กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมและฟื้นฟูทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT)
รหัสโครงการ 60-L1489-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด อบต.ควนปริง
วันที่อนุมัติ 8 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักปลัด อบต.ควนปริง
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนปริง
พื้นที่ดำเนินการ ณ ห้องประชุมที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลควนปริง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.521,99.596place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 ก.ย. 2560 29 ก.ย. 2560 9,764.00
รวมงบประมาณ 9,764.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (9,764.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (15,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 68 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบนโยบาย “อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน” โดยใช้อำเภอเป็นจุดเชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพยากรในการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ โดยกำหนดคุณลักษณะอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ๕ ด้านประกอบด้วย ๑) มีคณะกรรมการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
๒) มีระบบระบาดวิทยาในระดับอำเภอที่ดี
๓) มีการวางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
๔) มีการระดมทรัพยากรหรือการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นรูปธรรม
๕) มีผลสำเร็จของการควบคุมป้องกันที่สำคัญคุณลักษณะทั้ง ๕ ด้านนี้ ถือเป็นเครื่องมือที่จะ บูรณาการดำเนินงานของภาครัฐภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่นและภาคประชาชนรวมทั้งให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้เรียนรู้การวางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ของตนเองโดยการดำเนินงานในลักษณะ“ร่วมคิดร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการร่วมประเมินผลและร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาและแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรคในระดับประชาชนทั้งนี้การแก้ไขปัญหาควรสอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ของตนเองโดยหน่วยบริการและหน่วยสนับสนุนที่เกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลักสามารถใช้ข้อมูลข้อสนเทศที่เกี่ยวข้องประกอบการตัดสินใจวางแผนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคในระดับพื้นที่รวมทั้งประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้เข้ากับบริบทของพื้นที่ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลควนปริง จึงได้จัดทำโครงการอบรมและฟื้นฟูทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) เพื่อควบคุมป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้ไม่มีการระบาดของโรคติดต่อในชุมชน ประชาชนมีสุขภาพชีวิตที่ดีตลอดไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน

 

2 เพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคให้เป็นไปตามมาตรฐานทางระบาดวิทยา

 

3 เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน

 

4 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีลดการเกิดโรคติดต่อที่ส่งผลแก่ชีวิตในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลควนปริง
2.ประชุมชี้แจงแผนงานโครงการแก่คณะกรรมการกองทุน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
3.จัดตั้งทีม SRRT โดยมี เจ้าหน้าที่ รพ.สต. แกนนำครอบครัว อบต. และผู้นำชุมชน
4.จัดอบรมความรู้เรื่องโรคระบาดแก่กลุ่มเป้าหมายพร้อมฝึกการสำรวจและการควบคุมการระบาดของโรคในชุมชน ตามขั้นตอนการเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วโดยทีม SRRT

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วหรือทีม SRRT มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ 2.ลดความเสี่ยงการระบาดของโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน 3.เครือข่ายชุมชนเกิดความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน 4.ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีลดการเกิดโรคติดต่อที่ส่งผลแก่ชีวิตในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2560 13:17 น.