กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพวัยเด็ก เด็กน้อยสุขภาพดี มีภูมิคุ้มกันโรค ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L8423-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 19,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมาซีเต๊าะ สูแน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศชาติบ้านเมืองจะเจริญก้าวหน้าในทุกด้านได้นั้น ปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่ความเจริญ มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนอยู่ที่การพัฒนากำลังคนให้เป็นบุคคลซึ่งมีคุณภาพ ประสิทธิภาพสามารถเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมต่างๆได้ ยกระดับความสามารถของคนให้สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆได้ด้วยความราบรื่น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การพัฒนาคุณภาพคนในที่นี้รวมไปถึงการพัฒนาคนในด้านสุขภาวะ สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นของคุณภาพชีวิตที่ดี การมีสุขภาพดีเป็นที่มาของความพร้อมที่จะเดินก้าวไปข้างหน้า เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความพร้อมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงเป็นสิ่งบ่งบอกถึงความพร้อมไปสู่การดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข หากร่างกายพร้อม ใจพร้อมซึ่งหมายถึงร่างกายมีสุขภาพที่ดี ไม่มีโรค สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ประกอบกับสุขภาพจิตที่ไม่มีโรค ไม่เครียดก็จะทำให้การเดินไปสู่การขับเคลื่อนทุกการงานต่อไปดำเนินไปได้ สุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกที่ต้องมุ่งแก้ไขและพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไป สู่จุดมุ่งหมายในการยกระดับความรู้ ความสามารถให้ประชาชนพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้  การสร้างภูมิคุ้มกันโรคแก่ร่างกายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวดไม่ลดหย่อนไปกว่ากัน การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคมีความสำคัญที่จะเป็นตัวป้องกันการเกิดโรคในอนาคต ซึ่งแน่นอนที่สุดการป้องกันย่อมจะดีกว่าการรักษาในภายหลังการเกิดโรคไม่ว่าจะด้วยทฤษฎีทางการแพทย์หรือหลักการของศาสนา แทนที่จะให้เกิดโรคก่อนค่อยคิดหาวิธี หายา หาทางรักษาในภายหลังอาจจะเป็นสิ่งที่สายเกินไปหากเกิดโรคแล้วไม่สามารถรักษาได้ สร้างความเจ็บป่วย ทรมาน รำคาญใจและเสียเงินมากมายซี่งไม่คุ้มค่าต่อผลเสียที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังหากมิได้รับภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายตั้งแต่เนิ่นๆโดยการฉีดวัคซีน ตามทฤษฎีทางการแพทย์แล้ววัคซีนเป็นสารที่เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปแล้วจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน(แอนติบอดี)ขึ้น วัคซีนอาจทำมาจากเชื้อโรคที่ตายแล้ว หรือเชื้อโรคที่อ่อนฤทธิ์ลง หรืออาจจะทำมาจากพิษของเชื้อโรค ที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลงแล้ว  แอนติบอดีจะเป็นตัวป้องกันการเกิดโรคของร่างกายได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรคแก่ร่างกายซึ่งสามารถป้องกันโรคได้ 8 ชนิด ดังนี้ วัณโรค ตับอักเสบบี คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ หัดและไข้สมองอักเสบซึ่งวัคซีนป้องกันโรคแต่ละตัวแต่ละชนิดควรได้รับตามช่วงอายุที่กำหนดและรับครบชุดตามเกณฑ์ เมื่ออายุครบ 5 ปี     ปี 2563 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก ประสบปัญหาเรื่องการรับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่ยังมีกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้รับวัคซีนตามนัดและรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ เกิดการระบาดของโรคหัดทั้งในพื้นที่ รพ.สต.บ้านเจ๊ะเก และในพื้นที่โดยรวมของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาที่มีความสำคัญเนื่องจากเกิดการระบาดและมีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเสียชีวิตด้วยโรคแทรกซ้อนของโรคหัดที่มีสาเหตุมาจากการขาดรับวัคซีน เป็นปัญหาที่ความสำคัญเร่งด่วนของพื้นที่ ที่ต้องเร่งรัดให้มีการฉีดวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้มีความครอบคลุมแต่ก็ยังมีกลุ่มเป้าหมายที่ปฏิเสธวัคซีนและไม่ยินยอมให้มีการฉีดวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุของการขาดความรู้ความเข้าใจ ทั้งองค์ความรู้ในเชิงการแพทย์และองค์ความรู้ในเรื่องหลักการของศาสนาอิสลาม ตลอดจนการขาดความตระหนักของครอบครัวในการพาบุตรหลานมารับวัคซีน เป็นต้น       ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของโครงการส่งเสริมสุขภาพวัยเด็ก เด็กน้อยสุขภาพดี มีภูมิคุ้มกันโรค ปี 2564 เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องความครอบคลุมของการรับวัคซีนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตลอดจนพัฒนากลไกของการดูแลสุขภาพในวัยเด็ก 0-5 ปี ในชุมชน ให้ชุมชนได้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพกลุ่มวัยเด็กในทุกมิติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปีมีภาวะโภชนาการ และการเจริญเติบโตสมวัย

