กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อสม.น้อยสู้ภัย Covid-๑๙ โรงเรียนวัดโคกเหรียง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดโคกเหรียง
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 31,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมพิศ คุณสงค์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 29 มิ.ย. 2564 29 มิ.ย. 2564 31,600.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 31,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 33 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 11 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชกำหนดฉุกเฉิน ฉบับที่ ๓ คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-๑๙) ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่องแนวทางปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓ โดยให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคโดยเคร่งครัด  เนื่องด้วยสถานการณ์การเกิดและระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ( Covid-๑๙ ) พบว่ามีรายงานการระบาดของโรคดังกล่าว เป็นวงกว้างในพื้นที่หลายจังหวัด อีกทั้งมีรายงานการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อ เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่โรงเรียน สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอจึงเห็นชอบมาตรการเร่งด่วน ในการป้องกันวิกฤตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙        ( Covid-๑๙ )ให้สถานศึกษาดำเนินการป้องกันโรคตามมาตรการของกระทรวงสาธารณะสุขอย่างเคร่งครัด เมื่อสถานศึกษากลับมาเปิดสอนตามปกติ ซึ่งการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ( Covid-๑๙ ) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำการเฝ้าดูแล เฝ้าระวัง ป้องกันตนเองให้กับนักเรียนและผู้ปกครองโรงเรียนวัดโคกเหรียง ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดโคกเหรียง มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลนักเรียนจึงต้องมีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ( Covid-๑๙ )ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียนครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้าง ดังนั้นโรงเรียนวัดโคกเหรียงจึงได้จัดทำโครงการ อสม.น้อยสู้ภัย Covid-๑๙ เพื่อควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ( Covid-๑๙ ) ตั้งรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ ( Covid-๑๙ ) ให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนวัดโคกเหรียงเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ( Covid-๑๙ )

๑ เชิงปริมาณ ๑.๑ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖  เข้าร่วมจำนวน 3๓ คน
๑.๒ ครูและบุคลากรของโรงเรียนบ้านปลักคล้า เข้าร่วมจำนวน ๑๑ คน 1.3 คณะวิทยากร จำนวน 3 คน ๑.4 นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนวัดโคกเหรียงทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองโรคและมีวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ( Covid-๑๙ )

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑ สำรวจจำนวนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ ๒ ประชุมชี้แจงและขอความคิดเห็นพร้อมแต่งตั้งผู้ร่วมดำเนินกิจกรรม ๓ จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ( Covid-๑๙ ) ๓.๑ กิจกรรมความรู้สู้โรคโควิด-19
    - จัดซื้อแอลกอฮอล์ 75% และเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ     - จัดกิจกรรมคัดกรองโดย อสม.น้อย เพื่อตอบสนองจำนวน อสม.ที่มีจำนวนที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ และส่งเสริมให้นักเรียนสามารถดูแลและป้องกันตนเองจากโรคต่างๆได้ ๓.๒ จัดทำอ่างล้างมือ ๔ จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ ๕ สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนวัดโคกเหรียงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส   โคโรนา ๒๐๑๙ ( Covid-๑๙ ) ๒ นักเรียนและบุคลากรโรงเรียนวัดโคกเหรียง มีมาตรการและแนวทางปฏิบัติเพื่อทำการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกัน   โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ( Covid-๑๙ )

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2564 12:29 น.