กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมผู้ประกอบการร้านอาหารแผงลอย และรถเข็น
รหัสโครงการ 22/2560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยประจำตำบลเกาะแต้ว
วันที่อนุมัติ 26 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางบุณยาพร หีมเจริญ และนางอุมา สะระยะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.638place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ การมีสุขภาพดีของประชาชน ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตและการพัฒนาประเทศ การส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพดีไม่เกิดการเจ็บป่วย เป็นสิ่งที่รัฐต้องให้การสนับสนุน ในปัจจุบันพบการปนเปื้อนของอาหารจากสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เนื่องจากผู้จำหน่ายอาหารบางรายอาจไม่ทราบถึงผลิตภัณฑ์ที่ตนเองจำหน่ายว่ามีการปนเปื้อนสารเหล่านี้อยู่ หรือบางรายอาจทราบแต่ยังไม่ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมทั้งมีการใช้โฟมบรรจุอาหารอย่างไม่ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่า เมื่อนำกล่องโฟม ไปบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูง หรือที่มีไขมัน หรือน้ำมัน จะมีสารพิษออกมาปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ได้แก่ สารสไตรีน ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง ในผู้ชายเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งตับ ในผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซิน ออกฤทธิ์ทำลายไขกระดูก ทำให้โลหิตจาง และสารทาเลท เป็นสารทำลายระบบสืบพันธุ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค นอกจากนี้ จากการสำรวจปริมาณขยะ ของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขี้นอย่างต่อเนื่อง จาก 34 ล้านใบ/วัน เป็น 61 ล้านใบ/วัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ใบ/คน/วัน โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น จะพบว่ามีขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทน และใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 450 ปี ซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังงานต้นทุนการกำจัดสูง เปลืองพื้นที่ฝังกลบ และขบวนการกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลเกาะแต้วและใกล้เคียง รวมถึงประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยจากร้านอาหารหรือแผงลอย จึงต้องมีระบบควบคุมและติดตาม ตรวจสอบคุณภาพ ทุกขั้นตอนการผลิต วัตถุดิบ จนถึงการจำหน่ายอาหารสู่ผู้บริโภค
ดังนั้น ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยประจำตำบลเกาะแต้วร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเกาะแต้ว และ รพ.สต.ในพื้นที่ จึงได้จัดให้มีการอบรมเกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจสุขาภิบาลร้านอาหาร/แผงลอย และรถเข็น มีการสาธิตการตรวจตัวอย่างอาหาร ผักสด ผลไม้สด ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ผู้บริโภคตระหนักถึงอันตรายของโฟม รวมทั้งมีการรับรองอาหารสะอาด รสชาติอร่อย โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่และเทศบาลตำบลเกาะแต้ว เพื่อผู้บริโภคได้มีความมั่นใจในการรับประทานอาหารจากร้านอาหาร/แผงลอยและรถเข็นในพื้นที่ตำบลเกาะแต้ว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. เขียนโครงการและเสนอโครงการให้อนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเกาะแต้วกลั่นกรองพิจารณาโครงการ ๒. นำโครงการเข้าที่ประชุม เพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเกาะแต้ว 3. จัดอบรมให้ความรู้ เรื่องการตรวจสุขาภิบาลด้านอาหาร ให้แก่ผู้ประกอบร้านอาหาร/แผงลอยและรถเข็น สาธิตการตรวจตัวอย่างอาหารเพื่อหาการปนเปื้อนของสารต่างๆ 4. ดำเนินการตรวจประเมินด้านอาหารปลอดภัย (สารปนเปื้อน 6 ชนิด ) ตรวจประเมินร้านอาหาร แผงจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์ ของกรมอนามัย2 ครั้ง ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน ๒๕๕๙ รวมทั้งมีการสุ่มตรวจร้านอาหาร/แผงลอย ที่ผ่านเกณฑ์แล้ว อย่างน้อย ๑ ครั้ง 5.มอบป้ายรับรองมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติดี ให้แก่ร้านอาหาร/แผงลอยและรถเข็น ที่ผ่านตามเกณฑ์ 6.ประชาสัมพันธ์ รณรงค์เกี่ยวกับการเลิกใช้โฟม กระตุ้นให้ผู้บริโภคตระหนักถึงอันตรายจากโฟม รณรงค์ให้หน่วยงาน หรือการจัดงานต่างๆให้เป็นเขตปลอดโฟม 7.ส่งเสริมให้มีชุมชนเขตปลอดโฟม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอย และรถเข็น ได้มีความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อาหารและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับอาหารอย่างปลอดภัย 2. ผู้ประกอบการได้มีการเฝ้าระวัง และตรวจสอบอาหารและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับอาหารด้วยตนเองได้ 3. มีร้านอาหาร แผงลอย และรถเข็นที่ผ่านการตรวจประเมินคุณภาพด้านกายภาพ 4. ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย และรถเข็น ได้รับการจัดระบบและขึ้นทะเบียน โดยการมีป้ายและบัตรผู้สัมผัสอาหาร 5. ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอย และรถเข็น ได้รับการส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น 6. ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือในการเลิกใช้โฟมบรรจุอาหาร และผู้บริโภคมีความตระหนักถึงอันตรายของโฟม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2560 10:53 น.