กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการสุขภาพในชุมชนแบบองค์รวม พื้นที่ ม.2,3 และ 4 ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 64-L5290-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาคร
วันที่อนุมัติ 14 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 75,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาด เตาวาโต
พี่เลี้ยงโครงการ นายลิขิต อังศุพานิช
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.787,99.865place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 75,000.00
รวมงบประมาณ 75,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 176 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 125 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสำรวจพบว่า ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาคร มี ปัญหาด้านสุขภาพและมีวิธีดูแลสุขภาพของตนเองและของครอบครัวยังไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ของครอบครัว ได้แก่การเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น โรคไข้หวัด ปวดศีรษะ ปวดขา โรคกระเพาะ ปัญหา โรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาสุขภาพที่มีผลกระทบต่อครอบครัวในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ค่าใช้จ่าย และด้านจิตใจ ซึ่งวิธีการดูแลสุขภาพของครอบครัวเมื่อเกิด การเจ็บป่วย พบว่าครอบครัวส่วนใหญ่ จะทราบวิธีการดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยได้ดี นอกจากนี้ยังมีการ ดูแลสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง จําเป็นต้องพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้เป็นหมอประจำบ้านที่มี ความรู้และมีประสิทธิภาพในการดูแลคนในชุมชน

ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยขาดความรู้ หมดกำลังใจ ท้อแท้ผู้ดูแลขาดความรู้ ความเข้าใจ หรือ ชุมชนขาดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟู การส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนและครอบครัวสามารถดูแล ตนเองได้และมีระบบการเฝ้าระวัง ดูแลปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน เพื่อลดอันตรายหรือเพื่อลดความพิการที่ อาจเกิดขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาครจำนวนหมู่บ้านรับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน จำนวนประชากร 3,412 คน มีบุคลากรสาธารณสุข 7 คน เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาคร 1 คน นักวิชาการสาธารณสุข 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 3 คน นักวิชาการทันตสาธารณสุข 1 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ จํานวน 6 คน อสม. 73 คน โรงเรียน 3 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6 แห่ง ข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการมีดังนี้ ผู้พิการ จํานวน 170 คน ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 26 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 165 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน ผู้สูงอายุที่ (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาคร, 2563) มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว จำนวน 7 คน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการโครงการจัดการสุขภาพใน ชุมชนแบบองค์รวมพื้นที่ ม.23 และ 4 ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปี 2561 ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้กลุ่ม วัยต่างๆในพื้นที่มีความใส่ใจด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ส่งเสริมความรู้และทักษะสุขภาพ ควบคู่ความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

 

0.00
2 2. เพื่อเสริมสร้างทักษะสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง

 

0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมทักษะการเลือกบริโภคสินค้าในชุมชน

 

0.00
4 4. เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและการปฏิบัติตัวก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

 

0.00
5 5. เพื่อเสริมทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพในเด็กนักเรียน

 

0.00
6 6. เพื่อชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ก่อให้เกิดแหล่งรังโรคในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 543 75,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 1. กิจกรรม ใส่ใจด้านการบริโภคสินค้าในชุมชน 73 10,500.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 2. กิจกรรมให้บริการสุขภาพและเสริมสร้างทักษะสุขภาพแก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน 125 12,500.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 3. กิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุ 100 12,000.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 4.กิจกรรมหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสียงลดโรคด้วยหลัก 3อ2ส 65 11,000.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 5.กิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อม/จัดเก็บขยะในชุมชน/ทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ ในพื้นที่ หมู่ที่ 2,3 และ ม.4 ตำบลสาคร จํานวน 2 ครั้ง 80 16,500.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 6. กิจกรรมเสริมสร้างทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพในเด็กนักเรียน 100 12,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  2. กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังมีทักษะสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  3. ประชาชนมีทักษะการเลือกบริโภคสินค้าในชุมชน
  4. ผู้ก้าวย่างเข้าสู่วัยผู้สูงอายุมีการเตรียมความพร้อมและมีทักษะสุขภาพก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
  5. เด็กนักเรียนมีทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพ
  6. ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ก่อให้เกิดแหล่งรังโรคในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564 12:53 น.