กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเปลี่ยนขยะแลกไข่ อิ่มท้อง อิ่มใจ พัฒนาสิ่งแวดล้อม
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 3
วันที่อนุมัติ 1 สิงหาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 48,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 3
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักแต้ว อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการแก้ไขกันอย่างเต็มความสามารถเพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนทุกระดับและนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรตลอดจนพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของคนเราได้เปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยใช้ตะกร้าเวลาไปจ่ายตลาดใช้ปิ่นโตใส่อาหารใช้ใบบัวหรือใบตองห่ออาหารแต่ปุจจุบันมีการใช้สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์จำพวกพลาสติก โฟมแก้ว กระดาษโลหะ อลูมิเนียมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดมูลฝอยสูงขึ้นตามไปด้วยผลกระทบที่ตามมามีทั้งความสูญเสียทางด้านสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำดินเสื่อมสภาพความเสียหายจากเหตุรำคาญส่งกลิ่นเหม็นรบกวนรวมถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหนะนำโรคเสียหายต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งประชาชนยังให้ความสนใจในการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพอนามัยไม่ดีเท่าที่ควรประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยมักจะอยู่ในกลุ่มที่มีสถานะทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีพอ จึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อทางอาหารและน้ำ เช่น โรคอุจจาระร่วง บิด อาหารเป็นพิษ ไทฟอยด์ และโรคที่เกิดจากสัตว์นำโรค เช่น โรคไข้เลือดออก ปัญหาการเกิดโรคในชุมชนประกอบด้วยองค์ประกอบหลายด้าน เช่นสภาพแวดล้อมไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรคและที่อยู่อาศัยสัตว์นำโรคกระจายอยู่ทั่วไป ประกอบหน้าฝนถ้าชุมชนไม่มีความตระหนักและช่วยกันดูแลสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดีจะทำให้ทั้งในบริเวณถนนภายในหมู่บ้านในบริเวณบ้านมีต้นหญ้าวัชพืชขึ้นรกมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดที่นำโดยแมลงตามมา เช่น โรคไข้เลือดออก จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการเพื่อเตรียมความพร้อมของชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมคิดหาแนวทาง สร้างแบบแผนการปฏิบัติร่วมกัน เพื่อรักษาสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมป้องกันการเกิดโรคติดต่อในชุมชนและลดอัตราป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารและโรคที่แมลงและสัตว์เป็นพาหะนำโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ ผ่านรักษาสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาสภาพแวดล้อม ดูจากความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน โครงการรู้จักดัดแปลงประโยชน์จากขยะ

100.00 0.00
2 2.เพื่อรักษาสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาสภาพแวดล้อม ดูจากความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน

0.00
3 3.เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยสัตว์และแมลงเป็นสื่อ

หมู่บ้านสะอาดปราศจากโรค และอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อลดลง

0.00
4 4.เพื่อความสะอาดเป็นระเบียบสวยงามในชุมชน

หมู่บ้านสะอาด และเป็นต้นแบบหมู่บ้านอื่นๆ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 48,200.00 0 0.00
1 - 15 ส.ค. 64 ขั้นเตรียมการ 0 8,000.00 -
1 - 31 ส.ค. 64 ขยะแลกไข่ 0 20,000.00 -
16 ส.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ขั้นดำเนินงาน 0 20,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะโดยคัดแยกออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะอันตรายและการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท 2.สภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านดีขึ้น
3.โรคที่เกิดจากแมลงเป็นสื่อ ลดลงจนไม่เป็นปัญหาหรือไม่มีเกิด 4.ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถนำไปขยายใช้ในงานอื่นที่มีลักษณะงานใกล้เคียงกัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2564 00:00 น.