กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดบริการสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 ในปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ L7255-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลเมืองคลองแห
วันที่อนุมัติ 5 กรกฎาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 3,200,698.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคลองแห
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ก.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 3,200,698.00
รวมงบประมาณ 3,200,698.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กลุ่มเป้าหมายได้รับการฉีดวันซีนโควิด-19
5.00
2 อัตราผู้ป่วยด้ายโรคไวรัสโคโรนาในพื้นที่
359.60

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานสถานการณ์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 28มิถุนายน 2564 เวลา 17.00 น.จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยสะสม จำนวน4,127คนอาการรุนแรง จำนวน25คน และมีผู้เสีียชีวิต ทั้งสิ้น 17 คนในอำเภอหาดใหญ่ มีผู้ป่วยสะสมจำนวน1342รายอาการรุนแรง จำนวน10 ราย และมีผู้เสียชีวิตจำนวน8 รายสำหรับตำบลคลองแห พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 143รายกลับบ้านแล้ว88รายกำลังรักษาตัวอยู่ 84 รายและมีผู้เสียชีวิต จำนวน 1ราย ซึ่งเป็นการสัมผัสจากสถานบริการร้านอาหารในเครือญาติและโรงงาน และจากการเดินทางจากพื้นที่เสี่ยง ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น ต้องใช้ความร่วมมือในหลายภาคส่วนในการเฝ้าระวังการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง และได้ส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็วแม้ว่าจะใช้มาตรการป้องกันการควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่นการคัดกรองและเฝ้าระวังโรคกักตัวผู้มีความเสี่ยง รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัย งดจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม ทำความสะอาดพื้นที่และพื้นผิวสัมผัสร่วม แต่สิ่งที่เป็นความหวังของประชาชนในขณะนี้คือ วัคซีนป้องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเรียกสั้นๆว่า วัคซีนโควิด 19 นั้น ประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัคซีนดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการใช้วัคซีนที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึงได้มีการบริหารจัดการวัคซีนโดยเป้าหมายระยะแรกคือบุคลากรทางการแพทย์และประชากรกลุ่มเสี่ยงสูง โดยมีการดำเนินการตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์2564ซึ่งำด้ดำเนินการใน 13 จังหวัดที่มีความเสี่ยงสูง และจะดำเนินการให้ครอบคลุ่มกลุ่มเป้าหมาย กลุ่ม ผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ร้อยละ 70 ของประชากรในพื้นที่
พื้นที่ตำบลคลองแหกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการฉีดวัคซีนยังมีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับกลุ่มเป้าหมายทางเทศบาลเมืองคลองแหได้เล็งเห็นความสำคัญในการเพิ่มการเข้าถึงการฉีดวัคซีนและอำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มเป้าหมายในการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมมากที่สุด ทางเทศบาลเมืองคลองแหจึงได้มีการประชุมคณะกรรมการจัดหาวัคซีนทางเลือกเพื่อพิจารณาดำเนินการในการจัดหาวัคซีนทางเลือกเพื่อให้บริการกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่โดยที่ประชุมมีมติ ดำเนินการจัดหาวัคซีนทางเลือก ซิโนฟาร์ม จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงวัคซีนของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เพื่อลดการระบาดของโรค ซึ่งเทศบาลมีความจำเป็นในการบริหารจัดการวัคซีนในด้านต่างๆเช่น การจัดระบบการเข้ารับบริการฉีดวัคซีน ซึ่งต้องมีการนัดกลุ่มเป้าหมาย การเตรียมความพร้อมของผู้รับวัคซีนการจัดลำดับคิว การจัดระบบการเดินทางเพื่อเข้ารับวัคซีน โดยลดความแออัด เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยตามแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคและต้องมีการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์อย่างใกล้ชิด เทศบาลเมืองคลองแห โดยกองสาะารณสุขและสิ่งแวดล้อมจึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการจัดบริการสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 ในปีงบประมาณ 2564ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มเป้าหมายได้รับการฉีดวัคซีนและเพิ่มการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19

กลุ่มเป้าหมายได้รับการฉีดวัคซีน เพิ่มขึ้น

5.00 30.00
2 อัตราป่วยด้ายโรคไวรัสโคโรน่า ( โควิด -19 ) ลดลง

อัตราป่วยต่อแสนประชาชกรลดลง

359.60 340.25
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 31 ก.ค. 64 ประชาสัมพันธ์การลงทะเบียนการรับวัคซีนและการปฏิบัติตนในการรับวัคซีน 8000 19,500.00 -
3 ก.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 ประชาสัมพันธ์การลงทะเบียน 0 0.00 -
3 ก.ค. 64 จักบริการฉีดวัคซีนไวรัสโคโรนา ( covid 19 ) 0 0.00 -
3 ก.ค. 64 ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการ 0 0.00 -
9 ก.ค. 64 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนในการดำเนินงานโครงการ 30 0.00 -
9 ก.ค. 64 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนในการดำเนินงานโครงการ 0 0.00 -
19 ก.ค. 64 - 20 ก.ย. 64 จัดบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 ให้กลุ่มเป้าหมายพื้นที่ 4200 3,181,198.00 -
26 ก.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ติดตามอาการข้างเคียงผู้รับบริการการฉีดวัคซีน 0 0.00 -
1 ส.ค. 64 - 20 ก.ย. 64 ติดตามอาการข้างเคียงของผู้รับบริการฉีดวัคซีนตัวเลือกวิโนฟาร์ม 0 0.00 -
27 ก.ย. 64 ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลในการดำเนินงานโครงการ 30 0.00 -
รวม 12,260 3,200,698.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงและได้รับการฉีดวัคซีนนตัวเลือกซิโนฟาร์มครอบคลุมตามเป้าหมายที่กำหนด

2.กลุ่มเป้าหมายได้รับการฉีดวัคซีนอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานการได้รับวัคซีน

3.อัตราการป่วยด้วยโรคไวรัสโคโรน่า ( โควิด -19) ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2564 22:35 น.