กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองเยีย
วันที่อนุมัติ 3 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจุฑารัตน์ สมในใจ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุฤาษี อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาด้านเชาวน์อารมณ์ (EQ) (Emotional Quotient) หมายถึง ความสามารถของคนในการควบคุมอารมณ์จิตใจ และ รวมถึงทักษะการเข้าสังคมด้วย คนที่มีEQ ดีมักจะเป็นคนที่มีความสุขในชีวิตและมักจะประสบความ สำเร็จได้สูง การที่เด็กมีเชาวน์อารมณ์ดีเปรียบเหมือนการมีวัคซีนป้องกัน ทำให้เด็กสามารถเผชิญกับ เหตุการณ์ที่เป็นความเครียดในชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นและประสบความสำเร็จในชีวิต การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ควรทำในเด็กเล็กวัย 3 – 5 ปี อย่างจริงจัง เนื่องจากเสริมสร้างได้ง่ายกว่าเด็กโต ซึ่งความฉลาดทางอารมร์นี้ส่งผลต่อความสำเร็จทางการเรียน การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น และการใช้ชีวิตในอนาคต การเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์เด็ก จำเป็นต้องทำบ่อยๆ ทำทุกวัน เพื่อให้เด็กนำความฉลาดทางอารมณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันเป็นอัตโนมัติ การเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ทำได้หลายวิธีการ ได้แก่สอนให้ทำ อธิบายเหตุผล จูงใจคอยกำกับให้ทำ หาเพื่อนทำด้วยกัน ให้คำชมเชยหรือเป็นกำลังใจเมื่อเด็กทำได้ดี และการเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก ซึ่งแนวทางการส่งเสริมความฉลาดทางอารณ์เด็กวัย 3 -5 ปี มีดังนี้ 1)ด้านดี 2) ด้านเก่ง และ3) ด้านสุข เด็กวัย 3-6 ปีหรือเรียกว่าเด็กวัยก่อนเรียน หรือวัยอนุบาล (preschool) เป็นวัยที่สำคัญระยะ หนึ่งของชีวิต เพราะเป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีพัฒนาการหลายด้านก้าวหน้าขึ้น ทั้งด้านความคิด ภาษา การ สื่อสาร ด้านกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว และการช่วยเหลือตนเอง ทำให้เด็กพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของคนที่จะมีชีวิตอิสระ เป็นตัวของตัวเองเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นวัยที่เด็กเริ่ม จากครอบครัวไปสู่โรงเรียนอนุบาล หรือศูนย์เด็กเล็ก ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และใช้ชีวิตภายนอก บ้านมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน หากเด็กวัยนี้ไม่ได้รับการส่งเสริมทักษะที่จำเป็นตามช่วงวัยอาจจะเป็น จุดตั้งต้นของปัญหาต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะแก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนทั้งหมด

 

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการและความฉลากทางอารมณ์ในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ 1. ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบุฤาษี 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ประสานงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อตรวจประเมินพัฒนาการและประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน - วิเคราะห์ข้อมูลตามแบบประเมินสุขภาพและแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ - อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ให้กับผู้ปกครอง โดยวิทยากร กำหนดเนื้อหา ดังนี้ ( ปรับตามมาตรฐานหลักสูตร ถ้ามี ) 1) ลักษณะพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กเล็ก จำนวน 2 ชั่วโมง 2) วิธีการช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่ดี จำนวน 1 ชั่วโมง
3) พฤติกรรมที่เป็นปัญหาทางด้านจิตใจ จำนวน 2 ชั่วโมง - จัดทำมุมความรู้และช่องทางในการรับคำปรึกษาในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 4. ประเมินผลการดำเนินงาน 5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบุฤาษี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดความร่วมมือระหว่างครู/ผู้ปกครองเด็กในการมีส่วนร่วมดูแลเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 2.เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนได้รับการเฝ้าระวังและส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ 3.มีเครือข่ายผู้ปกครองในการดูแลเด็กล็กและเด็กก่อนวัยเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2564 14:07 น.