กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออกแบบผสมผสาน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
รหัสโครงการ 61-L1482-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหว้า
วันที่อนุมัติ 20 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,140.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายศิรสิทธิ์ สืบกระพันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหว้า ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.241,99.753place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์ของโลกได้เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลก มลพิษทางอากาศ และน้ำ การเคลื่อนย้ายของประชากร ความต้านทานต่อสารเคมีของยุง ส่งผลให้สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกของประเทศไทยในภาพรวม ปี 2559 ยังคงสูงกว่าค่ามัธยฐาน ย้อนหลัง 5 ปี โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี ขณะนี้โรคไข้เลือดออกได้เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทั่วประเทศ และมีการเผยแพร่ข่าวการระบาดทางสื่อต่างๆทำให้ประชาชนมีความตื่นตระหนกและวิตกกังวลต่อสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นซึ่งโดยธรรมชาติของโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดปีเว้นปี หรือระบาดเว้น ๒ ปีสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกอาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นได้ในทุกพื้นที่หากไม่มีการเฝ้าระวังและการป้องกันที่ถูกต้อง ส่วนการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจะสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนในชุมชน ทั้งนี้เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการแพร่กระจายตัวของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย มีอัตราป่วยต่อแสน96.76 222.15 63.36 240.92 123.85 109.10ที่มา ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สํานักระบาดวิทยา กรมควบคมโรค อำเภอปะเหลียน จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก 5 ปีย้อนหลังตั้งแต่ปี 2555– 2559 พบว่ามีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 38.35, 65.43, 88.69, 149.68และ 62.44 ต่อแสนประชากร จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นในช่วง 4 ปีแรก และลดลงในปีที่ 5 จึงเข้ากับทฤษฎีที่ว่าโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดปีเว้นปีเพราะฉะนั้น ในปี พ.ศ.2560 นี้ อาจจะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างรุนแรงได้
จากการวิเคราะห์สาเหตุที่สำคัญของการดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหว้า ประชาชนขาดความตระหนักและความเอาใจใส่ในการควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย บริเวณบ้านเรือนของตนเอง ทั้งนี้การกระจายตัวของโรคไข้เลือดออกจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออก การป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหว้า จึงจัดทำโครงการจัดการยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออกแบบผสมผสาน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน องค์กรในชุมชนให้เกิดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องเพื่อลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการจัดการยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออกแบบผสมผสาน (Integrated Vectors Management : IVM)

ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการจัดการยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออกแบบผสมผสาน (Integrated Vectors Management : IVM)

2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีความรู้ ความเข้าใจ มีส่วนร่วมในการกำจัดแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลายในบริเวณบ้าน โรงเรียน ศาสนสถาน และสถานบริการสาธารณสุข

ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบริเวณบ้าน โรงเรียน ศาสนสถาน
และสถานบริการสาธารณสุข อัตราความชุกของค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน (HI, CI)ลดลง ร้อยละ 80

3 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มอายุลดลง ร้อยละ 20

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มอายุลดลงตามเป้าหมายที่วางไว้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะก่อนดำเนินการ

1.ประชุมเจ้าหน้าที่ รพ.สต. อสม.เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรคในการ ดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในปี 1 ที่ผ่านมา และกำหนดแนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ

ระยะดำเนินการ
1.กิจกรรมอบรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกตามแนวทางการจัดการพาหะนำโรค แบบผสมผสาน (Integrated Vectors Management: IVM) 2.กิจกรรมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอาเซียน 1 ครั้ง ในเดือนมิถุนายน
3.กิจกรรมควบคุมโรคไข้เลือดออกเมื่อเกิดการระบาด


ระยะหลังดำเนินการ
1.ทุกหมู่บ้านจัดการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกทุกสัปดาห์ 2.สรุปรายงานและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการจัดการยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออกแบบผสมผสาน (Integrated Vectors Management : IVM)
2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบริเวณบ้าน โรงเรียน ศาสนสถาน
และสถานบริการสาธารณสุข อัตราความชุกของค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน (HI, CI)ลดลง ร้อยละ 80
3.อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มอายุลดลงตามเป้าหมายที่วางไว้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2560 14:26 น.