กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L5187-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลสะพานไม้แก่น
วันที่อนุมัติ 25 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,140.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธนาพัฒน์ หัดเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.826,100.783place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของตำบลสะพานไม้แก่น และแพร่ระบาดได้รวดเร็ว เนื่องจากมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีการะบาดตลอดปีและพบมาในฤดูฝน จากการสำรวจข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมา พบว่าประชากรส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมไปถึงการดูแลสภาพแวดล้อมทางกายภาพส่งผลให้อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกไม่ลดลง ซึ่งเป็นดรคที่พบบ่อยและเป็นอันตรายแก่ชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดให้มีโครงการประชาร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออกขึ้น เพื่อฝห้ประชาชนในเขตตำบลสะพานไม้แก่น มีความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและจัดการหับปัญหา ก่อให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ปัญหาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของตำบลสะพานไม้แก่น

จำนวนประชากรในพื้นที่ตำบลสะพานไม้แก่นมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ปลอดโรคภัย

2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรค และวิธีการควบคุมโรคไข้เลือดออกมากกว่าร้อยละ 70

จำนวนประชาชนมีความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการอบรมในครั้งนี้

3 เพื่อสร้างความร่วมมือในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางภายภาพ ชีวภาพและเคมี

จำนวนประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดบ้านเรือน กำจัดลูกน้ำยุงลาย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 33,140.00 1 28,140.00
8 ธ.ค. 60 อบรมให้ความรู้กับประชาชนและอสม. 0 5,000.00 -
8 ธ.ค. 60 รณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เพื่อให้ตระหนักถึงความสะอาดของบ้านเรือน 0 28,140.00 28,140.00

ขั้นเตรียมการ 1. ระดมความคิด อสม. และแกนนำชุมชนเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกที่สอดคล้องเหมาะสมกับชุมชน 2. เขียนโครงการนำเสนอ 3. ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ อสม. แกนนำชุมชน ฯลฯ 4. ประสนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต. เทศบาล โรงเรียน และอื่นๆ ขั้นดำเนินการ 1.อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือกออก แก่ อสม. เพื่อเป็นแกนนำด้านการป้องกันและควบคุมโรคให้แประชาชนในหมู่บ้าน 2. ให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่ผู้นำนักเรียนในโรงเรียน เพ่อเป็นแกนนำด้านการป้องกันและควบคุมโรคให้แก่เพื่อนนักเรียน และเป็นแบบอย่างของชุมชน 3. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนผ่านหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน โดยอสม.และผู้นำชุมชน 4. จัดทำเอกสารแผ่นพับโรคไข้เลือดออกจากประชาชนในหมู่บ้านและโรงเรียน 5. อสม.ดำเนินการสำรวจ,ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ,แจกทรายทีมีฟอส แจกโลชั่นกันยุงและส่งรายงานทุกเดือน 6. รณรงค์ด้านกายภาพโยการทำงานแหล่งพันธุ์ยุงและการพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัยในหมู่บ้านและโรงเรียน 7. ติดตามและสรุปผลการดำเนินการ ขั้นประเมินผล ประเมินผลการดำเนินงานจาก - อัตราป่วยไข้เลือดออก ตำบลสะพานไม้แก่น - ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคและวิธีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการดำเนินการในการควบคุมโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2560 10:10 น.