กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ จากใจคนอาสา สู่การส่งเสริมสุขภาพจิต ชุมชนบ้านหัวควน ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3336-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมจิตอาสาพัฒนาชุมชน
วันที่อนุมัติ 25 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 กรกฎาคม 2564 - 30 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,520.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภคปภา เพชรขวัญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.279,100.318place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1082 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ท่ามกลางสถานการณ์covid-19ทั้งแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และทุกคนล้วนมีความเครียดและความกังวลใจ เราจะช่วยกันรับมือ ดูแลจิตใจ และผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกันอย่างไร ความเครียดเป็นกลไกโดยธรรมชาติที่ช่วยให้มนุษย์เตรียมตัววางแผน และรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้ามีใครสักคนที่ไม่รู้สึกเครียด ไม่กลัวติดเชื้อ ไม่สนใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ไม่ฟังการประกาศจากรัฐบาล กลุ่มนี้ถือว่าผิดปกติและอาจนำพาไปสู่ความเสี่ยงมากมายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ดังนั้นการที่รู้สึก เครียด กังวล กลัว ตื่นตระหนกนั้นถูกต้องแล้ว และควรจะเป้นแบบนั้นเพื่อที่ทุกคนและควรจะเป็นแบบนั้นเพื่อที่ทุกคนจะได้ขวนขวายหาความรู้หาข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ มีการวางแผน และเตรียมการอย่างถูกวิธี สำคัญคือคำจำนวนมากไม่ตระหนักว่ามีความผิดปกติด้านอารมณ์เมื่อไม่รู้ตัวก็ไม่ได้จัดการอย่างถูกต้อง จนอาจส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพในการทำงาน สมาธิไม่ดี ความเครียดสะสมยังอาจนำไปสู่การตัดสินใจผิดพลาดนำชีวิตดิ่งลงได้โดยง่าย
อาสาสมัตรสาธ่รณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นกลุ่มที่มีความใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดและมีบทบาทสำคัยอย่างยิ่งในการส่งเสริมดูแลสุขภาพประชาชน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพทั้งในระดับชุมชนและระดับหมู่มากหาก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้ ทักษะ ในการประเมินสุขภาพจิต ประเมินความเครียด และจัดการกับความเครียดแล้วและสามารถถ่ายทอดความรู่สู่ชุมชนได้แล้ว ก็จะสามารถประเมินสุขภาพจิตรายบุคคลและชุมชนได้ ทั้งยังสามารถวางแผน แก้ไขและจัดการสุขภาพจิตของคนใสชุมชนได้ คณะกรรมการ ชมรมจิตอาสาพัฒนาชุมชน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดโครงการ จากใจ อสม สู่การส่งเสริมสุขภาพจิตชุมชน บ้านหัวควน ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประจำปี 2564ขึ้น เพื่อให้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้ความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพจิตชุมชนและเพื่อให้คนในชุมชนสามารถปฏิบัติตนแก้ไขปัญหาและจัดการกับความเครียดได้อย่างถูกวิธี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องสุขภาพจิตในชุมชน

ร้อยละ 90 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้น เรื่องสุขภาพจิต

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย สามารถคัดกรองประเมินภาวะด้านสุขภาพจิตได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายสามารถประเมินภาวะด้านสุขุภาพจิตได้อย่างถูกต้อง

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถแนะนำวิธีปฏิบัติตนในการแก้ไขปัญหาและขจัดความเครียดแ่ก่กลุ่มเสี่ยงได้อย่างถูกวิธี

กลุ่มเป้าหมายสามารถแนะนำวิธีปฏิบัติตนในการแก้ไขปัญหาและขจัดความเครียดแก่กลุ่มเสี่ยงได้อย่างถูกวิธี ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 11,520.00 0 0.00
30 ก.ค. 64 จัดทำทะเบียนกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ด้อยโอกาส 0 0.00 -
17 ส.ค. 64 จัดกิจกรรม จัดประชุมให้ความรู้ด้านสุขภาพจิต/การประเมินตนเอง/เทคนิคการคลายเครียดจากใจสู่่กาย/เทคนิคการนวดคลายเครียด และการวางแผนแก้ปัญหาตนเองแก่คณะกรรมการชมรมจิตอาสา 0 2,270.00 -
1 ก.ย. 64 - 30 ธ.ค. 64 เยี่ยมติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกัน และเสริมพลังใจ กลุ่มเสี่ยง 0 0.00 -
6 - 10 ก.ย. 64 จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้าน ตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้า/ประเมินความเครียดและประเมินความวิตกกังวลต่อโรคไวรัสโคโรน่า 0 5,600.00 -
14 ก.ย. 64 ประชุมเพื่อการวิเคราะห์ชุมชน แปลผล และวางแผน ประเมินชุมชน คณะกรรมการชมรมจิตอาสา 0 1,250.00 -
6 ต.ค. 64 จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพจิต/การประเมินตนเอง/เทคนิคการคลายเครียดจากใจสู่กาย/เทคนิคการนวดคลายเครียดและการวางแผนการแก้ปัญหาตนเอง แก่กลุ่มเสี่ยง 0 1,400.00 -
10 พ.ย. 64 ประชุมติดตาม แลกเปลี่ยนการปรับทุกข์และการประเมินตนเองแก่กลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 1 40 1,000.00 -
8 ธ.ค. 64 ประชุมติดตาม แลกเปลี่ยนการปรับทุกข์และการประเมินตนเอง แก่กลุ่มเสี่ยงครั้งที่ 2 40 0.00 -

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำทะเบียน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ด้อยโอกาส 1.2 จัดทำแผนโครงการ/ขออนุมัติโครงการ 1.3 ประชุมประสานงานผู้เกี่ยวข้อง 1.4 ประชาสัมพันธ์โครงการ 2.การดำเนินการ 2.1จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพจิต/ทบทวนแบบคัดกรอง 2Qและ8Q/การแปลผล/ติดตามกลุ่มเสี่ยงแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2.2อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านประเมินสุขภาพจิตแก่กลุ่มเป้าหมาย 2.3จัดทำแผนการเยี่ยมกลุ่มเสี่ยง 2.4ปฏิบัติงานตามแผน 3.ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ 4.สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู่้ส่งเสริมด้านสุขภาพจิตในชุมชน
  2. กลุ่มเป้าหมายสามารถคัดกรองและติดตามผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้
  3. กลุ่มเป้าหมายสามารถค้นพบผู้ป่วยรายใหม่ประสานต่อเจ้าหน้าที่สาูธารณสุขได้เพื่อระบบการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2564 09:58 น.