กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การป้องกันการแพร่ระบาดโรคเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด ๑๙ ) ศพด.บ้านมะนังปันยัง
รหัสโครงการ 64-L2515-3-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านมะนังปันยัง
วันที่อนุมัติ 30 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 6,815.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุไฮลา นิจิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.423,101.587place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การแพร่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019”เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์สที่ระบาดเมื่อปี ๒๕๔๕ ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสพและมีภาวะแทรกซ้อนพบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้ว่าเป็นเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ ๗ ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคชาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS)
เพื่อเป็นป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) มาตรการที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมลภาวะและไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงหน้ากากอนามัย และการล้างมือเพื่อป้องกันโรค ไม่เฉพาะโรคติดต่อเชื้อไวรัสโดโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) เท่านั้น รวมถึงโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจึงเห็นควรให้มีการบูรณาการความร่วมมือจัดให้มีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยงาน สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของ องค์การบริหารส่วนตำบลสามัคคี การแพร่ระบาดรอบนี้ มีที่มาจากคลัสเตอร์ทองหล่อ และใหม่ล่าสุดเกิดคลัสเตอร์มัรกัสยะลา มัรกัสยี่งอ มัสกัสท่าเรือ มัรกัสกะลุบี คลัสเตอร์ตลาดนัด คลัสเตอร์โรงงานอุตสาหกรรม และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน ส่งผลกระทบต่อการเปิดเทอม การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านมะนังปันยัง เปิดทำการสอนชั้นเตรี่ยมความพร้อมก่อนอนุบาล ดังนั้นกังวลที่จะได้รับผลกระทบจากโรคติดต่อทางเดินหายใจเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด ๑๙) เนื่องจากนักเรียนวัย ๑- ๓ ขวบ เป็นวัยที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ การป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับนักเรียนและครูผู้สอน ในสถานการณ์ที่โควิด ๑๙ กำลังระบาดอย่างแพร่หลายไปทั่ว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำเป็นจะต้องวางแผนงานป้องกันเพื่อรองรับการเปิดภาคเรียนในภาคเรียนที่ ๑/๒๕๖๔ ที่จะมีขึ้นในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เลื่อนเป็น ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๔ และเลื่อนมาเป็น ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ตามมติของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิดจังหวัดนราธิวาส เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด ๑๙  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านมะนังปันยัง จึงขอเสนอโครงการการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโรคโคโรนาจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสามัคคี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาในบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๒.เพื่อให้ครูและนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙(COVID-๑๙) และสามารถป้องกันได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแพร่ระบาดและวิธีการป้องกันโรค ๒.จัดหาวัสดุเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ๓.ก่อนขั้นเรียนดำเนินการตรวจคัดกรองนักเรียนทุกคน ทำการวัดไข้ ล้างมือ สวมหน้ากากทุกครั้ง ๔.ประเมินผลการดำเนินงานและสังเกตพฤติกรรมนักเรียนก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียน ๕.สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ เสนอต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพประจำองค์การ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ทำให้เด็กวัย ๒ – ๔ ปีมีสุขภาพแข็งแรง ปลอดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจไวรัสโคโรนา รู้จักป้องกันตัวเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2564 11:49 น.