กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการมหัศจรรย์ ๑,๐๐๐ วันแรกแห่งชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสารจอด ตำบลหนองโพนงาม อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ปีงบประมาณ ๒๕๖3

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ ๑,๐๐๐ วันแรกแห่งชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสารจอด ตำบลหนองโพนงาม อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ปีงบประมาณ ๒๕๖3
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสารจอด
วันที่อนุมัติ 14 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 42,782.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสารจอด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองโพนงาม อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

๑,๐๐๐ วันแรกของชีวิตเป็นจุดเริ่มต้นในการปูพื้นฐานของชีวิตคนไทยสู่อนาคตที่ดี นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงห้าขวบปีแรกของชีวิต เป็นช่วงที่โครงสร้างของสมองมีการพัฒนาสูงสุด ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ฉลาด พัฒนาการสมวัย สูงสมส่วน แบ่งเป็น 2 ช่วงวัยคือ 1,000 วันแรกช่วง 0-2 ปี และ 1,500 วัน ช่วง 3-5 ปี ช่วงวัยแรกคือ๒๗๐ วันแรก ระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นช่วงสำคัญของการสร้างเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด เด็กจึงควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าวแม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ตับ ไข่ ปลา ผัก ผลไม้ นมสดรสจืด โดยเสริมไอโอดีน เหล็ก โฟลิก ต่อมา ๑๘๐ วัน (แรกเกิด - ๖ เดือน) เป็นช่วงที่ร่างกายและสมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การได้รับนมแม่ตั้งแต่ชั่วโมงแรกของชีวิตและการดื่มนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือนเต็มรวมถึงการโอบกอดและเล่นกับลูกส่งผลให้ลูกเจริญเติบโตมีพัฒนาการทางด้านร่างกายและอารมณ์ดี และ ๕๕๐ วัน (อายุ ๖ เดือน – ๒ ปี) เน้นการเป็นเด็กฉลาด มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน โดยการให้อาหารที่เหมาะสมตามวัย ควบคู่การดื่มนมแม่ให้นานที่สุด ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่น เข้มแข็ง ด้วยกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า เพิ่มความฉลาด เฝ้าดูฟันและลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ซึ่งมีส่วนสำคัญทำให้ทารกพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูงช่วงวัยที่ 2 ประกอบด้วยมาตรฐานหลัก 3 ด้าน ด้านที่ 1 การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กประถมวัย ด้านที่ 2 ครู/ผู้ดูแลเด็ก ให้การดูแลจัดประสบการเรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย และด้านที่ 3 คุณภาพของเด็กประถมวัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดบริการและความต่อเนื่องของการพัฒนาเด็กปฐมวัย จึงเป็นการบูรณาการเชื่อมโยงตลอดช่วงชีวิตทั้งมิติบุคคล ครอบครัว ชุมชน รวมถึงการดูแลเด็กและครอบครัวแบบองค์รวม พร้อมทั้งเป็นหน่วยงานประสานการส่งต่อเด็กที่มีความเสี่ยงหรือป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแม่และเด็กในพื้นที่รับผิดชอบ
ผลการดำเนินงานคุณภาพด้านแม่และเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสารจอดข้อมูลจาก HDC ปีงบประมาณ ๒๕๖2พบประเด็นเกี่ยวข้องที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนร้อยละ 100 และหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ ๑๒ สัปดาห์ร้อยละ 100 จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดอบรมศักยภาพ อสม. ผู้นำชุมชน CFT ขึ้นเพื่อค้นหาและติดตามหญิงตั้งครรภ์ในชุมชนมาฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสารจอด จึงได้จัดทำโครงการ มหัศจรรย์ ๑,๐๐๐ วันแรกแห่งชีวิต ปีงบประมาณ ๒๕๖3 เพื่อให้เกิดคลินิกฝากครรภ์คุณภาพ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ พัฒนาการสมวัย ทำให้เด็กเติบโตเป็นคนที่มีศักยภาพในชุมชน เก่งดี มีสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๘.๑ การฝากครรภ์คุณภาพ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ ๖๐ ๘.๒ การฝากครรภ์ครั้งแรกน้อยกว่าหรือเท่ากับ ๑๒ สัปดาห์ มากกว่าร้อยละ ๖๐ ๘.๓ หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม มากกว่าร้อยละ ๘๐ ๘.๔ หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนโครงการ ได้ดื่มนมกล่องรสจืด อย่างน้อย ๑ กล่อง/วัน นาน ๙๐ วัน ร้อยละ ๑๐๐ ๘.๕ ทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่า ๒,๕๐๐ กรัมขึ้นไป มากกว่าร้อยละ ๘๐ ๘.๖ เด็กแรกเกิด - ๒ ปี มีพัฒนาการสมวัยในช่วง ๑๐๐๐ วันแรกของชีวิต มากกว่าร้อยละ ๘๐ ๘.๗ หญิงตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิด - ๒ ปี และครอบครัวมีความรู้การดูแลสุขภาพตนเอง ๘.๘ ครอบครัว ชุมชน และภาคีเครือข่ายในตำบล มีส่วนร่วมในกิจกรรม การดูแลและเอาใจใส่ต่อสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิด - ๒ ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2564 14:26 น.