กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการชุมชนนาแคร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร ได้จัดกิจกรรมดังนี้ 1.ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้องเรื่องการดำเนินโครงการ ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 2.ประชุมแกนนำในการดำเนินโครงการ เพื่อแบ่งเขตการลงพื้นที่ จำนวน 4 เขต ดังนี้ เขตที่ 1 นาแครวมใจ (โซนหน้าเขาถึงวังระย้า)
  เขตที่ 2 นาแคก้าวหน้า (โซนหลัง รพ.สต.คลองขุดถึงศาลาอเนกประสงค์)   เขตที่ 3 นาแคยั่งยืน (โซนศาลาอเนกประสงค์ถึงโรงเรียนบ้านนาแค)   เขตที่ 4 นาแคมั่นคง (โซนโรงเรียนบ้านนาแคถึงท่าเรือ) โดยจัดกิจกรรมในวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 3.แกนนำในการดำเนินโครงการ ร่วมกันค้นหา คัดกรองในชุมชน แบบระบุตัวตนของผู้เสพผู้ติดยาเสพติด จัดกิจกรรมในวันที่ 30 กรกาคม 2564 4.แกนนำในการดำเนินโครงการ ลงพื้นที่ติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน มีการตรวจสารเสพติดในร่างกาย ทุก ๆ 15 วัน ตามเขตพื้นที่ และบำบัดกลุ่มเสี่ยงด้วยการโน้มน้าวจิตใจ ศาสนาบำบัด กีฬาบำบัด พื้นที่ละ 4 เขต ๆ ละ 4 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันที่ 3 สิงหาคม 2564 ครั้งที่ 2 วันที่ 5 สิงหาคม 2564 ครั้งที่ 3 วันที่ 7 สิงหาคม 2564 ครั้งที่ 4 วันที่ 9 สิงหาคม 2564 ครั้งที่ 5 วันที่ 16 สิงหาคม 2564 ครั้งที่ 6 วันที่ 18 สิงหาคม 2564 ครั้งที่ 7 วันที่ 20 สิงหาคม 2564 ครั้งที่ 8 วันที่ 22 สิงหาคม 2564 ครั้งที่ 9 วันที่ 29 สิงหาคม 2564 ครั้งที่ 10 วันที่ 1 กันยายน 2564 ครั้งที่ 11 วันที่ 3 กันยายน 2564 ครั้งที่ 12 วันที่ 5 กันยายน 2564 ครั้งที่ 13 วันที่ 12 กันยายน 2564 ครั้งที่ 14 วันที่ 14 กันยายน 2564 ครั้งที่ 15 วันที่ 16 กันยายน 2564 ครั้งที่ 16 วันที่ 18 กันยายน 2564 5.จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางให้ที่ผู้ผ่านการบำบัดและสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ สร้างภูมิคุ้มกันทางใจ และมีทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อป้องกันการกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำ โดยจัดกิจกรรมในวันที่ 17 สิงหาคม 2564

โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย -ประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านนาแค จำนวน 373 หลังคาเรือน - แกนนำในการดำเนินโครงการ ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 5 บ้านนาแค ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้นำศาสนา จำนวน 40 คน
- ผู้ที่ผ่านการบำบัดและสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 33 คน ซึ่งผลที่ได้จากการดำเนินโครงการ ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งเข้าใจและรับรู้ปัญหาพิษภัยที่เกิดขึ้นจากยาเสพติดที่มีผลกระทบต่อตนเองและสังคม และสามารถหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาป้องกันไม่ให้เกิดผู้เสพยาเสพติดรายใหม่ และลดการกลับมาเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัด ทำให้ผู้ผ่านการบำบัดมีพลังในการดำเนินชีวิต และอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบสุข เพื่อนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพิ่มอัตราการเข้าถึงระบบการบำบัดรักษาภาครัฐของผู้เสพและผู้ติด
ตัวชี้วัด : อัตราการเข้าถึงระบบการบำบัดรักษาภาครัฐของผู้เสพและผู้ติดในชุมชนเป็นไปอย่างทั่วถึงเพิ่มมากขึ้น(ร้อยละ)
4.00 90.00 90.00

 

2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ที่ผ่านการบำบัดและกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติในชุมชน
ตัวชี้วัด : จำนวนผู้ที่ผ่านการบำบัดและกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติในชุมชน เพิ่มขึ้นเป็น(คน)
3.00 33.00 33.00

 

3 เพื่อเพิ่มกำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน
ตัวชี้วัด : กำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน เพิ่มขึ้นเป็น(คน)
5.00 36.00 36.00

 

4 เพื่อลดอัตราการกลับมาเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชน
ตัวชี้วัด : อัตราการกลับมาเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชนลดลงเหลือ(ร้อยละ)
90.00 50.00 50.00

 

5 เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน
ตัวชี้วัด : มาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนเพิ่มขึ้นเป็น (มาตราการ)
0.00 1.00 1.00

 

6 เพื่อเพิ่มกิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการควบคุมยาเสพติด ทั้งด้านการป้องกัน การรักษาในระยะเริ่มต้น ถึงการรักษาแบบการถอนพิษยาและการดูแลไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ
ตัวชี้วัด : กิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการควบคุมยาเสพติด ทั้งด้านการป้องกัน การรักษาในระยะเริ่มต้น ถึงการรักษาแบบการถอนพิษยาและการดูแลไม่ให้กลับไปเสพซ้ำเพิ่มขึ้นเป็น(กิจกรรม)
0.00 1.00 1.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 373 373
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 373 373
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพิ่มอัตราการเข้าถึงระบบการบำบัดรักษาภาครัฐของผู้เสพและผู้ติด (2) เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ที่ผ่านการบำบัดและกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติในชุมชน (3) เพื่อเพิ่มกำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน (4) เพื่อลดอัตราการกลับมาเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชน (5) เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน (6) เพื่อเพิ่มกิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการควบคุมยาเสพติด ทั้งด้านการป้องกัน การรักษาในระยะเริ่มต้น ถึงการรักษาแบบการถอนพิษยาและการดูแลไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) แกนนำในการดำเนินโครงการ ร่วมกันค้นหา คัดกรองในชุมชน แบบระบุตัวตนของผู้เสพผู้ติดยาเสพติด (2) จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางให้ที่ผู้ผ่านการบำบัดและสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh