กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรอง ปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ ลดการเกิดโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 60-l5223-ป.1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่
วันที่อนุมัติ 23 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 30 เมษายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2561
งบประมาณ 42,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวไลภรณ์ สุขทร
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัส หวังมณี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.799723,100.289988place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19 มี.ค. 2561 30 มี.ค. 2561 17,500.00
2 5 เม.ย. 2561 6 เม.ย. 2561 1,500.00
3 8 ก.พ. 2561 28 ก.พ. 2561 18,000.00
4 24 พ.ค. 2561 31 พ.ค. 2561 5,600.00
รวมงบประมาณ 42,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น เนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้น จากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลก ปี พ.ศ.2544 ขององค์การอนามัยโลกพบว่า 1 ใน 10 ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ 1 ใน 3 มีภาวะความดันดลหิตสูง นอกจากนี้ พบว่าประมาณร้อยละ 63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำหรับประเทศไทย รายงานจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2541-2552 พบความชุกของโรคเบาหวานในประชาไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 6.9 ทั้งนี้พบว่าหนึ่งในสามของผู้ที่เป็นเบาหวานไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานมาก่อน และมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแต่ไม่ได้รับการรักษา คิดเป็นร้อยละ 3.3 สำหรับความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบร้อยละ 21.4 โดยพบว่าร้อยละ 60 ในชาย และร้อยละ 40 ในหญิง ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน และร้อยละ 8-9 ได้รับการวินิจฉัยแต่ไม่ได้รับการรักษา ทั้้งนี้ สถิติจากประเทศต่างๆ พบว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรค Metabolic โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค ในกลุ่มเป้าหมายคือ ประชากรกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปทุกราย ด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม (Verbal Screening) การวัดความดันโลหิต การชั่งน้ำหนัก วัดความสูง และการวัดเส้นรอบพุง เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง และค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น กลุ่มเสี่ยงต้องได้รับการตรวจยืนยันความเสี่ยงต่อโรค Metabolic โดยบุคลากรสาธารณสุข เพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ส่วนกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคก็ส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกราย ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของโรคในรายที่ป่วยแล้ว และกำหนดให้มีการบันทึกข้อมูลลงตามโปรแกรมคัดกรองความเสี่ยงโรค Metabolic ปี 2559 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วย สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ ปี 2559 พบว่า มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 72 ราย โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 232 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.51 และ 11.31 จะเห็นได้ว่ามีอัตราผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ ลดการเกิดโรคเรื้อรัง ในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อให้การดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยง บรรลุตามตัวชี้วัด เป็นการค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรม เข้าใจหลักการดำเนินชีวิตที่ปลอดภัยจากโรคเรื้อรัง สามารถนำไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองและครอบครัวกลุ่มผู้ป่วยได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น และลดปัญหาค่าใช้จ่ายที่ต้องเป็นภาระตลอดไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90

2 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. ได้

ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร้อยละ 90

3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรม 3อ. 2ส. ที่ถูกต้อง

กลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการปรับเปลี่ยน มีพฤติกรรมดีขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 จากการติดตาม 1, 3, 6 เดือน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำโครงการเพื่อขอนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 1.2 ประชุมชี้แจง อสม.เพื่อสำรวจประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ ม.1-3 และหมู่ที่ 9 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 1.3 จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานดำเนินการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบ ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงานตามโครงการฯ 2.1 ให้บริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงตามแบบฟอร์ม ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป โดย อสม. 2.2 คัดกรองซ้ำโดยวิธีวัดความดันโลหิตและเจาะนำตาลในเลือด โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในประชากรที่มีภาวะเสี่ยง 1 ใน 6 ข้อจากแบบคัดกรองความเสี่ยงตามแบบฟอร์ม 2.3 แจ้งผลการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยง พร้อมแนะนำ ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ แนะนำการตรวจคัดกรองซ้ำ และลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยง 2.4 บันทึกข้อมูลผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยง ลงในโปรแกรม JHCIS
2.5 คัดเลือกกลุ่มเสี่ยงสูง และเสี่ยงเป็นโรค 100 ราย จัดบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.6 ติดตามผู้เข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ประเมิณติดตามทุก 3 เดือน จนสิ้นโครงการ ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล สรุปผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง แยกรายหมู่บ้าน และคืนข้อมูลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลับไปยังกลุ่มเสี่ยง ทราบ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง รายงานผลการดำเนินงานให้ผุ้บังคับบัญชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิดสูง
  2. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2560 13:26 น.