กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กดี ครั้งที่ 12
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลคู
วันที่อนุมัติ 13 ตุลาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 สิงหาคม 2560 - 30 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 130,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยุวดีสุทธิกรัณย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคู อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,100.695place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 280 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๕๒ หมวด ๒ ส่วนที่ ๓ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ตามมาตรา ๖๖ ความว่า ภายใต้ข้อบังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา ๖๗ (๕) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
สังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์ที่การสื่อสารไร้พรมแดน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาสังคมหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดความสามัคคี เกิดความแตกแยกทางความคิด แบ่งพรรค แบ่งพวก แบ่งภาค ปัญหายาเสพติด ที่ระบาดทั่วไปและมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ปัญหาคุณธรรม จริยธรรมของคน นับวันยิ่งเสื่อมถอยลง ปัญหาอุบัติเหตุ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาสื่ออินเตอร์เน็ตและปัญหาเด็กติดเกมส์ออนไลน์ยิ่งนับวันจะเพิ่มมากยิ่งขึ้น เป็นต้น ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นนับว่าเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วน ทุกองค์กร และทุกคนต้องช่วยกันแก้ไข องค์การบริหารส่วนตำบลคู มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชนอันเป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญ มีหน้าที่ปกป้อง คุ้มครอง ดูแลเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นให้รู้เท่าทันปัญหาสังคมในปัจจุบัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน จึงจัดโครงการเด็กดี ครั้งที่ ๑๒ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงปัญหาของสังคมในปัจจุบัน

 

2 เพื่อรณรงค์ให้เยาวชนรู้ถึงภัยยาเสพติดและการป้องกันตนเองจากยาเสพติด

 

3 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนประพฤติตนให้เหมาะสมกับวัย และเป็นคนดี มีคุณภาพในสังคม

 

4 เพื่อให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับกฏจราจรเบื้องต้น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมปรึกษาหารือและมอบหมายความรับผิดชอบ ๒. ขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคู ๓. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ ๔. ติดต่อวิทยากรให้ความรู้ ๕. จัดทำเอกสารและสื่อประชาสัมพันธ์ในโครงการ ๖. แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น ๔ กลุ่ม ดำเนินการฝึกอบรมตามหัวข้อที่กำหนดไว้
ฐานการเรียนรู้ หัวข้อ ฐานความรู้ยาเสพติด
ฐานที่ ๑ ประเภทของยาเสพติด ฐานที่ ๒ โทษพิษภัยยาเสพติด ฐานที่ ๓ สาเหตุการติดยาเสพติด ฐานที่ ๔ การสังเกตอาการผู้ติดยาเสพติด ฐานที่ ๕ การป้องกันตนจากยาเสพติด ฐานที่ ๖ กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ฐานความรู้เรื่องจราจร โรคเอดส์ ท้องไม่พร้อมในวัยเรียน
ฐานที่ ๑ ความปลอดภัยและอุบัติเหตุทางถนน ฐานที่ ๒ ผลกระทบจากการบาดเจ็บ ฐานที่ ๓ การจราจรเบื้องต้น, ป้ายจราจรและเครื่องหมายจราจร ฐานที่ ๔ สัญญาณจราจร ไฟจราจร กฎหมายจราจรเบื้องต้น ฐานที่ ๕ ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์, สาเหตุที่เด็กวัยรุ่นติดโรคเอดส์ ฐานที่ ๖ สาเหตุที่เด็กท้องโดยไม่พร้อมในวัยเรียน, วิธีป้องกันไม่ให้ท้องในวัยเรียน ๗. ประเมินผลและสรุปการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กรู้ถึงภัยยาเสพติดและป้องกันตนเองจากยาเสพติด ๒. เด็กมีความรู้เกี่ยวกับกฎจราจรเบื้องต้นในชีวิตประจำวัน ๓. เด็กมีความรู้ถึงภัยโรคเอดส์ ๔. เด็กมีความรู้เรื่องการท้องไม่พร้อมในวัยรุ่นและสามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2560 10:53 น.