กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการกำจัดลูกน้ำยุงลาย แก้ปัญหาโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5212-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลแม่ทอม
วันที่อนุมัติ 9 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มกราคม 2565
งบประมาณ 33,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางชฎาพร ศรีธรรมการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.1,100.456place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มิ.ย. 2565 31 ธ.ค. 2564 33,600.00
รวมงบประมาณ 33,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2125 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
0.10

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ โรคชิคุนกุนยา (โรคไข้ปวดข้อยุงลาย) โรคไข้มาลาเรีย โรคเท้าช้าง โรคไข้สมองอักเสบ ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากยุงเป็นพาหะทั้งสิ้น โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบผู้ป่วยจำนวนมากในช่วงฤดูฝน เนื่องจากช่วงฤดูฝน น้ำฝนสามารถขังอยู่ในภาชนะต่างๆ ได้ เพียงพอที่จะทำให้ยุงลายสามารถวางไข่และเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยได้ ทำให้มีประชากรยุงลายเพิ่มมากขึ้น แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย อาทิเช่น ขยะ ถุงพลาสติก กะลา  ยางรถยนต์ ฯลฯ และการเจริญของบ้านเมือง การคมนาคม ทำให้ผู้ป่วยไปรับเชื้อโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยามาจากพื้นที่อื่นได้ โรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้หากได้รับการรักษาไม่ทันเวลา หรือรับการรักษา    ที่ไม่ถูกต้องและมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคม     ประกอบกับข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาอำเภอบางกล่ำ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2563    มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก จำนวน 45 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 144.72 ต่อประชากรแสนคน โดยเฉพาะตำบลแม่ทอมพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 153.76 ต่อแสนประชากร ซึ่งจะเห็นได้ว่าอัตราการเกิดโรคดังกล่าวยังเป็นปัญหา    ที่สำคัญ และอัตราป่วยเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด คืออัตราป่วยไม่เกิน 50ต่อประชากรแสนคน อีกทั้งการระบาดของโรคชิคุณกุนย่า ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ปัญหาดังกล่าวต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจากหากมีการเกิดโรคนี้ขึ้นแล้วอาจจะมีการระบาดออกไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งทางด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ รวมทั้งทางด้าน เศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก ดังนั้นการดำเนินการยับยั้งการระบาดของโรค การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง    ก็จะทำการระบาดของโรคดังกล่าวลดน้อยลงหรือยังยั้งการเกิดโรคดังกล่าวไม่ให้แพร่ระบาดไปในวงกว้าง ก็จะทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

0.10 0.10
2 เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ ในหมู่บ้าน

ผลการสำรวจมีความสำเร็จตามเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

90.00
3 เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและลดการแพร่ระบาดโรคโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ ในหมู่บ้าน

สามารถทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ 100 %

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ประชุมคณะทำงานวางแผนดำเนินกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
25 มิ.ย. 64 ประชุมคณะทำงานวางแผนการดำเนินกิจกรรม 0 0.00 0.00
2 กิจกรรม​ค้นหา​ปัจจัย​เสี่ยงของ​การ​เกิด​โรค กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 2125 0.00 1 0.00
17 ส.ค. 64 กิจกรรมการค้นหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค การสำรวจลูกน้ำยุงลาย 2,125 0.00 0.00
3 การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 33,600.00 2 33,600.00
27 ส.ค. 64 การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 45 33,600.00 33,600.00
10 ก.ย. 64 กิจกรรม 1 day มาจัดการแหล่งขยะ ลดยุงกันเถอะ 0 0.00 0.00
4 ติดตามประเมินผลโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
29 พ.ย. 64 ติดตามประเมินผลโครงการ 0 0.00 0.00
  1. จัดทำโครงการเพื่อขอเสนอขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนฯ

  2. จัดหาทรายอะเบท

  3. กิจกรรมค้นหาปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค

    -การสำรวจลูกน้ำยุงลาย อาคาร บ้านเรือน วัด มัสยิด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็ก อบต.และ รพ.สต.

  4. กิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ลดการแพร่ระบาดโรค

    -การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและกำจัดลูกน้ำยุงที่อาคารบ้านเรือน การใส่ทรายอะเบท โดย อสม.เป็นพี่เลี้ยงคอยแนะนำ

  5. อสม. สรุปและรายงานผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายแยกรายหมู่ ส่งให้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทุกเดือน

  6. สรุปโครงการ/รายงานผลกองทุน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ ในหมู่บ้าน

  2. ลดการระบาดของโรคโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2564 13:40 น.