เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลท่าประดู่”
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
วิธีดำเนินการ/ขอบเขตการดำเนินการ
แผนงาน / กิจกรรม ปีงบประมาณ 2564
ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4
แผนงานที่ 1 การให้ความรู้/รณรงค์ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์
1) กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับโรค
และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การป้องกันตนเองและ
สมาชิกในครอบครัว (อาทิ การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์
การป้องกันโรคฯ)
แผนงานที่ 2 การแก้ไขปัญหากรณีการระบาดของโรค
1) กิจกรรมการแก้ไขปัญหากรณีฉุกเฉินเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (อาทิ การจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ป้องกันแก่ประชาชน การทำความสะอาดพื้นที่เสี่ยงการเกิดโรค ฯลฯ)
- ประชาชนตำบลท่าประดู่มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการเผยแพร่ความรู้การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
- ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริ่มจากตนเองและครัวเรือน
- สามารถแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินได้ทันท่วงทีและทั่วถึง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2564 11:35 น.