กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร
รหัสโครงการ 6050118225
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านนาท่าม
วันที่อนุมัติ 17 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจำรัสช่วยออก
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่าม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.635,99.551place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 ส.ค. 2560 30 ก.ย. 2560 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลนาท่ามใต้ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม มีพื้นที่ในการเกษตร ร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ในพื้นที่ทำนา ทำไร่ ทำสวย ผลไม้และสวนยางพารา ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรง และสูงอยู่ และจากการตรวจเลือดเกษตรกรปี 2560 มีจำนวนผู้รับการตรวจ จำนวน 100 คน จากที่กำหนดเป้าหมาย 120 คน พบว่ามีผลกาตรวจ ไม่ปลอดภัย จำนวน 1 คนเสี่ยง 17 คนและปลอดภัย จำนวน 82 คนและทางเกษตรกรในบ้านนาท่าม ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธี และขาดควารู้จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรที่มีผลต่อสุขภาพ

ทราบผลปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรที่มีผลต่อสุขภาพ

2 2.เพื่อเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของเกษตรกร

ทราบผลสุขภาวะของเกษตรกร

3 3.เพื่อให้เกษตรกรเกิดความรู้และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้อง

เกษตรกรเกิดความรู้และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประุชม อสม. เพื่อร่วมกำหนดแผนงานการลงปฏิบัติในพื้นที่
  2. จัดประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัดวันเวลาและสถานที่ในการตรวจโดยทีมอสม.
  3. เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโดยการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส
  4. ประสานกับหมู่บ้านในพื้นที เพื่อเตรียมการและวางแผนการดำเนินงานตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง
  5. ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุมเกษตรกร ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย
  6. แจ้งผลการตรวจพร้อมคำแนะนำที่ถูกต้องของการดูแลสุขภาพ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของงเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในบ้านนาท่าม 2.เพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมโรคจาการประกอบอาชีพของเกษตรกร 3.เกษตรกรมีความรู้ในการปลูกพืชปลอดสารพิษ และวิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2560 08:52 น.