กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพทีมเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง
รหัสโครงการ 64-L5273-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ 1
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 พฤษภาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 12,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอปิอ๊ะ มูเก็ม
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 พ.ค. 2564 31 ส.ค. 2564 12,400.00
รวมงบประมาณ 12,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในเขตพืนที่ตำบลฉลุง มีผู้สูงอายุทั้งหมด 883 คน เป็นผู้สูงอายุติดเตียง 6 คน ติดบ้าน 16 คน จากการลงพื้นที่ในปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่าผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการที่ไม่ดี มีสุขลักษณะที่ไม่เหมาะสม ขาดการดูแลสุขภาพที่ดีและมีความยากลำบากในการเข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการ เนื่องจากสภาพครอบครัวที่มีสถานะทางการเงินในระดับปานกลางถึงยากจน ลูกหลานต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ทำให้ปัจจุบันผู้สูงอายุส่วนใหญ่ถูกทอดทิ้งให้อยู่เพียงลำพัง บางครั้งทำให้ผู้ป่วยมีการดำเนินของโรคมากยิ่งข้น และเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา ซึ่งหากจะให้มีการอบรมพัฒนาศักยภาพทีมเยี่ยมการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงสำหรับผู้ดูแลก็ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากไม่สามารถทอดทิ้งผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะติดเตียงไว้เพียงลำพังได้ โดยการเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามและดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้าน ติดเตียงและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ อสม.ในพื้นที่ต้องลงพื่้นที่ให้บริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้านฯลฯ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1.เพื่อพัฒนาด้านองค์ความรู้และทักษะของ อสม.ในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง

ประเมินความรู้หลังอบรมเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

0.00
2 ข้อ 2.เพื่อเป็นการบริการเชิงรุกโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ชุมชนได้รับบริการเชิงรุกโดยคนในชุมชน

0.00
3 ข้อ 3.เพื่อให้บริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก แก่ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง

ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้ัรับบริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก ร้อยละ 80

0.00
4 ข้อ 4.เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของการเจ็บป่วยจากโรคเรื้องรัง

ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง มีการลดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ร้อยละ 80

0.00
5 ข้อ 5.เพื่อค้นหาปัญหาและส่งต่อข้อมูลให้กับหน่วยงานภาคีเครือข่ายของรัฐในการดำเนินงานแก้ไขปัญหา

ทราบถึงปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 64มิ.ย. 64ก.ค. 64ส.ค. 64
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้(20 พ.ค. 2564-31 ส.ค. 2564) 12,400.00        
รวม 12,400.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 12,400.00 0 0.00
20 พ.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 การอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ 50 12,400.00 -

1.ขั้นตอนวางแผนงาน 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ 3.ขั้นตอนการดำเนินงาน
-กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม. ประสานวิทยากรบรรยาย ประสาน อสม. ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรม จัดเตรียมวัสดุในการจัดกิจกรรม ดำเนินการจัดอบรมตามโครงการ -กิจกรรมที่ 2 ลงพื้นที่ดำเนินงานในชุมชน สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มเพื่อจัดตารางออกเยี่ยม จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเยี่ยม ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน ร่วมกับ CG และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ฉลุงและภาคีเครือข่าย ตามตารางหรือปรับตามความเหมาะสม 4.ประเมินผลการดำเนินงาน 5.สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.ได้รับการพัฒนาด้านองค์ความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง 2.ชุมชนมีส่วนร่วมในการลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 3.ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ได้รับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องและต่อเนื่อง 4.ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ได้รับการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 5.ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มเป้าหมายไม่ถูกทอดทิ้งได้รับการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2564 17:37 น.