กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กวัยรุ่นไทยห่างไกลบุหรี่
รหัสโครงการ 64-L3329-2-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 2,925.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาว วรวรรณ คำคง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาว วาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์ควบคุมโรคการบริโภคยาสูบของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2559 มีเหตุการณ์สำคัญๆ ด้านการควบคุมยาสูบ ด้วยคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ 2559 - 2562 โดยมีเป้าประสงค์เพื่อลดอัตราการบริโภคยาสูบ และ ทำให้สิ่งแวดล้อมปลอดควันบุหรี่ มีตั้งแต่อนุกรรมควบคุมการผลิตภัณฑ์ยาสูบระดับจังหวัด ให้ทุกจังหวัดดำเนินงานควบคุมยาสูบ จากข้อมูลการสำรวจข้อมูลปี 2558 พฤติกรรมเสี่ยง (Behaviral risk) การบริโภคยาสูบ หลังจากผลการสำรวจครัวเรือนปี พ.ศ 2558 พบว่าประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป บริโภคยาสูบจำนวน 10.9 ล้านคน อัตราการสูบบุหรี่เป็นร้อยละ 19.9 ในทุกกลุ่มอายุมีอัตราการสูบบุหรี่ลดลงจากปี พ.ศ 2556 ยกเว้นกลุ่มอายุ 19-24 ปี และ กลุ่มอายุ 41-59 ปี ผู้สูบบุหรี่มีค่าใช้จ่ายจริงของผู้สูบบุหรี่ซองและบุหรี่ม้วนเอง เพีบงอย่างเดียวเฉลี่ยประมาณเดือนละ 423 บาทต่อเดือน เรื่องการได้รับควันบุหรี่มือสองพบว่าร้อยละ 36 ได้รับควันบุหรี่ในบ้าน ร้อยละ 30.5 ได้รับควันบุหรี่ในที่ทำงาน ร้อยละ 25.6 ได้รับควันบุหรี่ในขนส่งสาธารณะสถานที่สาธาระ มีผู้พบเห็นควันบุหรี่มือสองมาก อันดับแรกได้แก่ ตลาดสด ตลาดนัด ร้านอาหาร ภัตตาคาร สถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ศาสนสถาน สถานบริการขนส่งสาธารณะและอาคารสถานที่ราชการ สถานศึกษา และภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชาชนไทยในปี พ.ศ 2558 พบโรคมีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ในจำนวนนี้รวม โดรคมะเร็ง หลอดเลือดสมอง ไขมัน ความดันโลหิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อป้องกันกลุ่มเสี่ยงไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ 2.เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีพฤติกรรม การลด ละ เลิก บุหรี่ และสารเสพติด 3.เพื่อให้ครัวเรือน และ สถานที่สาธารณะเขตเทศบาล ปลอดควันบุหรี่ อย่างมีประสิทธิภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เขียนโครงการขออนุมัติโครงการจากเทศบาล 2.รวบรวมและสำรวจร้านค้าในหมู่บ้านที่ขายบุหรี่ 3.ประกาศสถานที่สาธารณะ ปลอดควันบุหรี่เขตเทศบาล 4.จัดอบรมให้ความรุ้เรื่องบุหรี่ให้แก่เด็กและ อสม เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักและสร้าง Empowerment เพื่อให้เกิดศักยภาพในการดำเนินงานการควบคุมยาสูบในชุมชน สร้างข้อตกลงและกติกาชุมชนในการควบคุมควันบุหรี่ 5.ลงพื้นที่รณรงค์และติดป้ายเขตปลอดควันบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ เช่น สถานที่หน่วยงานราชการ สถานศึกษา ศาสนสถาน ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ 6.สรุปผลดำเนินการโครงการ 7.นำเสนอความก้าวหน้า ปัญหา ข้อเสนอแนะ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบุหรี่ 2.สถานที่ราชการเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2564 11:29 น.