กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ม.7 บ้านนิบงบารู ต.สะเตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 7 ตำบลสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 19 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยูไวรีย๊ะ ยูนุ๊
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากตัวเลขของผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น 189 ล้านคน และคาดว่าในอีก 20 ปี ข้างหน้าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึง 324 ล้านคน ที่น่าเป็นห่วงคือผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่เสียชีวิตจากภาวะโรคแทรกซ้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันและควบคุมได้ อีกทั้งยังพบว่า อายุเฉลี่ยของการเริ่มต้นป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงนั้นน้อยลงเรื่อยๆ และมีแนวโน้มจะลุกลามไปถึงเด็กในอนาคตอันใกล้ด้วยวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง นอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่      โรคแทรกซ้อนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต เป็นต้น สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคคือ “พันธุกรรม” และ “สิ่งแวดล้อม” ในส่วนของพันธุกรรมนั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ      ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้พันธุกรรมจะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันการเกิดโรคดังกล่าวได้        มีผลการวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำ ส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงทางพันธุกรรม อีกทั้งยังเป็นการควบคุมโรคและป้องกันโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วย เพราะการควบคุมอาหารอย่างถูกต้อง และเหมาะสม  จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้ การดูแลตนเอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 7 บ้านนิบงบารู ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ยังไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากยังมีกลุ่มเสี่ยงที่พัฒนาไปเป็นกลุ่มป่วย ด้วยสาเหตุดังกล่าวทางอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 7 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเอง อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 7 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ม.7 บ้านนิบงบารู ต.สะเตงนอก    อ.เมือง จ.ยะลา ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่กลายเป็นกลุ่มป่วย ห่างไกลโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรู้วิธีการดูแลสุขภาพตนเองในเบื้องต้น

 

0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่กลายเป็นกลุ่มป่วย

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ 0 30,000.00 -
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
    1. ประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย
    2. จัดกิจกรรม
    • กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องอาหาร และพฤติกรรมการดูแลตนเองในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
    • กิจกรรมที่ 2 การออกกำลังกาย โดยการให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่ถูกต้อง และสาธิตการออกกำลังกาย โดยใช้ผ้าขาวม้า (โดยในการอบรมแบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 2 รุ่นๆ ละ 1 วันๆ ละ 60 คน)
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ และทัศนคติที่เหมาะสม ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  2. กลุ่มเสี่ยง ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม และไม่กลายเป็นกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
    1. อัตราการเกิดโรคเรื้อรังลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2564 10:46 น.