การกักตัวผู้ต้องสงสัยสัมผัสเสี่ยงสูง โควิด-19 รอบ 3 LQ อบต.สามัคคี ปี 2564
ชื่อโครงการ | การกักตัวผู้ต้องสงสัยสัมผัสเสี่ยงสูง โควิด-19 รอบ 3 LQ อบต.สามัคคี ปี 2564 |
รหัสโครงการ | 64-L2515-1-006 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ส่งเสริมสุขภาพ สสอ.รือเสาะ |
วันที่อนุมัติ | 30 กันยายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2564 |
งบประมาณ | 63,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ส่งเสริมสุขภาพ สสอ.รือเสาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.423,101.587place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด -19 ระลอกใหม่ช่วงเดือนเมษายน จวบจนปัจจุบัน มีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและในวงกว้างส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อโควิด -19 จำนวนมากกว่าวันละ 1,000 คน ทำให้การจะรับรักษาพยาบาลคนไข้เหล่านี้ในโรงพยาบาลคงไม่สามารถทำได้ ตลอดจนอาการป่วยโควิดก็มีระดับความรุนแรงน้อยและมาก โรงพยาบาลต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยอาการหนักเท่านั้นและมีความจำเป็น นอกจากนี้สถานการณ์ของบุคคลที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน มีแนวโน้มว่าจะต้องถูกผลักดันให้กลับประเทศ ซึ่งบุคคลเหล่านี้หลายคนอาจป่วยด้วยโควิด -19 สายพันธุ์แอฟริกา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างดื้อวัคซีนที่กำลังจะฉีดทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อและนำเชื้อไปแพร่กระจายให้คนอื่น ๆ
สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ไม่ว่าจะเป็นคลัสเตอร์ทองหล่อ คลัสเตอร์โรงงานปลากระป๋อง คลัสเตอร์ตลาดนัด คลัสเตอร์มัรกัสยะลา คลัสเตอร์มัรกัสยี่งอ มัรกัสท่าเรือ ทำให้มีประชาชนติดโควิด -19 จำนวนมากและได้แพร่กระจายไปทั่วในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลทำให้มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่ใกล้ชิดบุคคลที่ติดโควิด -19 จำนวนมาก จึงต้องมีศูนย์กักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
ทางจังหวัดนราธิวาส ได้มีการประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหาสถานที่กักตัวแบบพื้นที่ หรือ Local Quarantine :LQ เพื่อใช้ในการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงและเดินทางจากจังหวัดเสี่ยงและประเทศเพื่อนบ้าน โดยให้ทางสาธารณสุขอำเภอดำเนินการประเมินตามมาตรฐานของสถานที่กักตัวเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรองรับกลุ่มเสี่ยงในพื้น ทางสำนักงานสาธารณสุขอำเภอรือเสาะจึงได้จัดโครงการการกักตัวผู้ต้องสงสัยสัมผัสเสี่ยงสูง โควิด-19 รอบ 3 LQ อบต.สามัคคี ปี 2564 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงใน LQ ร้อยละของบุคคลที่มีความเสี่ยงได้รับการกักตัว 100% |
0.00 |
จัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงจากกรณีสัมผัสเสี่ยงสูงผู้ติดเชื้อโควิดแล้วซึ่งมีดชอบ รายละเอียดการดำเนินงานดังนี้ - เขียนโครงการและเสนอของบประมาณผ่าน กองทุน สปสช.อบต.สามัคคี - ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องและมอบหมายรับผิดชอบ - ดำเนินการ 1. ลงทะเบียนผู้มีประวัติ ซักประวัติ ไทมไลน์ในแต่ละวัน 2. กักตัว ตามเตียงที่จัดไว้ 3. จัดอาหาร วันละ 3 เวลา จำนวน 20 คน เป็นเวลา 21 วัน เป็นเงิน 63,000. บาท 4. วัดผล /ประเมินผล 5. สรุปรายงานผลให้กองทุนประกันสุขภาพ อบต.สามัคคี
1.เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 2.ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ได้รับการกักตัว 100 %
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2564 11:24 น.