กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการแพร่ระบาดและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอก 3 โรงเรียนบ้านท่าข้าง
รหัสโครงการ 64-L3323-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านท่าข้าง
วันที่อนุมัติ 28 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มิถุนายน 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 21,770.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเตือนใจ ศรีกาญจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.759,100.14place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าว ได้มีการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว รวมถึงการแพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทย และแพร่เข้าสู่ในจังหวัดพัทลุง โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อถึงปัจจุบัน จำนวน 414 ราย เสียชีวิต 4 ราย (ข้อมูล สนง.สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ณ วันที่ 19 พ.ค. 2564) และมีหลักฐานการติดต่อของโรคจากคนสู่คน จังหวัดพัทลุงได้มีมาตรการการควบคุมหลายมาตรการตาม พรก.ฉุกเฉิน เช่น มาตรการเคอร์ฟิว ห้ามการประชุม ชุมนุม สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) โรงเรียนบ้านท่าข้าง ก็ได้ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด โดยในระลอกแรกไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ จังหวัดพัทลุงมีการปลดล็อคในหลายๆกิจกรรม เพื่อให้ประชาชนได้ดำเนินการใช้ชีวิตตามปกติ ในเรื่องของการประกอบอาชีพ การดูแลสุขภาพในการออกกำลังกาย ประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น งานบวช งานมงคลสมรส งานศพฯลฯ ซึ่งในแต่ละกิจกรรมมีความจำเป็นต้องพบปะ พูดคุย ประชุม หรือทำกิจกรรมร่วมกัน และหลังวิกฤตการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้พฤติกรรมของประชาชนบางอย่างเปลี่ยนไป จนกลายเป็นความปกติใหม่ หรือฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ในทุกสถานการณ์ แต่แล้วสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ก็ได้หวนกลับมาระบาดอีกครั้งตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 จนถึงปัจจุบันเป็นระลอก 2 และระลอก 3 ตามลำดับ     โรงเรียนบ้านท่าข้าง เคยได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลพนางตุง เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระลอกแรกและได้ใช้วัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ อย่างคุ้มค่าจนเกิดความปลอดภัย ปลอดโรคแก่ครู บุคลากรและนักเรียน แต่วัสดุที่ได้มานั้นก็หมดและอุปกรณ์ต่างๆ ชำรุดเสียหายจากการใช้งานในช่วงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาของปีการศึกษา 2563

    การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นทางโรงเรียนบ้านท่าข้าง จำเป็นต้องปลูกฝัง สร้างพฤติกรรม ควบคุมและป้องกันตามมาตรการที่สำคัญแก่นักเรียน คือการป้องกันตนเองไม่ให้สัมผัสกับโรค โดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัดหรือมีมลภาวะ ไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไอหรือจามและที่สำคัญหากต้องดำเนินกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นจะต้องดำเนินการตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขและกฎระเบียบของหมู่บ้านโดยจะต้องได้รับการคัดกรองก่อนเข้าร่วมกิจกรรมของหมู่บ้าน สถานศึกษา สถานที่ชุมชน สถานที่ประชุม สถานที่ออกกำลังกาย หรืองานประเพณีต่าง ๆ ตามมาตรการควบคุมหลัก คือ การให้มีจุดบริการล้างมือเพื่อฆ่าเชื้อโรคอย่างเหมาะสมทั่วถึง การสวมหน้ากากอนามัย การให้เว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะและระหว่างที่นั่ง รวมถึงระยะห่างระหว่างการเดินอย่างน้อย 1 เมตร การทำความสะอาดในบริเวณสถานที่สำหรับให้บริการนักเรียน เยาวชน และประชาชนทั่วไป และการให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมิให้แออัด ดังนั้น โรงเรียนบ้านท่าข้าง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการแพร่ระบาดและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอก 3 ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่นักเรียน ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านท่าข้าง

ร้อยละ 100 ของนักเรียน ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านท่าข้าง ปลอดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อส่งเสริมสนับสนุน สร้างความตระหนักให้นักเรียนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

มีจุดคัดกรองและการปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,770.00 0 0.00
20 มิ.ย. 64 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมจัดทำจุดคัดครองและมาตรการควบคุม/ป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 0 21,770.00 -

จัดทำจุดคัดกรอง 2 จุด และมาตรการควบคุม/ป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยดำเนินการติดตั้งและจัดหาวัสดุ/อุปกรณ์/เครื่องมือ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายแบบอินฟาเรด ชนิดสแกนมือ          จำนวน  1    เครื่อง
2. เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ (แอลกอฮอล์ไม่น้อยกว่า 75%) ขนาด 5 ลิตร  จำนวน  15    แกลลอน
3. สบู่เหลวล้างมือ ขนาด 5 ลิตร                        จำนวน  5    แกลลอน 4. น้ำยาฆ่าเชื้อ ขนาด 3.8 ลิตร                          จำนวน  4    แกลลอน 5. หน้ากากอนามัย ชนิดผ้า                            จำนวน  100  ชิ้น 6. หน้ากากอนามัย(สำรอง) กล่อง 50 ชิ้น                    จำนวน  4    กล่อง 7. ชุดกดเจลล้างมือชนิดติดฝาผนัง                        จำนวน  5    ชุด 8. แท่นกดเจลแอลกอฮอล์                            จำนวน  1  เครื่อง 9. ขวดบรรจุหัวปั้ม ขนาด 500 cc                        จำนวน  2    โหล   10. ขวดบรรจุหัวสเปรย์ ขนาด 500 cc                      จำนวน  2    โหล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและบุคลากรโรงเรียนบ้านท่าข้าง มีความปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2564 14:15 น.