กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมคณะกรรมการกำหนดแผนและแนวทางในการดำเนินงาน 21 มิ.ย. 2564

 

 

 

 

 

กิจกรรมเดินรณรงค์วันต่อต้านยาเสพติดโลก 25 มิ.ย. 2564

 

 

 

 

 

กิจกรรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมายเรื่องพิษภัยจากยาเสพติด 1 (ครึ่งวันบ่าย) และคัดกรอง ค้นหาผู้เสพและผู้ติดสารเสพติดในชุมชน เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัด 27 มิ.ย. 2564

 

 

 

 

 

ประชุมกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านยาเสพติด ทำ MOU ร่วมกับโรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ ระบบสมัครใจ 30 มิ.ย. 2564

 

 

 

 

 

กิจกรรมประชุมวางแผนกำหนดมาตรการทางสังคม 30 ก.ค. 2564

 

 

 

 

 

กิจกรรมค่ายบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดในชุมชน เพื่อเป็นการฟื้นฟูร่างกายจิตใจ กลับตัวกลับใจเป็นคนดีของสังคม 30 ส.ค. 2564

 

 

 

 

 

กิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันให้ความรู้ ประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง เรื่องพิษภัยจากยาเสพติด (ครึ่งวันบ่าย) 30 ส.ค. 2564

 

 

 

 

 

กิจกรรมคัดเลือกบุคคลต้นแบบที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สร้างเครือข่ายและการจัดระบบการเฝ้าระวังให้กับชุมชนเพื่อความยั่งยืน 30 ก.ย. 2564

 

 

 

 

 

โครงการชุมชนยั่งยืน บ้านบางหยีรวมพลัง ต่อต้านยาเสพติด ปี 2564 30 ก.ย. 2564

 

 

 

 

 

สรุป โครงการชุมชนยั่งยืน บ้านบางหยีรวมพลัง ต่อต้านยาเสพติด ปี 2564 16 มิ.ย. 2564 30 ก.ย. 2564

 

สรุป โครงการชุมชนยั่งยืน บ้านบางหยีรวมพลัง ต่อต้านยาเสพติด ปี 2564 ส่งกองทุนฯ อบต.บางกล่ำ

 

มีสรุป โครงการชุมชนยั่งยืน บ้านบางหยีรวมพลัง ต่อต้านยาเสพติด ปี 2564 ส่งกองทุนฯ อบต.บางกล่ำ


สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

๑. ชื่อโครงการ โครงการชุมชนยั่งยืน บ้านบางหยีรวมพลัง ต่อต้านยาเสพติด ปี 2564 ๒. วัตถุประสงค์
1. เพื่อคัดกรอง และนำผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัด โดยชุมชนมีส่วนร่วม 2. เพื่อให้ผู้ป่วยที่ใช้ยาเสพติดหยุดเสพซ้ำต่อเนื่อง 3 เดือนหลังเข้าร่วมกิจกรรม 3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องพิษภัยจากยาเสพติด ๓. เป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 50 คน ในพื้นที่ บ้านบางหยี หมู่ 4 ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ๔. สถานที่ดำเนินงาน พื้นที่ บ้านบางหยี หมู่ที่ 4 ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ๕. วันที่จัดกิจกรรม มิถุนายน 2564 – กันยายน 2564 ๖. งบประมาณที่ได้รับอนุมัติรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 36,700 บาท งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ 36,700 บาท งบประมาณเบิกจ่ายจริง 18,000 บาท
งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ 18,700 บาท
7. ผลการดำเนินงาน จากการดำเนินโครงการชุมชนยั่งยืนบ้านบางหยีรวมพลังต่อต้านยาเสพติด ปี 2564 โดยผ่านการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนบ้านบางหยีอย่างต่อเนื่อง โดยมีโรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา อำเภอบางกล่ำ โรงพยาบาลบางกล่ำ สถานีตำรวจภูธรบางกล่ำ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางกล่ำ ผู้นำชุมชน ภาคประชาชน พัฒนาชุมชนอำเภอบางกล่ำ สถานศึกษา และผู้นำศาสนา ร่วมดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติด ชุมชนบ้านบางหยีในครั้งนี้ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนงานโครงการที่กำหนดไว้ เกิดผลสัมฤทธิ์คุ้มค่ากับการใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ดังนี้

1)สามารถคัดกรองและนำผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัด โดยชุมชนมีส่วนร่วม คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งมีวิธีการคัดกรองหลากหลายมิติ ทั้งการนำกลุ่มเป้าหมายสู่กระบวนการบำบัด การให้ข้อมูลแก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัด การตรวจปัสสาวะ การเอกซเรย์ (x-ray) พื้นที่ การสัมภาษณ์ตามเอกสารการคัดกรองโดยวิทยากรให้ความรู้

2)กลุ่มเป้าหมายใช้สารเสพติด ทั้งหมด 11 ราย สามารถหยุดเสพซ้ำต่อเนื่อง 3 เดือนหลังเข้าร่วมโครงการ จำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 64 และไม่สามารถหยุดเสพได้จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 36

3)ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องพิษภัยยาเสพติด คิดเป็นร้อยละ 77


จึงสรุปได้ว่า จากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังที่กล่าวข้างต้น ผ่านกระบวนการคัดกรอง ทั้งการให้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่/ชุมชน, การเอ๊กซเรย์ (x-ray) พื้นที่, การสัมภาษณ์ตามเอกสารการคัดกรอง, การตรวจปัสสาวะและคุมประพฤติส่งตัวมาบำบัด รวมไปถึงการเข้าร่วมค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (ค่ายเปิด) กระบวนการดังกล่าวทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับประโยชน์และตระหนักถึงภัยอันตรายมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องยาเสพติดทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ไม่ให้กลับไปเสพซ้ำอีกส่งผลให้เกิดความมั่นใจที่สามารถดำรงชีวิตที่ปกติได้โดยไม่ใช้สารเสพติดในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 64 รองลงมา ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 36


8. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด

8.1) การบรรลุตามวัตถุประสงค์
  บรรลุตามวัตถุประสงค์

8.2) จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ๕๐ คน


9.ข้อเสนอแนะและสิ่งที่คาดว่าจะดำเนินการต่อไป

1)การดูแลต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอหลังจบโครงการ เพื่อป้องกันการกลับไปเสพซ้ำและสามารถหยุดการใช้สารเสพติดได้อย่างถาวร
2)การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน มองเห็นปัญหาตระหนักถึงความสำคัญของปัญหายาเสพติดที่มีผลกระทบต่อชุมชนและได้เรียนรู้กระบวนการแก้ไขปัญหาในชุมชน สามารถประสาน ส่งต่อ ติดตามดูแลโดยชุมชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

3)การเสริมพลังและเสริมศักยภาพของประชาชน ในด้านการดูแลและแก้ปัญหายาเสพติดร่วมกันของประชาชนในชุมชนเป็นระยะเพื่อให้มีความรู้เท่าทันปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้น

4)ส่งเสริมเกี่ยวกับครอบครัวบำบัด

5)การพบปะกลุ่มเป้าหมายเพื่อทบทวนแรงจูงใจในการเลิกใช้สารเสพติดนั้นทิ้งช่วงห่างมากเกินไป
ควรพบปะพูดคุยเกี่ยวกับแรงจูงใจมากขึ้น เพื่อป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ

6)กระบวนการค้นหาผู้ป่วยทำได้ยากเนื่องจากครอบครัวยังไม่ตระหนักถึงข้อดีของการบำบัดรักษา

7)ทุกครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมจะมีการตรวจสารเสพติดในปัสสาวะทุกครั้งซึ่งมีความเสี่ยงที่ผู้เข้าร่วม โครงการนำปัสสาวะผู้อื่นมาส่ง

