กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 64-L9256-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ตำบลนาพู่
วันที่อนุมัติ 2 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤศจิกายน 2563 -
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ตำบลนาพู่
พี่เลี้ยงโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
ละติจูด-ลองจิจูด 17.598802,102.773727place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2564 120,000.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 120,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่จะเกิดจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญคือความเจ็บป่วยและความบกพร่องในการทำงานของร่างกายในทุก ๆ ด้าน รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาพจิตใจ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายจ่ายมหาศาลของประเทศ ดังนั้นเพื่อป้องกันและรับมือแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนในการป้องกันการเจ็บป่วย การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและการเตรียมความพร้อมของผู้สูงวัยเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีศักยภาพและมีสุขภาวะที่ดี การดูแลและการรองรับสังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสถานการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ และผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่งเนื่องจาก ผ่านประสบการณ์มามาก ได้เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อนมีความรู้ มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญ ในการยกย่องให้การดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิต สุขภาพกายเป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ตำบลนาพู่ มีจำนวนผู้สูงอายุ ซึ่งอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,655 คน คิดเป็นร้อยละ 13.15 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งนับได้ว่าสังคมผู้สูงอายุในตำบลนาพู่ เริ่มมีจำนวนมากขึ้น ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับผู้สูงอายุเริ่มทวีคูณขึ้นจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่หากปล่อยไว้อาจเป็นปัญหาเรื้อรัง ส่งผลให้เป็นปัญหาในสังคมในอนาคตได้ เช่น ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ ความเครียด ขาดการพักผ่อนหย่อนใจ ส่งผลกระทบให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ขาดความสนใจในการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม และขาดให้ความเอาใจใส่ ในการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย และเป็นประโยชน์ต่อร่างกายสำหรับผู้สุงอายุ เพื่อให้มีภาวะโภชนาการที่ดีในการดำรงชีวิต ดังนั้น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลนาพู่ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับสังคมผู้สูงอายุตำบลนาพู่ ประจำปี 2564 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายตามหลักธรรมชาตินิยม ของผู้สูงอายุ ส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องของอาหารและโภชนาการให้เหมาะสมตามวัย กิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพด้วยการเต้นรำที่เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชุมชน เพื่อยกระดับการต่อยอดทักษะความสามารถของผู้สูงอายุด้านการพูดในที่ประชุมชน และการประชาสัมพันธ์ข่าวสารของผู้สูงอายุ ให้พัฒนาผู้สูงอายุไปสู่เป้าหมาย และมีคุณภาพทางสังคม โดยไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการพูดในที่ประชุมชน การใช้สื่ออิเล็กทรอนิคในการประชาสัมพันธ์ได้

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจ

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายตามหลักธรรมชาตินิยมของชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 120,000.00 0 0.00
1 ก.พ. 64 - 31 พ.ค. 65 การส่งเสริมทักษะการพูด การให้ความรู้การใช้สื่ออิเล็กทรอนิคในการในการประสัมพันธ์ในผู้สูงอายุ (Smart sensei DJ) 0 24,000.00 -
1 ก.พ. 64 - 31 พ.ค. 65 การส่งเสริมผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี ชีวีมีคุณค่าในผู้สูงอายุ 0 24,000.00 -
1 ก.พ. 64 - 31 พ.ค. 65 ส่งเสริมการออกกำลังกาย โดยการเต้นรำพื้นบ้านในผู้สูงอายุ 0 24,000.00 -
1 ก.พ. 64 - 31 พ.ค. 65 การให้ความรู้การออกกำลังกายตามธรรมชาตินิยมในผู้สูงอายุ 0 24,000.00 -
1 ก.พ. 64 - 31 พ.ค. 65 ให้ความรู้การบริโภคอาหารที่พอเหมาะพอควรให้มีภาวะโภชนาการดีสำหรับผู้สูงอายุ 0 24,000.00 -

ขั้นเตรียม ( Plan) - จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณ - ประชุมภาคีเครือข่ายภายในเพื่อวิเคราะห์รายละเอียดการจัดกิจกรรม - ประสานวิทยากรภาคีเครือข่ายกำหนดและออกแบบรูปแบบการจัดกิจกรรม - เสนอโครงการและอนุมัติโครงการ

ขั้นดำเนินการ (Do) - จัดหาอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในการทำกิจกรรม - กิจกรรมโครงการ  กิจกรรมที่ 1 การส่งเสริมทักษะการพูด การให้ความรู้การใช้สื่ออิเล็กทรอนิคในการในการประสัมพันธ์ในผู้สูงอายุ (Smart sensei DJ)  กิจกรรมที่ 2 การส่งเสริมผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี ชีวีมีคุณค่าในผู้สุงอายุ      กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการออกกำลังกาย โดยการเต้นรำพื้นบ้านในผู้สุงอายุ      กิจกรรมที่ 4 การให้ความรู้การออกกำลังกายตามธรรมชาตินิยมในผู้สูงอายุ      กิจกรรมที่ 5 ให้ความรู้การบริโภคอาหารที่พอเหมาะพอควรให้มีภาวะโภชนาการดีสำหรับผู้สูงอายุ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะการพูด รู้จักการใช้สื่ออิเล็กทรอนิคในการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ เล่าสู่กันฟังในชุมชน ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณค่ามากขึ้น
  2. ผู้สูงอายุได้รับความรู้และแนวทางการดูแลสุขภาพของตนเอง และการดำรงชีวิตในสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน
  3. ผู้สูงอายุมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและถูกสุขอนามัย
  4. ผู้สูงอายุมีความรู้ในการออกกำลังกายแบบธรรมชาตินิยม ทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ชะลอความเสื่อมของร่างกายให้กับผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2563 00:00 น.