กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รณรงค์คัดกรองมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ 009
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บาโงกือเตะ
วันที่อนุมัติ 12 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนาอีม๊ะเจะเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.423,101.587place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 29 ส.ค. 2560 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยพบเป็นอันดับ ๒ ของมะเร็งในสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านม จากรายงานของ WHO/ICO Information Centre on HPV and Cervical cancer (Human papillmavirus and Related Cancers in Thailand, summary Report ๒๐๑๐ ได้รายงานในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ประเทศไทยมีประชาชนสตรีที่เสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก ๒๖.๐๙ ล้านคน มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป มีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ปีละ ๙,๙๙๙ ราย เสียชีวิต ๕,๒๑๖ ราย หรือประมาณร้อยละ ๕๓ ถ้าคิดเป็นวันแล้วจะมีสตรีไทายเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยวันละ ๑๔ คน อุบัติการณ์โดยรวมของมะเร็งปากมดลูกในช่วง ๑๕ ปีที่ผ่านมาลดลงเพียงเล็กน้อย แต่จำนวนผู้ป่วยรายใหม่สูงขึ้นเรื่อยๆถ้าอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกยังคงสูงในระดับนี้โดยไม่มีมาตรการหรือยุทธวิธีใหม่ที่มีประสิทธภาพมาป้องกันจากรายงานทางระบาดวิทยาของมะเร็งในประเทศไทยประชากร ๑๐๐,๐๐๐ ราย รองลงมา คือ จังหวัดชลบุรี ๓๐.๖ ราย ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ ราย และต่ำสุดที่จังหวัดขอนแก่น ๑๕.๓ ราย ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ ราย และต่ำสุดที่จังหวัดขอนแก่ ๑๕.๓ ราย ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ รายส่วนในภาคเหนือ อุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกสูงสุด คือ จังหวัดเชียงใหม่ ๒๕.๑ ราย ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ ราย ซึ่งมีอุบัติการณ์ (ASR) เป็นอับดับ ๓ ของประเทศประชากรทั้ง ๑๔ จังหวัดภาคใต้ พบว่า มีอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งสูงเป็นอันดับหนึ่งของทั้งภูมิภาค โดยมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น ๑,๐๙๒ รายต่อปี ในจำนวนนี้เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คืน ๕๙๗ ราย ขณะที่เพศชายเพิ่มขึ้นต่อปี ๔๙๕ ราย ในขณะที่มีผู้เสียด้วยโรคมะเร็งประมาณ ๗๔๒ รายต่อปี เมื่อจำแนกตามชนิดมะเร็งในเพศชายพบว่ามะเร็งปอดเป็นอันดับหนึ่ง จำนวน ๑๑๐ รายต่อไป ปัจจัยสำคัญมีสาเหตุจากการสูบบุหรี ส่วนในเพศหญิงอันดับหนึ่งคืนมะเร็งเต้านมจำนวน ๙๘ รายต่อปี รองลงมามะเร็งปากมดลูกจำนวน ๘๙ รายต่อปี และมะเร็งปอด ๔๑ รายต่อปี สำหรับจังหวัดนราธิวาส ในปี ๒๕๕๗ สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ ๓๐ ถึง ๖๐ ปี ในจังหวัดมีสตรี กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๑๒๓,๙๔๒ คนได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear จำนวน ๔,๕๗๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓.๖๘ (ค่าเป้าหมายร้อยละ ๒๐ ) คปสอ.รือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกลูกทั้งหมด ๑๙๘ คนจากกลุ่มเป้าหมาย ๑๒,๑๔๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๖๓ และในส่วนของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงกือเตะ ตำบลสามัคคี ปี ๒๕๕๙ ได้ดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย ผลการดำเนินงาน พบว่า กลุ่มเป้าหมายได้รับการาตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกจำนวน ๑๔๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๒ ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๕๘๑ ราย จะเห็นได้ว่า การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกยังดำเนินการตรวจคัดกรองไก้ไม่ครองคลุม กลุ่มเป้าหมายดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงกือเตะ ตำบลสามัคคี จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายเพื่อดำเนินการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้สตรีกลุ่มเป้าหมาย แกนนำสุขภาพ และอาสาสมัคคีสาธารณสุขมีส่วนช่วนประชาสัมพันธ์ปรับเปลี่ยนทัสน์คติ เพื่อให้การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถดำเนินการได้ครองคลุมมากยิ่งขึ้นอันส่งผลให้ตรวจพบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะแรกได้มากขึ้น ซึ่งสามารถลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งอีกทางหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกในแต่ละปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๒๐ 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาได้ทันที่

1.สตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 1,000.00 1 1,000.00
3 เม.ย. 61 เบิกค่าจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 0 1,000.00 1,000.00

ขั้นวางแผน (plan) ขั้นดำเนินการ 1.ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพตำบลสามัคคี 2.เสนอโครงการให้ประธานอนุบัติ 3.จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่สาธารณสุขและ อสม. เพื่อวางแผนในการดำเนินงาน 4.สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย 5.เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการตรวจ 6.ประสานงานกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 7.ออกหตรวจมะเร็งปากมดลูกตามตารางการปฏิบัติงานและลง Program pap Registry ขั้นตรวจสอบและประเมินผล (cheek) 1.ประเมินการดำเนินการโครงการ 2.สรุปผลและรายงานผลการดำเนินการ ขั้นประยุกต์และพัฒนา (action plan) 1.รายงานผลการดำเนินงาน 2.ประชุมวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน 3.ปรับปรุง/พัฒนาแผนการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูก 2.สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และใส่ใจการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนสามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม 3.สตรีที่ตรวจพบมะเร็งปากมดลูกได้รับการส่งต่อและการรักษาได้ทันที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2560 10:15 น.