กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)
รหัสโครงการ 64-L9256-29
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 29,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 30 เม.ย. 2564 29,100.00
รวมงบประมาณ 29,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคโควิด 19 (Covid-19) ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ มีความรุนแรงเทียบเท่ากับโครซาร์สมากที่สุด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ องค์การอนามัยโลก ยังไม่สามารถหาที่มาของเชื้ออย่างชัดเจนได้ แต่สันนิษฐานว่าอาจจะมาจากเนื้อสัตว์ป่าที่ซื้อขายอยู่และปัจจุบันเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้แล้ว จากการถูกไอ จาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของคนที่ป่วยดังนั้น เราควรดูแลตัวเองเพื่อให้ร่างกายห่างไกลจากเชื้อโรคโครานา ประเทศไทยได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (Covid-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 48 ง หน้าที่ 1 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนา 2019ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID – 19) ที่ระบาดระลอก 3 ซึ่งมีการระบาดเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและกระจายไปต่างจังหวัดทั่วประเทศ โดยการสัมผัสหรือการรวมกลุ่มกับผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการหรือมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโรค โดยจังหวัดอุดรธานีพบผู้ป่วยโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID – 19) เป็นจำนวนมากเพียงไม่นาน
ดังนั้นเพื่อลดการแพร่เชื้อผู้ว่าฯ อุดรธานี เน้นย้ำมาตรการโควิด-19 สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด จากกรณีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่คลัสเตอร์สถานบันเทิงในช่วงที่ผ่านมานั้นในส่วนของจังหวัดอุดรธานีอยู่ในกลุ่มพื้นที่ควบคุมสูงสุด (พื้นที่สีแดง) เป็นพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากและมีมากกว่า 1 พื้นที่โดยต้องกำหนดให้มีการตรวจหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง กลุ่มบุคคลที่เสี่ยง และกิจกรรม/กิจการที่เสี่ยง เน้นย้ำมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 คือ สวมหน้ากากอนามัย 100% เน้นทำความสะอาดมือ สถานที่หรืออุปกรณ์ที่สัมผัสบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมลภาวะและไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือในส่วนตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานีมีประชากร จำนวน 12,560 คน (สถิติประชากรจากทะเบียนบ้าน เขตตำบลนาพู่ ปี 63) มีครัวเรือนทั้งหมด 3,779ครัวเรือน มีประชากรแฝงประมาณ 1,000 คนในเขตพื้นที่ และคาดว่ามีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มักเดินทางไปกลับต่างจังหวัดช่วงเทศกาลสงกรานต์ อันเป็นผลให้การเกิดโรคระบาดดังกล่าวได้ซึ่งวิธีการรับมือในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เช่น ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ หรือหากมีอาการไข้ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพบแพทย์ทันทีและมีการลงทะเบียนผู้ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด จึงขอดำเนินการโครงการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) กรณีโรคระบาดขึ้น โดยใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จึงต้องมีการมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง ป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการระบาดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 และป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

 

0.00
2 เพื่อทำการตรวจคัดกรองโรคและเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด

 

0.00
3 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

 

0.00
4 เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

 

0.00
5 เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,100.00 0 0.00
1 - 25 เม.ย. 64 ตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 (COVID-19) ในชุมชน 0 29,100.00 -

ขั้นตอนวางแผนงาน
    - วางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงาน โครงการ
    - จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
    - ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงานโครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19)
  ขั้นตอนการดำเนินการ     - ตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 (COVID-19) ในชุมชน โดยอสม.เดินเคาะประตูบ้าน     - จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)       - ลงทะเบียนกลุ่มที่เดินทางมาจากนอกพื้นที่     - รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ในเรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)     - รณรงค์ล้างทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรค ตามบริเวณที่พักอาศัย และพื้นที่สาธารณะในชุมชน     - สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 เพื่อเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 (COVID19) ให้กับประชาชนในชุมชน
  2. ลดความตื่นตระหนักของประชาชนและสร้างความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรค
  3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกันควบคุมการระบาดได้
  4. ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริ่มจากตนเองและร่วมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด - 19 (COVID-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2564 00:00 น.