กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเพิ่มการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรนา Covid-19 ของประชาชนตำบลชุมพล โดยจัดระบบรับ-ส่ง ประชาชนกลุ่มเสี่ยง เข้ารับวัคซีน ปีงบประมาณ 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรนา Covid-19 ของประชาชนตำบลชุมพล โดยจัดระบบรับ-ส่ง ประชาชนกลุ่มเสี่ยง เข้ารับวัคซีน ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5238-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 4 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 70,462.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพียงขวัญ กาญจนเพ็ญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางเพียงขวัญ กาญจนเพ็ญ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.603,100.385place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 มิ.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 70,462.00
รวมงบประมาณ 70,462.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการรายงานสถานการณ์ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ วันที่ 13 พฤษภาคม 2564 พบผู้ป่วยรายใหม่ 4,887 ราย อาการรุนแรง 1,209 ราย เสียชีวิต 518 ราย ยอดผู้ป่วยสะสม 93,794 การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่น คัดกรองและเฝ้าระวังโรค กักตัวผู้มีความเสี่ยง รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่และพื้นผิวสัมผัสร่วม เป็นต้น แต่สิ่งที่เป็นความหวังของรัฐบาลและประชาชนในขณะนี้ คือ วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วัคซีนโควิด 19 นั้น ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัคซีนดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการใช้วัคซีนที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพได้มากที่สุดเท่าที่ศักยภาพของประเทศจะดำเนินการได้ โดยขณะนี้ได้มีการบริหารจัดการวัคซีนโดยตั้งเป้าหมายในระยะแรกฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง โดยเริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนเข็มแรกเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา โดยมีการเตรียมความพร้อมตามแนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ของประเทศไทยเพื่อดำเนินการฉีดให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายอย่างครอบคลุมทั้งประเทศ
เห็นได้ว่าจากการวางแผนโดยรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการเตรียมความพร้อมในการฉีดวัคซีนโควิด 19 ทั้งการบริหารวัคซีน การเตรียมความพร้อมของหน่วยบริการ บุคลากรผู้ให้บริการ โดยมีการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทำการลงทะเบียนเพื่อฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้ทันเวลาที่กำหนด และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ป้องกันอาการที่รุนแรงจากโรคไวรัสโคโรนา โควิด 19 ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ในการบวนการฉีดวัคซีนนี้ต้องมีการนัดหมายกลุ่มเป้าหมาย การเตรียมความพร้อมของผู้รับวัคซีน การจัดลำดับคิว และจัดระบบการเดินทางเพื่อเข้ารับวัคซีน โดยลดความแออัด เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยตามแนวทางการควบคุมป้องกันโรคและต้องมีการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์อย่างระมัดระวังและใกล้ชิด จึงกำหนดให้ฉีดวัคซีนดังกล่าว ณ.โรงพยาบาลสทิงพระ เมื่อฉีดวัคซีนแล้วจำเป็นต้องสักเกตอาการอย่างน้อย 30 นาที ตามเป้าหมายการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ อีกทั้งตามหนังสืออำเภอสทิงพระ ที่ สข 0023.18/ว312 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 เรื่อง การอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้ารับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในกลุ่มผู้สูงอายุ(อายุ60ปีขึ้นไป)และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรังโดยจัดรถรับส่งและจัดหาน้ำดื่ม พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ดูแลผู้เข้ารับการฉีดวัคซีน ณ จุดฉีดวัคซีน และให้ประสาน รพ.สต.ในพื้นที่ เพื่อดำเนินการต่อไป   อาศัยอำนาจพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา67(3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันโรคติดต่อ (4)ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16(19) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลและเมืองพัทยามีอำนาจในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลชุมพลจึงจัดทำโครงการเพิ่มการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรนา Covid-19 ของประชาชนตำบลชุมพล โดยจัดระบบรับ-ส่ง ประชาชนกลุ่มเสี่ยง เข้ารับวัคซีน ปีงบประมาณ 2564

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนที่รวดเร็วตามลำดับการนัดหมาย เพิ่มการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ให้กลุ่มเป้าหมายให้เกิดความครอบคลุม

1.ร้อยละ100 ของกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงการฉีดวัคซีนตามลำดับการ
  นัดหมาย

0.00
2 2. เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากการรวมตัวในขณะเดินทางและฉีดวัคซีน

2.ไม่มีผู้ได้รับการฉีดวัคซีนติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ติดเชื้อไวรัสโค
  โรนา2019 จาการเดินทางฉีดวัคซีน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ประชุมคณะกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ระดับตำบล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 0.00 1 0.00
7 มิ.ย. 64 ประชุมคณะกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ระดับตำบล 20 0.00 0.00
2 ประชาสัมพันธ์โครงการ การเตรียมความพร้อม ด้านเอกสารและนัดกลุ่มเป้าหมายให้มารวมกันเพื่อเคลื่อนย้ายกลุ่มเป้าหมายมารับการฉีดวัคซีนตามกำหนดเวลา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 0.00 1 0.00
10 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชาสัมพันธ์โครงการ การเตรียมความพร้อม ด้านเอกสารและนัดกลุ่มเป้าหมายให้มารวมกันเพื่อเคลื่อนย้ายกลุ่มเป้าหมายมารับการฉีดวัคซีนตามกำหนดเวลา 100 0.00 0.00
3 ติดตามประเมินผลโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 0.00 0 0.00
30 ก.ย. 64 ติดตามประเมินผลโครงการ 100 0.00 -
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

    1.1 ร่วมกันประชุมคณะกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ระดับตำบล เพื่อ
      วางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ

    1.2 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ

    1.3 ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน

2.เสนอโครงการเพื่อให้ประธานกองทุนอนุมัติโครงการฯไม่เกิน 100,000 บาท ต่อโครงการจะเป็นการอนุมัติตามประกาศ ฉ.3
อาศัยอำนาจ 10/1 ของประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพ

3.ขั้นตอนการดำเนินงาน

  3.1 จัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย ประสานงานกับผู้นำชุมชน และอสม. ในการประชาสัมพันธ์โครงการ การเตรียมความพร้อม
      ด้านเอกสารและนัดกลุ่มเป้าหมายให้มารวมกันเพื่อเคลื่อนย้ายกลุ่มเป้าหมายมารับการฉีดวัคซีนตามกำหนดเวลา โดย
      กลุ่มเป้าหมายแต่ละคนต้องได้รับการฉีดวัคซีน 2 ครั้ง

    3.2 คัดกรองวัดอุณหภูมิและเตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมาย จัดระเบียบอุปกรณ์ป้องกัน (หน้ากาก/เจลแอลกอฮอล์)
      ระหว่างเดินทางจัดเจ้าหน้าที่เป็นผู้รับ

– ส่งและควบคุมให้มีการปฏิบัติตามหลัก social distancing

  3.3 สรุปและรายงานผลโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายการเข้าถึงและได้รับวัคซีนโควิด-19 ครอบคลุมตามเป้าหมายที่กำหนด       2.กลุ่มเป้าหมายได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างปลอดภัย ไม่ติดเชื้อจากการเดินทางไปรับวัคซีน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2564 14:01 น.