กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการระบาด COVID-19 (ระลอกใหม่)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 9 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 99,496.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกิรณา อินพัฒนสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในเวลานี้ มีการระบาด ติดต่อกันอย่างรวดเร็วมาก เนื่องจากมีการติดต่อของคนในประเทศกันเอง ต่างกับในช่วงแรกๆที่เชื้อมาจากผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ แถลงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวันของจังหวัดปัตตานีโดยผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2564 จนถึง วันที่ 26 เมษายน 2564 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อในจังหวัดขณะนี้ จำนวน 50 ราย กำลังรักษา 47 ราย และรักษาหาย 4 ราย ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าเป็นห่วงและต้องมีการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลตุยง ปัจจุบันการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่ 10 เมษายน 2564 ที่ผ่านมาจนถึง 26 เมษายน 2564 พบมีผู้ป่วยติดเชื้อทั้งหมดจำนวน 4 ราย เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมลภาวะและไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้ตระหนัก มีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เทศบาลตำบลบ่อทองโดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเห็นถึงความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาตามมติของคณะกรรมกองทุนฯที่ได้มีการจัดทำแผนงานไว้แล้ว ในช่วงแรกๆหรือต้นปีงบประมาณ 2564 (ธันวาคม 2563 - มกราคม 2564 ) ได้มีการทำโครงการเฝ้าระวัง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไปแล้วแต่เน้นในเรื่องการจัดทำสื่อไวนิลเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล แต่การระบาดระลอกใหม่มีการระบาดที่รวดเร็ว และร้ายแรงมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบูรณาการร่วมกับส่วนราชการอื่นๆในอำเภอหรือองค์กรภาคเอกชนต่างๆในพื้นที่ เพื่อที่จะควบคุมการระบาดในพื้นที่หรือไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง และต้องมีกิจกรรม งบประมาณ เพิ่มขึ้นเพื่อการเฝ้าระวังที่ดี จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ให้แก่ประชาชนในพื้นที่

 

0.00
2 2.เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ เพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 99,496.00 0 0.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 1.สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 0 17,796.00 -
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 2 รณรงค์และการประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ ในลักษณะเชิงรุกในพื้นที่ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 0 11,700.00 -
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 3 จัดตั้งศูนย์กักกัน(Local Quarantine)เพื่อสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยงที่กลับมาจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือจุดคัดกรองบุคคลที่มาจากพื้นที่เสี่ยง 0 70,000.00 -
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 4 สรุปรายงานผลโครงการ 0 0.00 -

1.จัดทำโครงการเสนอผู้บริหารและคณะกรรมการกองทุนฯตามลำดับ
2.บูรณาการโครงการกับกิจกรรมหรือโครงการอื่นๆตามความเหมาะสม
3.ดำเนินงานตามกิจกรรมที่ได้ระบุในโครงการโดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานราชการหรือองค์กรชุมชนในพื้นที่ เช่น อำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หน่วยงานทหารในพื้นที่ โรงเรียน ศพด. ชมรมอสม. ผู้นำชุมชน เป็นต้น
4.สรุปรายงานผลกิจกรรมให้คณะกรรมการกองทุนฯรับทราบเมื่อดำเนินการเสร็จตามระยะเวลา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคไวรัสโคโรนา(COVID-19)ได้
2.ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ในการลงทะเบียนการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในการให้บริการ การป้องกันการ การเฝ้าระวังการติดเชื้อจากโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้เป็นอย่างดี
3.การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
4.สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้
5.แกนนำสุขภาพในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีการพัฒนา
6.ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานภาคเอกชน ในพื้นที่มีการบูรณาการร่วมในการแก้ปัญหา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2564 09:10 น.