กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก ใช้โฟมบรรจุอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี ปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธีรพจน์ พงศ์ดารา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.423,99.921place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)

จากสภาพสังคมเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็ว และมีการประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ถึงแม้ว่าจะมีการส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาล และมีโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) แล้วก็ตามแต่ยังมีพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแฝงมากับภาชนะบรรจุอาหาร “โฟม” ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่าย จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่า เมื่อนำกล่องโฟม (Potystyrene) ไปบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูง หรือที่มีไขมัน หรือน้ำมัน จะมีสารพิษออกมาปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (Corcinogen) ได้แก่สารสไตรีน (Styrene) ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง ในผู้ชายเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งตับ ในผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซิน (Benzene) ออกฤทธิ์ทำลายไขกระดูก ทำให้โลหิตจาง และสารทาเลท (phthalate) เป็นสารทำลายระบบสืบพันธุ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และพบว่า ขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขี้นอย่างต่อเนื่อง จาก 34 ล้านใบ/วัน เป็น 61 ล้านใบ/วัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ใบ/คน/วัน โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น จะพบว่ามีขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทน และใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 450 ปี ซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังงานต้นทุนการกำจัดสูง เปลืองพื้นที่ฝังกลบ และขบวนการกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง จากข้อมูล ร้าน/แผงจำหน่ายอาหาร ภายในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ รวมทั้งหมด 7 ร้าน และตลาดนัดอีก 2 แห่ง เมื่อดูจากตัวเลขการเข้าร่วมเป็น ร้าน/แผงจำหน่ายอาหารปลอดโฟม นับว่ายังไม่อยู่ในระดับที่สามารถแก้ไขปัญหาการลดใช้ภาชนะโฟมในการบรรจุอาหารได้ และจะส่งผลกระทบต่อการกำจัดต่อไปอีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะจัดการอันตรายจากโฟมที่ใช้บรรจุอาหาร เป็นหน่วยงานนำร่อง ในการเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ในเขตพื้นที่ของตำบลคลองทรายขาว ให้ได้ในระดับที่น่าพอใจ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านอาหารปลอดภัยของรัฐ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ในการลดความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงได้จัดทำโครงการฯ นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภค ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร

ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภค ร้อยละ 80 มีความรู้และตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร

1.00
2 . เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคลด ละ เลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร

ร้อยละ 80 ของผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคลด ละ เลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร

1.00
3 เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม

ร้อยละ 80 ของผู้ประกอบการค้าอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟมได้

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมเอกสารสถานการณ์การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ในชุมชน เพื่อจัดทำโครงการ 2. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและจัดทำแผนการดำเนินงาน 3. ติดต่อประสานงานและติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ในชุมชน และประชาชนทั่วไปได้ทราบ 4. ประชาสัมพันธ์โครงการ 5. เตรียมเอกสาร วัสดุและอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ 6. ดำเนินงานตามกิจกรรม โครงการที่กำหนด 7.สรุป วิเคราะห์ ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคมีความรู้ ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร สามารถลด ละ เลิกหรือเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟมได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2564 11:58 น.