กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชการในเด็ก 0-72 เดือน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 59,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัจจุบันสภาพของสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงไป การประกอบอาชีพได้เปลี่ยนจากการเกษตรหันไปทำงานโรงงานหรือบริษัทในตัวเมือง ต่างจังหวัด และประเทศใกล้เคียงอย่างมาเลเซียเป็นจำนวนมาก ทำให้การเลี้ยงดูเด็กเล็กต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ถึงแม้ว่าเด็กที่มีอายุ 0-72 เดือน เป็นกลุ่มที่ความเจริญเติบโตสูงมากทั้งด้านร่างกายตลอดทั้งจิตใจ และมีพัฒนาการที่สูงกว่าในวัยอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจริญเติบโตของสมองทั้งนี้ต้องได้รับการดูแลที่ดีจากครอบครัวอย่างต่อเนื่อง แต่จากการที่มารดาคลอดแล้วส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้ดูแลเด็กเอง แต่จะให้ตากับยายดูแลเลี้ยงดูแทน ส่วนบิดามารดาจะไปทำงานโรงงานในตัวเมือง ต่างจังหวัด หรือประเทศใกล้เคียงอย่างมาเลเซีย ทำให้ไม่สามารถเลี่ยงบุตรได้เต็มที่ ซึ่งมีผลโดยตรงการได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสมของเด็ก ส่งผลให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กล่าช้าได้ ในการดำเนินการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทองพบว่า ข้อมูลภาวะโภชนาการเด็ก 0-72 เดือน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง งวดที่ 1 ปี 2563 และปี 2564 เด็กได้รับการชั่งน้ำหนักจำนวน ร้อยละ87.61 และ ร้อยละ94.84 ตามลำดับ และพบว่ามีน้ำหนักมากและค่อนข้างมากกว่าเกณฑ์อยู่ที่ ร้อยละ2.40 และ ร้อยละ2.8 ตามลำดับ น้ำหนักน้อยและค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์อยู่ที่ ร้อยละ8.9และ ร้อยละ 8.64 ตามลำดับ ส่วนสูงเตี้ยและค่อนข้างเตี้ยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ15.65 และ ร้อยละ19.96  รูปร่างอ้วนและเริ่มอ้วน ร้อยละ2.17 และ ร้อยละ 2.029 ตามลำดับ รูปร่างผอมและค่อนข้างผอม ร้อยละ5.43 และ ร้อยละ 9.42 ตาลำดับ จากปัญหาพบว่าส่วนใหญ่เด็กที่มีปัญหาโภชนาการพบว่ามีสาเหตุมาจากผู้ปกครองขาดความรู้เรื่องโภชนาการ และการติดตามเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการไม่ต่อเนื่อง     เพื่อเป็นการเฝ้าระวังปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและติดภาวะโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการอย่างจริงจัง เกิดกระบวนการเยี่ยมบ้านแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้เด็กได้รับการช่วยเหลือ ส่งต่อ และดำเนินการแก้ปัญหาทางโภชนาการอย่างต่อเนื่อง กระตุ้นให้มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ ตลอดจนสามารถหาแนวทางในการแก้ไข ปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กอายุ 0 -72 เดือน มีน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์สูงดีสมส่วน

 

0.00
2 2.เพื่อเฝ้าระวังและติดตามเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 59,100.00 0 0.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงเรื่องการส่งเสริมโภชนาการ เป็นฐานให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ในกิจกรรม “ครอบครัวโภชนาการ” แก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 40 คน 0 7,800.00 -
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 2 ลงเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินปัญหาและพฤติกรรมการบริโภค 0 3,500.00 -
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 3 ติดตามลงเยี่ยมบ้านและจ่ายอาหารเสริมแก่เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ พร้อมชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก แล้วแปลผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์ อ้างอิง การเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปี เดือนละ 2 ครั้ง 0 40,000.00 -
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 4 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 7,800.00 -

1.ประชุมคณะทำงานและเครือข่ายกระบวนการเยี่ยมบ้าน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเยี่ยมบ้าน ชี้แจงรายละเอียด อธิบายรูปแบบกิจกรรม
2.ประชุมชี้แจงเรื่องการส่งเสริมโภชนาการ เป็นฐานให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ในกิจกรรม “ครอบครัวโภชนาการ” แก่ผู้ปกครองเด็ก 0-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 40
3.ดำเนินการเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ โดยมีแผนเยี่ยม 4 ครั้งดำเนินงานดังนี้
            ครั้งที่ 1 สร้างสัมพันธภาพ รับฟังพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิธีการในการเลี้ยงดูบุตร ซักถาม และรับฟังปัญหา ความต้องการ สุ่มตัวอย่างอาหารเพื่อประเมินปริมาณอาหารของเด็กที่รับประทานในแต่ละมื้อ และการวัดลักษณะทางกายภาพของเด็ก ทำแบบประเมินความรู้และการปฏิบัติการด้านโภชนาการ (pre-test) โดยใช้แบบสอบถาม ที่จัดทำขึ้นโดยคณะพยาบาลศาสตร์ มอ.ปัตตานี และวางแผนช่วยเหลือครอบครัว
            ครั้งที่ 2 ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาน้ำหนักน้อย สอบถามข้อมูลการรับประทานอาหารเป็นรายกรณี ประเมินปัญหา มีการส่งต่อเพื่อให้เด็กได้รับการรักษาต่อในรายจำเป็น
            ครั้งที่ 3 การเยี่ยมเสริมพลังสร้างความมั่นใจให้ผู้ปกครอง ร่วมกันแก้ไขปัญหาสอบถามข้อมูลการทำอาหารจากวัตถุดิบที่ได้รับการสนับสนุน สุ่มตัวอย่างอาหารเพื่อประเมินปริมาณอาหารของเด็กที่รับประทานในแต่ละมื้อ ติดตามความก้าวหน้าของภาวะโภชนาการ และบันทึกกิจกรรม
            ครั้งที่ 4 ประเมินผล และแจ้งผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ให้ผู้ปกครองของกลุ่มเป้าหมายทำแบบประเมินความรู้และการปฏิบัติการด้านโภชนาการ (post-test)         3.ดำเนินการเยี่ยมบ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/จัดหน่วยบริการคลินิกอาสาสมัครเคลื่อนที่เฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
    3.1 แจกจ่ายอาหารเสริมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์         3.2 ติดตามและบันทึกน้ำหนักและส่วนสูงรวมระยะเวลา 8 สัปดาห์       5.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กกลุ่มเป้ามาย จำนวน 40 คน       6.สรุปผลการดำเนินงาน/โครงการ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เด็กอายุ 0 -72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังทางโภชนาการอย่างต่อเนื่อง
2 เด็กอายุ 0-72 เดือนที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับดูแลและแก้ไขปัญหา
3.ผู้ปกครอง ชุมชน ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเด็กขาดสารอาหาร
4.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารตามวัย ของเด็ก 0-72 เดือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2564 15:10 น.