กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมมือร่วมใจ กำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันภัยร้าย ไข้เลือดออกในโรงเรียน
รหัสโครงการ 60-L1506-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านทอนพลา
วันที่อนุมัติ 20 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 สิงหาคม 2560 - 25 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านทอนพลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาชุมเห็ด อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.477,99.822place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ และมีอันตรายถึงแก่ชีวิต ซึ่งได้สร้างความสูญเสียทั้งชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด แต่ยังพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยากระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน ๖๓,๓๑๐ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๙๖.๗๖ ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน๖๑ ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ ๐.๑๐ จังหวัดตรัง มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙ จำนวน ๗๗๗ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑๒๑.๒๖ ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน ๓ ราย อัตราป่วยตายร้อยละ ๐.๓๙ซึ่งอยู่ในลำดับที่ ๑๙ ของประเทศ ซึ่งอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายอำเภอในพื้นที่จังหวัดตรัง ปี ๒๕๕๙ อำเภอย่านตาขาวอยู่ในอันดับที่ ๓ มีอัตราป่วย ๑๗๕.๔๕ ต่อแสนประชากร ตำบลนาชุมเห็ดเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ไม่พบผู้ป่วยตาย ซึ่งการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงฤดูฝน คือตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม ของทุกปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทอนพลา ได้เล็งเห็นปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้ ครู นักเรียนในโรงเรียนในเขตรับผิดชอบทั้ง ๒ โรงเรียน ได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน พร้อมทั้งร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาของโรคไข้เลือดออก โดยเน้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ครู นักเรียน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้นักเรียนในพื้นที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ให้เหลือไม่เกิน ๕๐ต่อแสนประชากร

๑. อัตราป่วยของนักเรียนในโรงเรียนด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปีที่ผ่านมา

2 ๒. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน

๒. ไม่เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ

3 ๓. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
  1. นักเรียนในโรงเรียนตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
  2. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ ๒. รณรงค์โดยการประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวของโรงเรียน ๓. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้นักเรียนร่วมกับ ทางโรงเรียนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ๔. รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงลายโดยวิธี ๔.๑ ทางกายภาพรณรงค์ให้โรงเรียน ร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่เพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียน ๔.๒ ใช้สารเคมีใส่สารเคมีทรายอะเบทในโรงเรียนโดย อสม. และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย ๔.๓ ทางชีวภาพสนับสนุนให้โรงเรียนปลูกพืชไล่ยุงเช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น
ปลาหางนกยูง ๕. จัดกิจกรรม BIG CLEANING DAY ในโรงเรียนทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ ๖. สำรวจค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนทุกเดือน โดยเจ้าหน้าที่และ อสม. ๗. ดำเนินการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก เมื่อพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นในพื้นที่ ๘. สรุปผลการดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อัตราป่วยของนักเรียนในโรงเรียนด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปีที่ผ่านมา ๒. ไม่เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ ๓. นักเรียนในโรงเรียนตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ๔. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2560 13:37 น.