กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ 5ป 1ข ลดโรคไข้เลือดออก โรงเรียนบ้านเกาะค่าง
รหัสโครงการ 60-L5252-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลสะเดา
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มกราคม 2560 - 31 ตุลาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,005.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอุไรหัดเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักแต้ว อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.567,100.516place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขเเละเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีเเนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70-75 เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 5-14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนเเละการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูผนสำหรับสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดสงขลา นับตั้งเเต่วันที่ 1 ม.ค.-25 มี.ค. 2556 จ.สงขลา มีผู้ป่วยรวม 1543 ราย เสียชีวิต 6 ราย โดยจังหวัดสงขลามีอัตราป่วยสูงสุดของประเทศไทย (ณ วันที่ 11 มี.ค. 2556) ส่วนอำเภอที่มีอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกสูง 5 อันดับเเรกของจังหวัดสงขลา ได้เเก่ อำเภอหาดใหญ่, นาหม่อม, สะเดา, เมือง เเละ จะนะ ตามลำดับ กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10-14 ปี ร้อยละ 23.3 รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 5-9 ปี ร้อยละ 18.34 เเละกลุ่มอายุ 15-19 ปี ร้อยละ 16.33 ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนเเละนักศึกษา ถึงร้อยละ 62.47 โดยในปีนี้พบผู้ป่วยในกลุ่มเด็กโตเเละผู้ใหญ่มากขึ้น จึงขอให้เด็กโตเเละผู้ใหญ่เพิ่มความระมัดระวังเเละป้องกันไข้เลือดออกด้วย โดยเฉพาะการป้องกันยุงกัดให้มากขึ้นในระยะนี้พร้อมๆกับการร่วมทำลายลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์ มาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เเละผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปเเบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารกำจัดลูกน้ำ การพ่นหมอกควันเเละสารเคมี การกำจัดเเหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ เเละสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด เเต่ในปัจจุบันพบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนเเรงเเละมีผู้ป่วยมากข้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันเเละรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนเเรง เเละเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง จากเหตุการณ์ดังกล่าวนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพร่วมกับศูนย์สุขภาพโรงพยาบาลสะเดา ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมเเละป้องกัน โรคไข้เลือดออกล่วงหน้าเเละทันท่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะค่างมีความรู้ เเละมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ผู้เข้าร่วมโครงการผ่านการประเมินหลังฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางเเผนดำเนินงาน
  2. ประเมินความรู้ก่อนการอบรม
  3. อบรมให้ความรู้ เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. กิจกรรม ถาม-ตอบ เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก
  5. สอนทำทรายหอมไล่ยุงพร้อมให้ปฏิบัติตาม
  6. ประเมินหลังการอบรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจโรคไข้เลือดออกมากขึ้น
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2560 09:28 น.