กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนบ้านท่าโต๊ะเมฆ
รหัสโครงการ 64-L1466-5-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านท่าโต๊ะเมฆ
วันที่อนุมัติ 21 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 28,660.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกุสุมา มโนภิรมย์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.326,99.466place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 116 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลกใน 38 ประเทศ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 26 กุมภาพันธ์ 2563 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 80,427 ราย เสียชีวิต 2,712 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 77,666 ราย เสียชีวิต 2,664 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 16 ราย กลับบ้านแล้ว 24 ราย คิดเป็นร้อยละ 60 ของผู้ป่วยในประเทศไทย รวมสะสม 40 ราย (ข้อมูลจาก : รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าว โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563)
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านท่าโต๊ะเมฆ     โรงเรียนบ้านท่าโต๊ะเมฆ จึงต้องมีการมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค ในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านท่าโต๊ะเมฆ

นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ในการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียนบ้านท่าโต๊ะเมฆ

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการป้องกันตนเองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการป้องกันตนเองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการควบคุมโรค

นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการควบคุมโรค

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.นาเกลือ 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. รณรงค์เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ดำเนินการผลิตสื่อ ประชาสัมพันธ์เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษารับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ 2. จัดอบรม ให้ความรู้กับนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
3. สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข       4. การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 5. ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาทราบเป็นระยะ       6. สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้ 2. นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้การป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ 3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2564 11:54 น.