กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลใส่ใจสตรีตะลุโบะตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L3011-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ
วันที่อนุมัติ 25 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหวันมูฮำมัดรุสดี เจะอาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.853,101.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 225 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งแต่ละปีจะมีผู้ป่วนโรคมะเร็งรายใหม่ประมาณ ๑๑ ล้านคนและตายจากโรคมะเร็ง ๗ ล้านคน โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกสามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะแรกการป้องที่ดีที่สุดคือการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนักการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและการป้องกันตนเองในระยะแรกเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพตลอดจนลดอัตราป่วยและอัตราตายของสตรีจากโรคมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูกในประเทศที่กำลังพัฒนา จะพบมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มสูงตามไปด้วยองค์การอนามัยโลกได้ประมาณ อัตราการเพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 2เท่าของปัจจุบันสถานการณ์ของโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของโลก โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาในประเทศไทยโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่าง 45-50 ปี จากเหตุผลเบื้องต้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดการดำเนินงานควบคุมแล้ป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นงานหลักให้กับทุกสถานบริการเร่งรัดการดำเนินการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 30 - 60 ปี ในปี 2559 ซึ่งในปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ ได้ดำเนินการตามนโยบาย และจากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ พบปัญหาในการดำเนินงาน เป็นการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมายยากมาก เพราะประชาชน ยังไม่ตระหนักถึงความอันตรายของโรค มีความอายในการมาตรวจ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ ตระหนักถึงปัญหาและเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเนื่องจากสามารถรักษาได้ หากตรวจพบในระยะเริ่มแรก จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก โดยดึงพลังแกนนำ ของประชาชนทุกภาคส่วนเช่น อสม. แกนนำสุขภาพ กลุ่มสตรี มาร่วมดำเนินงานโดยมุ่งหวังความสำเร็จให้สุขภาพของประชาชน พ้นจากมะเร็งปากมดลูกตลอดจนการฝึกทักษะวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และแนวคิดในการทำงานให้กับ อสม. ตลอดจนฝึกการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย ระหว่างเจ้าหน้าที่และอสม. ในแต่ละหมู่บ้านซึ่งจะสามารถให้ อสม. ซึ่งเป็นเครือข่ายด้านสุขภาพที่สำคัญได้เป็นพลังสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของตนเอง มีการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง และมาตรวจมะเร็งปากมดลูกเพิ่มมากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดโรคให้ครอบคลุมจำนวนประชากรที่รับผิดชอบ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกแก่สตรี

1.ร้อยละ 80 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกแก่สตรี

2 ข้อที่ 2 เพื่อสนับสนุนให้ อาสาสมัครสาธารณสุขหญิงและแกนนำสตรีมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและมีทักษะในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมที่ถูกต้องและสามารถนำไปเผยแพร่ในชุมชนได้
  1. ร้อยละ 90 ของอาสาสมัครสาธารณสุขหญิงและแกนนำสตรีมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและมีทักษะในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมที่ถูกต้องและสามารถนำไปเผยแพร่ในชุมชนได้
3 3 เพื่อให้สตรีอายุ 35 ปีขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้องอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง

1.ร้อยละ 95ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้องอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง

4 4.เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีPapSmear ร้อยละ 20

1.ร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีPapSmear

5 5เพื่อให้สตรีที่เป็นมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมในระยะแรกเริ่มมีโอกาสรักษา หายขาดเป็นการลดการสูญเสียงบประมาณค่าใช้จ่ายและเวลาในการรักษาร้อยละ 80

1.ร้อยละ 80ของกลุ่มเป้าหมายหายขาดเป็นการลดการสูญเสียงบประมาณค่าใช้จ่ายและเวลาในการรักษา

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1รวบรวมข้อมูลปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 1.2วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานรณรงค์ฯ 1.3ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ

- ขอรับการสนับสนุนสื่อโปสเตอร์จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองปัตตานี - ขอสนับสนุนการตรวจเพื่อค้นหาเซลล์มะเร็งทางห้องปฏิบัติการจากโรงพยาบาลปัตตานี 2. ขั้นดำเนินงาน 2.1 รวบรวมข้อมูลสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ขึ้นไป จำนวน 1482คนและกลุ่มอายุ 35ปี ขึ้นไปในเขตตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีจำนวน 1483 คน -๓- 2.2จัดทำโครงการ ฯ 2.3จัดอบรมกลุ่มเป้าหมายให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ๓ รุ่นๆละ จำนวน75คน 2.4รณรงค์ให้กลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะหรือโรงพยาบาลปัตตานี 2.5แบ่งพื้นที่ ละแวกให้เจ้าหน้าที่และอสม. ออกติดตามกลุ่มเป้าหมาย 2.6ให้บริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีPap smearโดยเจ้าหน้าที่จากรพ.สต.ตะลุโบะ ตามแผน 2.7ให้บริการตรวจถึงที่บ้านในรายที่ไม่ยอมมารับการตรวจที่สถานบริการ 2.8ติดตามผลการตรวจคัดกรองพร้อมทั้งรายงานผลการตรวจ 2.9ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจผิดปกติเพื่อรับการรักษา 3. ขั้นประเมินผล -จากข้อมูลรายงานการตรวจเต้านมด้วยตนเองและรายงานการตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก -นิเทศติดตามผลการดำเนินงานของเครือข่าย -สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบได้รับความรู้และสามารถตรวจมะเร็งเต้านมได้ด้วยตนเองและถูกต้อง 2.ร้อยละ 20 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีPap Smear จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือบุคลากรทางการแพทย์ 3.ร้อยละ 80 ของสตรีที่มีผลการตรวจคัดกรองผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง 4.ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของภาครัฐ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2559 14:08 น.