กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคโควิด-๑๙ ตำบลโคกม่วง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลโคกม่วง
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2021
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 กรกฎาคม 2021 - 30 กันยายน 2021
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2021
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสหรัฐ ทองเพิ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 ก.ค. 2021 12 ก.ค. 2021 100,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ ๒๐๑๙ เป็นกลุ่มเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจในคน อาจมีอาการรุนแรงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ไตวายหรืออาจเสียชีวิตได้ เริ่มต้นที่ประเทศจีน ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๒ และต่อมาได้พบผู้ป่วยยืนยันในหลายประเทศทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันรายแรกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และได้ประกาศ ให้โรคโควิด-๑๙ เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ และข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ ฉบับที่ ๑ ประกาศบังคับใช้ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓และขยายระยะเวลาการบังคับใช้ออกไปเป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เนื่องจากสถานการณ์พบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มเป็นระลอก โดยการระบาดระลอกใหม่ในรอบเดือนเมษายน ๒๕๖๔ ผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการน้อยมากในระยะแรก ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่มีความผ่อนคลายกับสถานการณ์การควบคุมโรคที่ดีขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ค่อยระมัดระวัง ป้องกันตัวเอง จึงทำให้โรคแพร่กระจายไปในทุกพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร มีผู้ป่วยติดเชื้อรายวันและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้สัมผัสผู้ป่วยยืนยันต่อเนื่องจากกลุ่มการแพร่ระบาดในสถานบันเทิง การเดินทางจากพื้นที่เสี่ยง และการติดเชื้อต่อเนื่องจากสถานที่เฉพาะกลุ่ม เช่น ชุมชนแออัด หรือตลาด ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและการดำรงชีวิตโดยปกติของประชาชน และระบบการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ประกอบกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีแนวโน้มการควบคุมให้ดีขึ้น อาจต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน อาจทำให้คนในสังคมที่ร่วมต่อสู้กับภาวะวิกฤติการระบาดของโรค มีโอกาสเกิดความกดดัน ความเครียดและความวิตกกังวล ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนไทยเป็นจำนวนมาก โดยจะเห็นได้จากปัญหาด้านสุขภาพจิต และจิตเวชที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการสำรวจภาวะเครียด (Stress) ของกรมสุขภาพจิต พบว่าบุคลากรสาธารณสุข 8 ใน 10 คน และประชาชน 4 ใน 10 คน มีความเครียดและกังวลจากการทำงาน ซึ่งมีแนวโน้มทำให้บุคลากรสาธารณสุข มีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ รู้สึกหมดพลัง หมดหวังสูญเสียพลังทางจิตใจและนำไปสู่ภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟ (Burnout) สำหรับประชาชนอาจเกิดความเครียดเพิ่มขึ้นและอาจเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า (Depression) เพิ่มขึ้น นอกจากนี้พบว่าอัตราการฆ่าตัวตายมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงมีนาคม โดยเมื่อเปรียบเทียบข้อมูล ของปี 2562 กับ ปี 2563 พบว่าจำนวนประชากรที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ (Suicide) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๖๔ ข้อมูล ณ วันที่ ๑11 กรกฎาคม ๒๕๖๔ ประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันสะสม 336,371 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 2,711 ราย สถานการณ์ประจำวัน ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ข้อมูล ณ วันที่ ๑1 กรกฎาคม ๒๕๖๔ พบผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 6,871 ราย ในเรือนจำ 1,089 ราย เสียชีวิตสะสม ๓2 ราย ส่วนสถานการณ์อำเภอคลองหอยโข่ง พบผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 39 ราย เป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลโคกม่วง จำนวน 9 ราย การระบาดของโรคฯส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่โดยรวม สร้างความตื่นตระหนกถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ด้านการป้องกันและยับยั้งการระบาดของโรคมิให้แพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง จากการลงตรวจประเมินตามมาตรการที่ทางราชการกำหนด เพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ระลอกใหม่ในสถานประกอบการ สถานประกอบการร้านอาหาร/สถานที่จำหน่ายอาหารและตลาดนัดในพื้นที่ตำบลโคกม่วง พบว่าสถานประกอบการต่างๆ มีการดำเนินการตามมาตรการที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด และมีบางสถานประกอบการที่ละเลยไม่ปฏิบัติตาม และจากการประเมินประชาชนผู้เข้าใช้บริการตลาดนัดทั้ง 3 แห่ง ซึ่งถือเป็นสถานที่เสี่ยงที่มีการรวมตัวของคนหมู่มากในพื้นที่ พบว่าประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรค เช่น การสัมผัสเลือกซื้อสินค้าโดยไม่มีการล้างมือก่อนและหลังสัมผัส สวมใส่หน้ากากที่ผิดวิธี เช่นดึงหน้ากากลงขณะพูด หรือสวมหน้ากากไว้ใต้คาง โดยปัญหาและความต้องการด้านการป้องกันโรคในพื้นที่ของแต่ละหมู่บ้าน ที่ส่งผลต่อการป้องกันโรค คือมีวัสดุ/อุปกรณ์ในการป้องกันโรคที่ไม่เพียงพอ ประชาชนในพื้นที่ยังขาดความรู้และความตระหนักต่อการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด ประชาชนในพื้นที่ มีความวิตกกังวลและรู้สึกไม่ปลอดภัยกรณีที่ทราบว่ามีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง หรือผู้ป่วยยืนยันมากักกันตนเองอยู่ในชุมชน รวมถึงประชาชนในพื้นที่ส่วนหนึ่งประกอบอาชีพรับจ้างเมื่อเกิดการแพร่ระบาดทำให้ต้องหยุดงานและขาดรายได้       พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๕๓ (๑) บัญญัติให้เทศบาลเมืองมีหน้าที่ต้องทำตามกิจการที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๔) มีหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๑๖(๑๙) เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัย ครอบครัว และการรักษาพยาบาล ประกอบกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ ฉบับที่ ๒๒ ข้อกำหนด ข้อ ๑ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคเมื่ออยู่นอกเคหสถานหรืออยู่ในที่สาธารณะ เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและป้องกันมิให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เพื่อจำกัดวงในการระบาดของโรคเมื่ออยู่นอกเคหสถานหรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ ให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าและต้องสวมให้ถูกวิธีตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ
    ดังนั้นเพื่อมิให้เหตุการณ์ระบาดของโรคอันเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ตำบลโคกม่วง ทวีความรุนแรงมากขึ้น สามารถยุติการระบาดได้โดยเร็ว ประชาชนปลอดภัยจากโรคและผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สามารถปรับตัวเข้าสู่ชีวิต วิถีใหม่ (New Normal) งานสุขาภิบาลอนามัยและสิ่งแวดล้อมจึงจัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคโควิด-๑๙ ตำบลโคกม่วง ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับสถานประกอบการ,ประชาชนในพื้นที่ของเทศบาลตำบลโคกม่วง

ร้อยละ 80 ของสถานประกอบการ,ประชาชนมีความรู้การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

0.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ เพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ร้อยละ 100 ของวัสดุเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน
    • ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
    • แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
    • ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลโคกม่วง 3.ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1. ดำเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้สถานประกอบการ,ประชาชนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ 3.2. สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 3.3.การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 3.4. จัดหาวัสดุ/อุปกรณ์ สำหรับการป้องกันโรค ประกอบด้วย หน้ากากอนามัย เจลหรือแอลกอฮอล์ สำหรับสาธิตและเป็นตัวอย่างให้แก่สถานประการ,ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ตำบลโคกม่วง เพื่อใช้เป็นตัวอย่างในการเลือกซื้อวัสดุป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ให้แก่ตนเองและครอบครัว 3.5.ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ
  2. 3.6.สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

. สถานประกอบการ,ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้   2. สถานประกอบการ,ประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลโคกม่วงได้รับการป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ   3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2021 13:52 น.