กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง บ่อทอง ใส่ใจ ลดภัยแทรกซ้อน ปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1.1 ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย มีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอายุ ๓๐-๖๙ ปีจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่สำคัญ ประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ และมีแนวโน้มคงที่ในปี ๒๕๖๑ และโดยเฉพาะโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดสมอง มีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงสุดเท่ากับ ๔๔.๓รายต่อประชากรแสนคน โดยเฉพาะในเพศชายสูงกว่าเพศหญิง 1.2 สภาพปัญหา : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง มีโรงพยาบาลหนองจิกเป็นแม่ข่าย เป็น รพ.สต.ระดับกลาง รับผิดชอบ ๕ หมู่บ้าน ประชากร ๗,๘๒๓ คน ลักษณะเป็นชุมชนกึ่งเมือง การคมนาคมสะดวก อาชีพหลักส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง รองลงมาทำการเกษตรทำนาทำสวน และค้าขาย ประชาชนสามารถเข้าถึงความสะดวกสบายในการจับจ่าย ซื้อของ ตลาด/ร้านค้า มีสินค้าหาซื้อได้ง่าย ตลาดในพื้นที่ตำบลมีเกือบทุกวัน รวมทั้งมีร้านสะดวกซื้อ เซเว่น ๒ แห่ง มินิบิ๊กซี ๑แห่ง สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการ โดยเฉพาะอาหารได้ง่ายและรวดเร็ว ประชาชนยังไม่มีความตระหนัก หรือมีความรู้ในการเลือก ในการอุปโภค บริโภค รวมทั้งพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลตนเอง ขาดการออกกำลังกาย การใช้ชีวิตประจำวันที่มีแต่ความเร่งรีบ ความเครียด การดื่มน้ำหวานมากเกินความจำเป็น จะเห็นได้ว่า ในความสะดวกของการเข้าถึงสินค้าและบริการ อุบัติการณ์การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ยังคงมีเพิ่มขึ้นในพื้นที่ เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ่อทอง มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๓ จำนวน ๑๕,๔ และ๓ราย ตามลำดับ(จากข้อมูล HDC) ส่วนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๓ จำนวน ๑๒,๕,และ ๒ ราย ตามลำดับ (ข้อมูลHDC) และผลตัวชี้วัดร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมได้ (มากกว่าร้อยละ ๔๐) ปี ๒๕๖๑ –๒๕๖๓ ได้ ๙.๓๓% , ๑๔.๕๗ %และ ๑๔.๗๖ %ตามลำดับ(ข้อมูล HDC) ผลตัวชี้วัดผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ (มากกว่าร้อยละ ๕๐) ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๓ ได้ ๒๑.๐๕ % , ๕๕.๗๖ % และ๕๔.๒๗%  ตามลำดับ (ข้อมูล HDC)
      จากการวิเคราะห์ข้อมูลจะเห็นได้ว่าในพื้นที่ตำบลบ่อทอง อุบัติการณ์การเกิดโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานรายใหม่ลดลง โดยมีปัจจัยเชิงบวกด้านการเข้าถึง การคัดกรองในชุมชน ซึ่งมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย มีการติดตาม วัดความดันที่บ้าน โดยเครือข่ายชุมชน อย่างต่อเนื่องเสมอมา แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มวัยทำงานที่เป็นโรคเบาหวาน จำนวน ๒๐๐ คน ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี HbA1Cจำนวน ๘๕ ราย คิดเป็น ๔๒.๕๐%,มีระดับ HbA1C

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ การบริโภคอาหาร3อ.2ส.ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสริมสร้างทักษะในการจัดการตนเองเพื่อป้องกัน และชะลอภาวะแทรกซ้อนได้

 

0.00
2 2.เพื่อติดตามระดับ HbA1C<7% ค่าความดันโลหิตสูงหลังได้เข่าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อีก 3 เดือน และ 6 เดือน

 

0.00
3 3.ผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่า HbA1C>7% และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจภาพรวมในระดับดี

 

0.00
4 4.เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,000.00 0 0.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจง สหวิชาชีพพยาบาลผู้จัดการรายกรณี นักโภชนาการโรงพยาบาลหนองจิก เจ้าหน้าที่ประจำรพ.สต.บ่อทองนักวิชาการสาธารณสุข อสม. เพื่อกำหนดบทบาทในการเตรียมความพร้อมในการดำเนินทำกิจกรรมให้เป็นไปตามขั้นตอนและระยะเวลาที่เหมาะสม 0 0.00 -
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก ๓อ.๒ส.แก่กลุ่มเป้าหมาย. 0 7,800.00 -
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 3 การติดตามเยี่ยมบ้าน โดย อสม.เครือข่าย 0 7,500.00 -
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 4 มีการติดตามเยี่ยมบ้านโดย จนท.ในผู้ป่วยเดือนที่ 3 เพื่อประเมินพฤติกรรมการปรับเปลี่ยนตามหลัก ๓อ.๒ส. 0 1,800.00 -
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 5 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการและติดตาม 0 7,100.00 -
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 6 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก ๓อ.๒ส.แก่กลุ่มเป้าหมาย. 0 7,800.00 -
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที 7 ให้บริการเจาะเลือดนำส่งตรวจหาค่าน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวาน โดย จนท.รพ.สต.บ่อทอง 0 0.00 -

ขั้นเตรียมโครงการ –ประชุมทีมงาน วางแผนหาแนวทางร่วมกันกับตัวแทน อสม.และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ่อทองเพื่อกำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไขในชุมชน
- ประชุมกับสหวิชาชีพ แพทย์ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี นักโภชนาการโรงพยาบาลหนองจิก เจ้าหน้าที่ประจำรพ.สต.บ่อทองนักวิชาการสาธารณสุข อสม. เพื่อกำหนดบทบาทในการเตรียมความพร้อมในการดำเนินทำกิจกรรมให้เป็นไปตามขั้นตอนและระยะเวลาที่เหมาะสม สำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยที่มีค่า HbA1C>7%และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่คุมความดันไม่ได้ โดยจัดทำเป็นแบบสอบถาม - การเก็บข้อมูล FBS,HbA1C - แบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
-อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก๓อ.๒ส.แก่กลุ่มเป้าหมาย
- มีการติดตามเยี่ยมบ้านโดยอสม.รับผิดชอบในเดือนที่ 1 เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 รวม 3 ครั้งในผู้ป่วยแต่ละคน เจาะ FBS, HbA1C ที่ระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน
- มีการติดตามเยี่ยมบ้านโดย จนท.ในผู้ป่วยเดือนที่3 เพื่อประเมินพฤติกรรมการปรับเปลี่ยนตามหลัก ๓อ.๒ส. - จัดเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มี HbA1C>7%และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่คุมไม่ได้ โดยพยาบาลผู้จัดการรายกรณี นักกำหนดอาหาร รพช.หนองจิก พยาบาลผู้รับผิดชอบงานโรคเรื้อรัง ระดับอำเภอ นักวิชาการสาธารณสุข - ทำแบบประเมินความพึงพอใจหลังเข้าร่วมโครงการ -ประชุมถอดบทเรียน การดำเนินโครงการกับทีม สหวิชาชีพ และผู้เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. 2 ส.ที่เหมาะสม
2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุม  ความดันโลหิตได้ดีขึ้น มีค่าเฉลี่ย HbA1C ลดลง และ ค่าความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ จากก่อนเข้าร่วมโครงการ
3.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการสามารถคุมค่าน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้อย่างต่อเนื่อง ลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
4.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมายที่เข่าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปแนะนำแก่คนในครอบครัวชุมชน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2564 15:14 น.