เด็กอายุ 0-5 ปีมีภาวะโภชนาการ และการเจริญเติบโตสมวัย มากกว่าร้อยละ 90

0.00
2 2 เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปีมีพัฒนาการ และการเจริญเติบโตสมวัย

เด็กอายุ 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัย และการเจริญเติบโตสมวัย มากกว่าร้อยละ 90

0.00
3 3 เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบตามเกณฑ์ที่กำหนด

เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบตามเกณฑ์ที่กำหนด มากกว่าร้อยละ 95

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมเจ้าหน้าที่ รพ.สต. พร้อมกับแกนนำสุขภาพในพื้นที่
2. ร่วมกำหนดวิสัยทัศน์และแนวทางในการแก้ไขปัญหา 3. กำหนดแนวทางปฏิบัติ เตรียมความพร้อม

ขั้นดำเนินการ 1. จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาสุขภาพกลุ่มวัยเด็ก 0-5 ปี เพื่อร่วมระดมความเห็นแนวทางในการแก้ปัญหา และการกำหนดทิศทางการแก้ปัญหา 2. จัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์และสามี ตลอดจนผู้ปกครอง 0-5 ปี ในองค์ความรู้เกี่ยวกับการรับวัคซีนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ความสำคัญของการรับวัคซีน ตารางการรับวัคซีน และเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวัคซีนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตลอดจนการดูแลสุขภาพในวัยเด็กทุกมิติ อีกทั้งยังเป็นการอบรมที่สร้างทีมวิทยากรผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปีให้ไปถ่ายทอดองค์ความรู้ในชุมชน 3. จัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาสาสมัครสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายในองค์ความรู้เกี่ยวกับการรับวัคซีนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ความสำคัญของการรับวัคซีน ตารางการรับวัคซีน และเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวัคซีนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตลอดจนการดูแลสุขภาพในวัยเด็กทุกมิติ อีกทั้งยังเป็นการอบรมที่สร้างทีมวิทยากรให้ไปถ่ายทอดองค์ความรู้ในชุมชน 4. จัดให้มีการติดตามการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มวัยเด็ก 0-5 ปีทั้งการติดตามการดำเนินงานเชิงรุก การติดตามการดำเนินงานโดยเครือข่ายในชุมชน และการดำเนินงานในเชิงรับที่สถานบริการสาธารณสุข

ขั้นประเมินผล 1. ประเมินผลตามวัตถุประสงค์โครงการ 2. ประเมินความก้าวหน้าโครงการ 3. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 0-5 ปีมีภาวะโภชนาการ และการเจริญเติบโตสมวัย
  2. เด็กอายุ 0-5 ปีมีพัฒนาการ และการเจริญเติบโตสมวัย
  3. เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบตามเกณฑ์ที่กำหนด
  4. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพเด็กทุกมิติ และมีความตระหนัก ตื่นตัวในการส่งเสริมให้มีการดูแลกลุ่มวัยเด็กให้มีประสิทธิภาพ
  5. ชุมชนมีส่วนร่วม และแสดงบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยเด็กทุกมิติ มีกลไกของการประชาสัมพันธ์ สร้างองค์ความรู้ และส่งเสริมให้มีการดูแลเด็กให้มีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2564 11:19 น.