กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการศูนย์บริการชุมชน(Drop in Center) บริการใส่ใจ ห่วงใยสุขภาพ
รหัสโครงการ 64-L3330-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลอน
วันที่อนุมัติ 12 กรกฎาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 สิงหาคม 2564 - 10 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 34,258.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุมา รินชะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 98 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานเพื่อยุติปัญหาเอดส์โดยมีเป้าประสงค์เพื่อลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ลดการเสียชีวิตจากเอดส์ลดการตีตราและเลือกปฏิบัติเกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ จึงได้มีแนวคิดให้เกิดศูนย์บริการชุมชน ตรวจการคัดกรองหาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อลดช่องว่างในการให้บริการ ช่องว่างระหว่างชุมชนสู่โรงพยาบาล โดยมีภาครัฐและภาคประชาสังคมร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการชุมชน (DIC: Drop in Center) เพื่อให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการ ได้รับความสะดวกรวดเร็วเป็นกันเองเบ็ดเสร็จลดขั้นตอนได้รับทั้งความรู้ อุปกรณ์การป้องกัน เชื่อมโยงระบบการป้องกันเข้าสู่การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีและการคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการรักษา โดยสถานที่ที่จัดชั้นเพื่อให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมาย มีความสะดวก ความปลอดภัย ง่ายต่อการเข้าถึง มีระบบการบริหารจัดการเพื่อเข้าถึงบริการชองกลุ่มเป้าหมาย มีบริการป้องกันและเข้าถึงบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ วัณโรค รวมถึง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพขั้นพื้นฐาน การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกทั้งเป็นศูนย์กลางเชื่อมประสาน ระหว่างกลุ่มเป้าหมาย ชุมชน และระบบบริการของรัฐ ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลอน มีร้านคาราโอเกะ และสวนอาหารจำนวน๑0 ร้าน ผู้ป่วยเอดส์ กลุ่มชายรักชาย จึงจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยจัดตั้งศูนย์บริการชุมชน (DlC; Drop in Center) และพัฒนาคุณภาพบริการให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพเกิดประโยชน์ต่อผู้มารับบริการ ดั้งนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลอนจึงได้ทำโครงการศูนย์บริการชุมชน (Drop in Center)บริการใส่ใจ ห่วงใยสุขภาพ โดยพัฒนาคุณภาพศูนย์บริการให้ได้มาตรฐานและส่งเสริมประชาสัมพันธ์การให้บริการอย่างทั่วถึง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการรองรับการยกระดับมาตรฐานงานภาคีเครือข่ายศูนย์บริการชุมชน

สถานบริการได้รับการพัฒนาคุณภาพบริการตามมาตรฐานงานภาคีเครือข่ายศูนย์บริการชุมชน

0.00
2 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงและประชาชนเข้าถึงระบบบริการได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว

ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงและประชาชนเข้าถึงระบบบริการได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว

0.00
3 เพื่อส่งเสริมความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,258.00 0 0.00
2 ส.ค. 64 อบรมให้ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อางเพศสัมพันธ์ในแกนนำสุขภาพ 0 19,620.00 -
3 ส.ค. 64 อบรมให้ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มประชากรเป้าหมายและเยาวชนที่มีความเสี่ยง 0 10,280.00 -
10 ส.ค. 64 อบรมให้ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดลอน 0 4,358.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.รองรับการพัฒนาคุณภาพบริการรองรับการยกระดับมาตรฐานงานภาคีเครือข่ายศูนย์บริการชุมชน 2.ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงและประชาชนเข้าถึงระบบบริการได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว 3.กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเสี่ยง เยาวชนที่มีความเสี่ยงและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รร.วัดลอน มีความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2564 17:17 น.