8)ผู้ที่มีปัญหายาเสพติดในชุมชนยังเข้าร่วมโครงการไม่หมด ส่งผลให้ยังมีการมั่วสุมในชุมชน

9)มีการทำกิจกรรมกลุ่มบำบัดต่อเนื่องทุกสัปดาห์ อย่างน้อย 1 เดือน เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาและอุปสรรคต่อการเลิกใช้สารเสพติดของกลุ่มเป้าหมาย

10)ส่งเสริมการทำกิจกรรมกับเยาวชนเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดในอนาคต


10. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน
  ไม่มี
  มี

ปัญหา/อุปสรรค : การดำเนินโครงการช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีการจำกัดผู้เข้าร่วมกิจกรรมและเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อ   แนวทางการแก้ไข : มีการจำกัดจำนวนและคัดกรองโรคผู้เข้าร่วมกิจกรรม ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทุกครั้ง

 

กิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันให้ความรู้ ประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง เรื่องพิษภัยจากยาเสพติด (ครึ่งวันบ่าย) 23 มิ.ย. 2564 23 มิ.ย. 2564

 

กลุ่มเป้าหมาย 50 คน 1. ลงทะเบียนประชาชนทั่วไปและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
2. รับฟังการบรรยายจากวิทยากรจากโรงพยาบาลธัญญารักษ์ อาจารย์สยาม มูสิกาไชย ในหัวข้อ  “พิษภัยจากการใช้สารเสพติด และระบบนำผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา” 3. ผู้เข้าร่วมโครงการร่วมแลกเปลี่ยนเรื่องสถานการณ์ปัญหายาเสพติดปัจจุบันในชุมชนบ้านบางหยี 4. สรุปและวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในชุมชนบ้านบางหยีในปัจจุบันและร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนพร้อมทั้งสร้างแกนนำชุมชนเพื่อดำเนินการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติด โดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx)

 

  • เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันให้ความรู้ ประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง เรื่องพิษภัยจากยาเสพติด
  • มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม สร้างภูมิคุ้มกันให้ความรู้ ประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง เรื่องพิษภัยจากยาเสพติดจำนวน 50 คน
  • สร้างแกนนำชุมชนเพื่อเป็นคณะกรรมการในการดำเนินงานเพื่อดำเนินการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติด โดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx)
  • ประชาชนทราบแนวทางการนำผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา และมองเห็นถึงข้อดีของการบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลิกใช้สารเสพติดได้และไม่กลับไปเสพซ้ำ

 

กิจกรรมเดินรณรงค์วันต่อต้านยาเสพติดโลก 25 มิ.ย. 2564 25 มิ.ย. 2564

 

1.บุคลาการโรงพยาบาลบางกล่ำร่วมกันรณรงค์เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก ภายใต้แนวคิดมุ่งมั่น แก้ไข ขจัดภัยยาเสพติด ในพื้นที่โรงพยาบาลบางกล่ำ เพื่อสร้างความตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและเห็นความสำคัญของการต่อต้านยาเสพติด 2.มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบถึงความสำคัญของวันที่ 26 มิถุนายน 2564 ซึ่งเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก ผ่านสื่อสังคมออนไลน์หรือช่องทางอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

 

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินรณรงค์วันต่อต้านยาเสพติดโลก จำนวน 50 คน 2.เกิดความตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและเห็นความสำคัญของการต่อต้านยาเสพติด 3.ประชาชนทราบถึงโทษ มีการเฝ้าระวังและป้องกัน แก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนอย่างทั่วถึง

 

ประชุมคณะกรรมการกำหนดแผนและแนวทางในการดำเนินงาน (จัดกิจกรรมวันที่ 1 มิ.ย 64 ไมเบิกงบประมาณ) 27 มิ.ย. 2564 3 มิ.ย. 2564

 

