กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการชุมชนร่วมใจ ขจัดภัยวัณโรค ปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนภสร สุริวงศ์ ผอ.รพ.สต.ท่าข้าม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในอดีตที่ผ่านมา วัณโรคดูเหมือนจะสงบหรือลดลงในประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่ปัจจุบันวัณโรคได้กลับมาใหม่ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆ อันเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ซึ่งนอกจากจะทำให้จำนวนผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้เชื้อวัณโรคดื้อยาหลายชนิดเพิ่มขึ้นด้วย
วัณโรคเป็นโรคติดต่อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียวัณโรค เป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่ายกาย แต่โดยมากมักเป็นที่ปอด มักจะจับที่ปอดข้างหนึ่งก่อนแล้วลามไปอีกข้างหนึ่ง ผู้ป่วยวัณโรคในระยะแพร่เชื้อ 1 คน สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ 10-15 คนถ้าไม่ได้รับการรักษาภายในระยะเวลา 1-1 ½ ปี จะมีอัตราตายสูงถึงร้อยละ 30-50ภายในระยะเวลา 5 ปี ถ้าได้รับการรักษาถูกต้องจะหายจากโรค1ใน 3 ของประชากรโลกได้สัมผัสเชื้อวัณโรคในแต่ละปีมีประชากร 8 ล้านคนจะป่วยเป็นวัณโรค และ 2 ล้านคนเสียชีวิตอุบัติการณ์ของโรคในแต่ละปี อยู่ระหว่าง 41-356 คนต่อแสนประชากร สำหรับในเขตพื้นที่ของตำบลท่าข้ามจำนวนผู้ป่วย 5 ปีย้อนหลัง ( ปี2559 – ปี2563) ดังนี้ ปี 2559จำนวน 10 คน, ปี2560 จำนวน 7 คน ,ปี 2561 จำนวน 10 คนปี 2562 จำนวน8คน, ปี2563 จำนวน 7คนสำหรับปี 2564 มีผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 3 ราย ซึ่งทั้ง 3 รายกำลังอยู่ระหว่างการรักษา(งานระบาดวิทยา: รพ.สต.ท่าข้าม ) วิธีการที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประเทศต่างๆกว่า 100 ประเทศนำไปปฏิบัติได้ผลดี คือ การรักษาผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อโดยมีพี่เลี้ยงคอยกำกับดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาจนหายจากวัณโรค และไม่แพร่เชื้อต่อไปอีกวัณโรคเป็นเรื่องที่ชุมชนควรตระหนักและให้ความสำคัญ เพราะเชื้อวัณโรคสามารถติดต่อได้ในชุมชน ฉะนั้น องค์กรในชุมชนควรมีบทบาทร่วมในการเป็นพี่เลี้ยงกำกับดูแลการการกินยาต่อหน้า ซึ่งกระบวนการเป็นพี่เลี้ยงดูแลผู้ป่วยวัณโรคโดยองค์กรชุมชน เป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน ที่เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสุขภาพและสวัสดิภาพของสมาชิกในชุมชน อันเป็นแนวทางหลักของการสาธารณสุขมูลฐาน และยังเป็นกระบวนการพัฒนาศักยภาพของชุมชนที่จะนำไปสู่การพึ่งตนเองที่ยั่งยืน ด้วยแรงบันดาลใจที่จะช่วยตนเองด้วยกำลังและความสามารถที่ชุมชนมีอยู่ ด้วยเหตุผลดังกล่าวเพื่อเป็นการควบคุมการแพร่ระบาดของวัณโรคในพื้นที่ตำบลท่าข้าม ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม จึงได้จัดทำโครงการ ชุมชนร่วมใจขจัดภัยวัณโรค ประจำปี 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้ผู้สัมผัสร่วมบ้านและประชาชนทั่วไปมีความรู้และสามารถป้องกันตนเอง ข้อที่ 2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และเยี่ยมติดตามดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐาน

กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรม ร้อยละ 80 มีความรู้เพิ่มขึ้น

-  ผู้มีอาการสงสัยได้รับการส่งต่อพบแพทย์ร้อยละ 100
- ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ ใหม่ทุกราย ได้รับการรักษาตามมาตรฐานจนครบกำหนดรักษาและหายขาด
- ผู้ป่วยทุกรายได้รับการติดตามเยี่ยมดูแลแบบมีพี่เลี้ยงโดยอสม.จนครบตามเกณฑ์มาตรฐานการรักษา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 33,250.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ป้องกันโรควัณโรค 0 33,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคร่วมบ้านทุกรายได้รับการx-ray ได้รับการวินิจฉัยการรักษาและได้รับการรักษาตามมาตรฐานจนหายขาดทุกราย 2. ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าในเรื่องวัณโรค และสามารถดูแลป้องกันตนเอง และครอบครัว ให้ห่างไกลจากวัณโรคได้
3. จำนวนผู้ป่วยวัณโรคลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2564 16:48 น.