กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตำบลต้นแบบปลอดบุหรี่
รหัสโครงการ 64-L5273-1-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 พฤษภาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 51,975.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา นิยมเดชา
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 พ.ค. 2564 15 ก.ย. 2564 51,975.00
รวมงบประมาณ 51,975.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันคนไทยตกเป็นเหยื่อของบุหรี่ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้สูบ จำนวนคนไทยที่สูบบุหรี่ทั้งสิ่้นประมาณ 10 ล้านคน ชายไทยสูบบุหรี่ร้อยละ 37.2 และหญิงไทยร้อยละ 2.2 สูบบุหรี่ แม้จะมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ แต่ก็ยังมีผู้ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในสถานที่ ที่ห้ามสูบบุหรี่ ในสัดส่วนที่สูงโดยตลอด และปัจจุบันควันบุหรี่ในอากาศรอบตัวเราประกอบด้วยควันบุหรี่ที่เกิดจากการเฝาไหม้ของบุหรี่ ระหว่างผู้สูบบุหรี่ ประมาณร้อยละ 85 และควันบุหรี่ที่ผู้สูบบุหรี่ฟ่นออกมาภายหลังจากการดูดควันบุหรี่เข้าปอดแล้วประมาณร้อยละ 15 ควันบุหรี่ในอากาศประกอบด้วยสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายฯ พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้สถานที่ราชการทุกแห่ง เป็นเขตปลอดบุหรี่ 100% ปีงบประมาณ 2564 ผลการสำรวจข้อมูลประชากร 15 ปีขึ้นไปของตำบลฉลุง ทั้งหมด 5,299 คน ถึงแม้ว่าประชากรสูบบุหรี่น้อยกว่าจำนวนผู้ไม่สูบบุหรี่ แต่อันตรายของบุหรี่ มีมาก และเป็นปัจจัยที่เสริมทำให้โรคแทรกซ้อน ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันและโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้ ซึ่งผลกระทบส่งผลร้อยต่อตัวผู้สูบเอง ครอบครัว และบุคคลใกล้ชิด การสนับสนุนกิจกรรมตำบลฉลุง ให้เป็นตำบลต้นแบบปลอดบุหรี่อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องขับเคลื่อนภารกิจ ทั้งการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ การช่วยเลิกแก่กลุ่มเสพติดบุหรี่ และการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการตำบลต้นแบบปลอดบุหรี่ ปี พ.ศ. 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1.เพื่อให้คลินิกเลิกบุหรี่ รพ.สต.ฉลุง ได้รับการพัฒนาและดำเนินการอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง

ร้อย 100 ของบุคลากร ได้รับการพัฒนาและเปิดคลินิกเลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่อง

0.00
2 ข้อ 1.เพื่อให้คลินิกเลิกบุหรี่ รพ.สต.ฉลุง ได้รับการพัฒนาและดำเนินการอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง

ร้อย 100 ของบุคลากร ได้รับการพัฒนาและเปิดคลินิกเลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่อง

0.00
3 ข้อ 2.เพื่อให้กลุ่มที่เสพติดบุหรี่เลิกบุหรี่ได้เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 50 ของกลุ่มติดบุหรี่ สามารถเลิกบุหรี่ได้

0.00
4 ข้อ 3. เพื่อสร้างแกนนำเด็กและเยาวชนห่างไกลบุหรี่

เกิดกลุ่ม Chalung kids รุ่นที่ 2

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ข้อ 1.เพื่อให้คลินิกเลิกบุหรี่ รพ.สต.ฉลุง ได้รับการพัฒนาและดำเนินการอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ข้อ 1.เพื่อให้คลินิกเลิกบุหรี่ รพ.สต.ฉลุง ได้รับการพัฒนาและดำเนินการอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : ข้อ 2.เพื่อให้กลุ่มที่เสพติดบุหรี่เลิกบุหรี่ได้เพิ่มขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : ข้อ 3. เพื่อสร้างแกนนำเด็กและเยาวชนห่างไกลบุหรี่

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

20 พ.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 0.00 51,975.00 -
20 พ.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 จัดประชุม คกก.บริหาร 30.00 11,700.00 -
1 ก.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 จัดกิจกรรมช่วยเลิกบุหรี่ในพื้นที่ 210.00 5,250.00 -
1 ก.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 จัดพื้นที่ปลอดบุหรี่ 0.00 6,000.00 -
1 ก.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันนักสูบบุหรี่ 50.00 1,000.00 -
1 ก.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 จัดอบรมแกนนำเด็กและเยาวชน 50.00 22,025.00 -
31 ส.ค. 64 การมอบเกียรติบัตร 50.00 6,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอรับความเห็นชอบและอนุมัติ 2.ประสาน รพ.หาดใหญ่ พัฒนาศักยภาพบุคลากร ของ รพ.สต. โดยจัดส่งบุคลากรทุกคน ฝึกทักษะ เรียนรู้หน้างานเกี่ยวกับทักษะช่วยเลิกบุหรี่ 3.จัดเตรียม อุปกรณ์ จัดซื้่อยาและเวชภัณฑ์ช่วยเลิกบุหรี่ 4.จัดประชุมคณะกรรมการบริหาร รพ.สต. เพื่อวางแผนและออกแบบการลงทำกิจกรรม ช่วยเลิก กิจกรรมสร้างพื่้นที่ปลอดบุหรี่ในชุมชน จัดทุก 3 เดือน 5.การประชาสัมพันธ์ และออกดำเนินการตามการช่วยเลิกในมัสยิด และพื่้นที่หมู่บ้าน หมู่ละ 2 ครั้ง พร้อมส่งต่อ เข้าคลินิกช่วยเลิกบุหรี่ใน รพ.สต. 6.การส่งต่อผู้สมัครใจเลิกบุหรี่ให้ อสม. ติดตามเสริมพลัง ให้กำลังใจช่วยเลิก 7.การประชาสัมพันธ์ เชิญชวนเด็กและเยาวชน เข้าร่วมอบรมแกนนำ กลุ่ม Chalung kids รุ่นที่ 2 จำนวน 50 คน 8.จัดอบรมพัฒนาแกนนำเด็กและเยาวชน ให้ความรู้ความเข้าใจ พิษภัยของบุหรี่ โดยจัดอบรมในวันหยุด จำนวน 4 ครั้ง 9.สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของ chalung kids เช่น การรณรงค์ติดป้ายร้านน้ำชา การช่วยสนับสนุนพื้นที่ปลอดบุหรี่ ในงานบุญ งานประเพณีต่าง ๆ 10.จัดกิจกรรมรณรงค์เรื่องบุหรี่ วันงดสูบบุหรี่โลก และในวันสำคัญต่าง ๆ ของชุมชน 11.ติดตามเยี่ยม เฝ้าระวัง การจัดฟื้นที่ปลอดบุหรี่ ในร้านน้ำชา แผงลอยจำหน่ายอาหาร 12.ประเมินผลการดำเนินงาน ทุก 3 เดือน 13.สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ตำบลฉลุงเป็นตำบลต้นแบบปลอดบุหรี่อย่างยั่งยืน 2.โรงพยาบาลส่งเสริมสขุาภาพตำบลฉลุงมีคลินิกช่วยเลิกบุหรี่ และมีบริการอย่างต่อเนื่อง 3.จำนวนการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนลดลง 4.เกิดกลุ่ม Chalung kids ที่ไม่สูบบุหรี่และมีการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมปลอดบุหรี่ของตำบลฉลุง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2564 17:21 น.