ประชุมคณะกรรมการกำหนดแผนและแนวทางในการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย 30 คน

 

  • เกิดการกำหนดแผนและแนวทางในการดำเนินงาน

 

กิจกรรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมายเรื่องพิษภัยจากยาเสพติด 1 (ครึ่งวันบ่าย) และคัดกรอง ค้นหาผู้เสพและผู้ติดสารเสพติดในชุมชน เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัด 27 มิ.ย. 2564 27 มิ.ย. 2564

 

กิจกรรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมายเรื่องพิษภัยจากยาเสพติด 1 (ครึ่งวันบ่าย) และคัดกรอง ค้นหาผู้เสพและผู้ติดสารเสพติดในชุมชน เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัด
กลุ่มเป้ามาย 50 คน

 

  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องพิษภัยจากยาเสพติด 1
  • เกิดการคัดกรอง ค้นหาผู้เสพและผู้ติดสารเสพติดในชุมชน เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัด

 

กิจกรรมประชาสัมพันธ์ ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านยาเสพติด ทำ MOU ร่วมกับโรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ ระบบสมัครใจ 30 มิ.ย. 2564 30 มิ.ย. 2564

 

กิจกรรมประชาสัมพันธ์ ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านยาเสพติด ทำ MOU ร่วมกับโรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ ระบบสมัครใจ

 

  • เกิดการประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านยาเสพติด ทำ MOU ร่วมกับโรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา

  • มีผู้เข้าร่วมโครงการ ระบบสมัครใจ จำนวน 50 คน

 

กิจกรรมประชุมวางแผนกำหนดมาตรการทางสังคม 30 ก.ค. 2564 30 ก.ค. 2564

 

กิจกรรมประชุมวางแผนกำหนดมาตรการทางสังคม

 

เกิดการประชุมวางแผนกำหนดมาตรการทางสังคม

 

กิจกรรมค่ายบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดในชุมชน เพื่อเป็นการฟื้นฟูร่างกายจิตใจ กลับตัวกลับใจเป็นคนดีของสังคม 30 ส.ค. 2564 23 ก.ค. 2564

 

กิจกรรมค่ายบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดในชุมชน เพื่อเป็นการฟื้นฟูร่างกายจิตใจ โดยกลุ่มบำบัด เสริมสร้างแรงจูงใจ ฝึกระเบียบวินัย ออกกำลังกายยามเช้า การอยู่ร่วมกันในสังคม ฝึกอาชีพ พัฒนาความคิด ธรรมะบำบัด ดนตรีบำบัด กิจกรรมจิตอาสา บันทึกกล่าวคำสัญญาใจ พัฒนาตนเองกลับตัวกลับใจเป็นคนดีของสังคม

 

  • มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดในชุมชน เพื่อเป็นการฟื้นฟูร่างกายจิตใจ กลับตัวกลับใจเป็นคนดีของสังคมจำนวน 50 คน

  • ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องโทษและพิษภัยยาเสพติด ไม่หันกลับมาใช่อีก

  • ผู้ป่วยยาเสพติดในชุมชน ได้รับการฟื้นฟูร่างกายจิตใจ กลับตัวกลับใจเป็นคนดีของสังคม

 

กิจกรรมคัดเลือกบุคคลต้นแบบที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สร้างเครือข่ายและการจัดระบบการเฝ้าระวังให้กับชุมชนเพื่อความยั่งยืน 30 ก.ย. 2564 30 ก.ย. 2564

 

กิจกรรมคัดเลือกบุคคลต้นแบบที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สร้างเครือข่ายและการจัดระบบการเฝ้าระวังให้กับชุมชนเพื่อความยั่งยืน

 

  • เกิดการคัดเลือกบุคคลต้นแบบที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จำนวน ..........50.........คน
  • เกิดการสร้างเครือข่ายและการจัดระบบการเฝ้าระวังให้กับชุมชนเพื่อความยั่งยืน